วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หะหะ
















widget




                         เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้, ถาม-ตอบปัญหาคาใจ,   
    


•อีกบอร์ด






•อีกบอร์ด




การขอดุอาแบบญะมาอะฮ์ หมายถึง มีบุคคลหลายคนทำการร่วมกันขอดุอาต่ออัลเลาะฮ์ ตะอาลา โดยมีบุคคลส่วนหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งได้ทำการขอดุอา และส่วนบุคคลที่เหลือก็ทำการกล่าว "อามีน" และการรวมตัวกันขอดุอา ย่อมเป็นการรวมตัวในการปฏิบัติความดีงาม

ท่านชัยคุลอิสลาม อัลหาฟิซฺ อิบนุหะญัร (ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ) ได้กล่าวไว้ในหนังสือฟัตหุลฟารีย์ ในเรื่องการกล่าวอามีนใน บทอัดดะวาต(บรรดาบทดุอา) ว่า

:وورد في التأمين مطلقا أحاديث منها حديث عائشة مرفوعا ما حسدتكم اليهود على شيء ما حسدتكم على السّلام والتأمين رواه ابن ماجه وصححه ابن خزيمة ، وأخرجه ابن ماجه أيضا من حديث ابن عباس بلفظ ما حسدتكم على آمين فأكثروا من قول آمين

"ได้มีบรรดาหะดิษรายงานเกี่ย วการกล่าวอามีนโดยเปิดกว้างไม่มีข้อแม้ใด ๆ จากหะดิษท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา โดยยกอ้างถึงท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า "สิ่งที่พวกยาฮูดีได้อิจฉาริษยากับพวกท่านในสิ่งหนึ่ง คือพวกเขาได้อิจฉาริษยาพวกท่าน กับการให้สลามและกล่าว อามีน" รายงานโดยท่าน อิบนุ มาญะฮ์ และท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ถือว่าหะดิษซอฮิหฺ และท่านอิบนุมาญะฮ์ได้นำเสนอหะดิษเช่นกัน จากหะดิษท่านอิบนุอับบาส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ด้วยถ้อยคำที่ว่า "สิ่งที่พวกยาฮูดีได้อิจฉาริษยาพวกท่านนั้น คือการกล่าว อามีน ดังนั้น พวกท่านจงกล่าว อามีน ให้มาก ๆ " ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 11 หน้า 239

ท่านอัลหาฟิซฺ นูรุดดีน อัลฮัยษะมีย์ อาจารย์ของท่านอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์ ได้ นำเสนอหะดิษ ความว่า



لا يجتمع ملأ فيدعو بعضهم ويؤمن سائرهم إلا أجابهم الله

"กลุ่มชนหนึ่งจะไม่รวมตัวกัน แล้วบางคนจากพวกเขาได้ทำการขอดุอาและพวกเขาส่วนที่เหลือได้ทำการกล่าวอามีน นอกจากว่า อัลเลาะฮ์จะทำการตอบรับดุอาของพวกเขา" รายงานโดย ท่านอัตต๊อบรอนีย์

ท่าน อัลหาฟิซฺ นูรุดดีน อัลฮัยษะมีย์ กล่าววิจารณ์หะดิษนี้ว่า

ورجاله رجال الصحيح غير ابن لهيعة وهو حسن الحديث

"บรรดานักรายงานหะดิษนี้ เป็นนักรายงานที่ซอฮฺหฺ นอกจาก อิบนุ ละฮีอะฮ์ ซึ่งเขานั้น หะดิษหะซัน" ดู หนังสือ มัจญฺมะอฺ อัซซะวาอิด หะดิษที่ 17347

ดังนั้น การที่บุคคลหนึ่งได้ทำการ "ขอดุอา" แล้วบุคคลอื่นทำการกล่าว "อามีน" ร่วมกัน ย่อมเป็นการปฏิบัติในเรื่องคุณค่าของอะมัลหรือคุณงามความดี แม้จะมีหะดิษฏออีฟไม่มากมารับรอง ซึ่งสามารถนำมาปฏิบัติได้ในเรื่องของคุณงามความดี ตามทัศนะของมติปวงปราชญ์อิสลามที่ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้ยืนยันไว้หรือทัศนะส่วนมากของปวงปราชญ์อิสลาม


Abu


Doa Dimudahkan Semua Urusan

اللَّهُمَّ لاَ سَهْلَ إِلاَّ مَا جَعَلْتَهُ سَهْلاً وَأَنْتَ تَجْعَلُ الحَزْنَ إِذَا شِئْتَ سَهْلاً
“Allahumma laa sahla illa maa ja’altahu sahlaa, wa anta taj’alul hazna idza syi’ta sahlaa”

[artinya: Ya Allah, tidak ada kemudahan kecuali yang Engkau buat mudah. Dan engkau menjadikan kesedihan (kesulitan), jika Engkau kehendaki pasti akan menjadi mudah]











สตรีจะไม่แต่งงานกับสตรี

โทษของผู้ที่ทิ้งละหมาด ใครก็ตามที่ละทิ้งละหมาดโดยเจตนา เขาจะถูกสาปแช่ง ในคัมภีร์เตารอต อิลญีล อัล กุรอาน และเซาบูร เมื่อใดก็ตามที่ผู้ทิ้งละหมาดยกอาหารคำนึงเข้าปาก อาหารคำนั้นจะสาปแช่ง “โอ้ศัตรูของอัลเลาะห์ เจ้ากินริสกีของอัลเลาะห์ แต่เจ้าไม่ปฏิบัติฟัรดูของอัลเลาะห์ที่มา : message2muslim.blogspot.com









สูตรลับ COCA-COLA ในหนังสือพิมพ์เก่า
มีส่วนประกอบแอลกอฮอล์ อยู่ 8 ออนซ์
หยุดดื่มได้แล้วมุอ์มิน(ผู้ศรัทธา)..... —





อัลลอฮ์ตาอาลาตรัสว่า “และท่านทั้งหลายจงแต่งงานคนโสดของพวท่าน❶และบรรดาผู้มีคุณธรรม จากทาสชายของพวกท่าน และ ทาสหญิงของพวกท่าน แม้พวกเขายากจน อัลลอฮ์จะทรงให้พวกเขาร่ำรวยจากความโปรดปรานของพระองค์ และอัลลอฮ์ทรงไพศาลยิ่งทรงรอบรู้ยิ่ง”

1. คนโสดในที่นี้คือ คนที่ไม่มีคู่ครอง ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ทั้งที่เคยแต่งงานแล้ว และยังไม่เคยแต่งงาน ตามตัวบทของอายะห์นี้ก็คือ ผู้ปกครองจะต้องจับผู้ที่อยู่ใต้ปกครองของเขาแต่งงาน และตัวเขาเองก็จะต้องแต่งงาน เมื่อโอกาสอำนวยใจชอบและกลัวจะละเมิดประเวณี นี่เป็นทัศนะของนักวิชาการบางคน แต่นักวิชาการส่วนใหญ่กล่าวว่า ‘ คำสั่งในที่นี้หมายถึง ควรกระทำเท่านั้น เพราะอัลลอฮ์ตาอาลาทรงตรัสว่า ‘ หรือทาสที่มือขวาของพวกท่านปกครองอยู่ อัลลอฮ์ได้ให้เลือกระหว่างการแต่งงาน กับ การมีนางบำเรอเป็นทาสหญิง ถ้าหากการแต่งงานเป็นสิ่งที่จำเป็นแล้ว พระองค์ก็คงไม่เปิดโอกาสให้เลือกระหว่าง
การแต่งงานกับการมีนางบำเรออย่างแน่นอน

จาก อะบีฮุรอยเราะฮ์ แท้จริงสิทธิหน้าที่บางอย่างของผู้ให้กำเนิดพึงมีแก่ผู้ถูกกำเนิด คือ เขาต้องสอนให้รู้การเขียน, ตั้งชื่อที่ดี,และจัดการแต่งงาน เมื่อผู้ถูกกำเนิดบรรลุนิติภาวะแล้ว
โดย อิบนุนนัจยารด์


"..... ดังนั้นจงแต่งงานกับพวกนางด้วยการอนุมัติจากผู้เป็นนายของพวกนาง และจงให้แก่พวกนางซึ่งสินตอบแทนของพวกนาง(อุญูเราะฮุนนะ)โดยคุณธรรม ....“ (4:25)    

“ดังนั้น อย่าได้ขัดขวางพวกเธอ ในการที่พวกเธอ จะแต่งกับบรรดาคู่ครองของพวกเธอ เมื่อพวกเขาต่างพอใจกัน ระหว่างพวกเขา ด้วยความชอบธรรม” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 2:232)



24. ซูเราะฮฺ อันนูรฺ



2. หญิงมีชู้และชายมีชู้ พวกเจ้าจงโบยแต่ละคนในสองคนนั้นคนละหนึ่งร้อยที (*1*) และอย่าให้ความสงสารยับยั้งการกระทำของพวกเจ้าต่อคนทั้งสองนั้น ในบัญญัติของอัลลอฮฺเป็นอันขาด (*2*) หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก และจงให้กลุ่มหนึ่งของบรรดาผู้ศรัทธาเป็นพยานในการลงโทษเขาทั้งสอง (*3*)

(1) สิ่งที่เราบัญญัติแก่พวกเจ้าคือ ให้โบยพวกทำชู้ (ทำซินา) ที่ยังมิได้แต่งงาน (หรือชายโสด หญิงโสด) คนละหนึ่งร้อยที เป็นการลงโทษแก่เขาทั้งสองที่กระทำอาชญากรรมที่น่ารังเกียจ
(2) คืออย่าให้ความสงสารและความเมตตาระงับการกระทำของพวกเจ้าในบัญญัติของอัลลอฮฺ คือโบยแต่เพียงเบา ๆ หรือลดจำนวนโบย พวกเจ้าจงโบยให้เจ็บจริงๆ
(3) การเป็นพยานในการลงโทษนั้นนับได้ว่าเป็นการประจาน เพื่อให้เป็นแบบฉบับและเป็นที่เข็ดหลาบ สาเหตุของการประทานโองการนี้คือ มีรายงานว่า สตรีผู้หนึ่งชื่อ “อุมมุมะฮ์ซูล" ซึ่งเป็นโสเภณี เธอจะร่วมประเวณีกับผู้ชายโดยตั้งเงื่อนไขว่า เธอจะเป็นผู้จ่ายเงินให้เขา ชายมุสลิมคนหนึ่งประสงค์จะแต่งงานกับเธอ เขาจึงได้ไปแจ้งต่อท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อัลลอฮฺจึงได้ประทานโองการนี้ลงมาว่า

3. ชายมีชู้จะไม่สมรสกับใคร นอกจากกับหญิงมีชู้หรือหญิงมุชริกะฮ์ และหญิงมีชู้จะไม่มีใครสมรสกับเธอ นอกจากกับชายมีชู้หรือชายมุชริก(*1*) และ (การมีชู้) เช่นนั้นเป็นที่ต้องห้ามแก่บรรดาผู้ศรัทธา

(1) ชายมีชู้และหญิงมีชู้ ไม่เหมาะสมที่จะสมรสกับหญิงบริสุทธิ์ที่มีเกียรติ แต่จะสมรสกับผู้ที่มีสภาพเดียวกันหรือเลวกว่า หรือมุชริกะฮ์หรือมุชริก คือผู้ที่ตั้งภาคีหรือคนกาฟิรนั่นเอง

4. และบรรดาผู้กล่าวโทษบรรดาหญิงบริสุทธิ์(*1*) แล้วพวกเขามิได้นำพยานสี่คนมา(*2*) พวกเจ้าจงโบยพวกเขาแปดสิบที และพวกเจ้าอย่ารับการเป็นพยานของพวกเขาเป็นอันขาด(*3*) ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ฝ่าฝืน(*4*)

(1) กล่าวหาว่าเธอมีชู้หรือทำซินา
(2) คือมิได้นำพยานที่ยุติธรรมมาสี่คน เพื่อเป็นพยานต่อข้อกล่าวหาของพวกเขาดังกล่าว
(3) เพราะพวกเขากล่าวเท็จ ใส่ร้ายหญิงบริสุทธิ์ และเข้าไปยุ่งเกี่ยวทำลายเกียรติยศของผู้อื่น นอกจากนั้นพวกเจ้าอย่าได้รับการเป็นพยานของพวกเขาเป็นอันขาด ในเมื่อยังคงประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น
(4) อิบนุกะษีรกล่าวว่า อัลลอฮ์ทรงบัญญัติโทษแก่ผู้กล่าวโทษ หากเขามิได้นำหลักฐานมายืนยันในสิ่งที่เขาได้กล่าวหา มี 3 ประการด้วยกันคือ หนึ่ง: โบยแปดสิบที สอง: ไม่รับการเป็นพยานของเขา สาม: เป็นผู้ฝ่าฝืนปราศจากความยุติธรรม ณ ที่อัลลอฮ์และมหาชน

5. นอกจากบรรดาผู้ลุแก่โทษหลักจากนั้น(*1*) และพวกเขาปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น(*2*) แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ

(1) คือกลับเนื้อกลับตัวและเสียใจในการกระทำของเขา หลังจากที่ได้ทำบาปอันยิ่งใหญ่
(2) คือไม่กลับไปทำสิ่งชั่วช้าดังกล่าวอีกและต้องแสดงออกซึ่งการกลับเนื้อกลับตัว


“และบรรดาผู้ที่ไม่วิงวอนขอพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับอัลลอฮฺ และพวกเขาไม่ฆ่าชีวิตซึ่งอัลลอฮฺทรงห้าม ไว้เว้นแต่เพื่อความยุติธรรม และพวกเขาไม่ผิดประเวณี และผู้ใดกระทำเช่นนั้น เขาจะได้พบกับความ ผิดอันมหันต์ การลงโทษในวันกิยามะฮฺจะถูกเพิ่มขึ้น เป็นสองเท่าสำหรับเขา และเขาจะอยู่ในนั้น อย่างอัปยศ เว้นแต่ผู้ที่กลับเนื้อกลับตัวและศรัทธาและประกอบการงานที่ดี เขาเหล่านั้นแหละ อัลลอฮฺจะทรงเปลี่ยนความชั่วของพวกเขาเป็นความดี และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ”

(อัลฟุรกอน : 68 - 70)


" ...
สตรีจะไม่แต่งงานกับสตรี
และสตรีจะไม่แต่งงานด้วยตัวของนางเอง
แท้จริงสตรีที่ทำซินา..คือการที่นางแต่งงานด้วยกับตัวของนางเอง
โดยไม่มีวะลีของนาง "



เล่าจาก อบูมูซา ไม่เป็นการแต่งงานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ปกครอง กีตับอัล-นิกะหฺ สูนัน อบู-ดาวูด หมายเลขหะดิษที่2080


"ไม่ถือว่าเป็นการแต่งงาน นอกจากจะต้องมีวะลี" (อะหฺมัด)

ท่านชัยดินา หะซัน บุตร อาลี กล่าวว่า ท่านปู่ คือท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"เมื่อชายใดหย่าภรรยาของสามตอล๊าก ในช่วงที่ภรรยาปลอดประจำเดือน หรือหย่าสามตอล๊ากในช่วงที่ไม่รู้ว่าปลอดประจำเดือนหรือไม่ ภรรยานั้น ไม่เป็นที่หะล้าลแก่เขาอีก จนกว่านางจะไปแต่งงานกับสามีอื่นเสียก่อน"
หะดิษนี้มีสายรายงานที่ซอเฮี๊ยะห์


จากสาส์นของ อุมัร ถึง อะบีมูซา อัล -อัชอารีย์ว่า
من قال انت طالق ثلاثا فهي ثلاثا. اخرجه ابونعيم
ความว่า " ใครกล่าวแก่ภรรยาว่า เธอตกสามตอล๊าก นั่นคือสามตอล๊าก"
เล่าโดยอาบูนะอีม


อุมัรได้นำออกบังคับใช้กับประชาชนว่าเป็นสามตอลาก และได้กลายเป็นมติของบรรดาอัครสาวก (ร.ฎ)ดังนั้น ผู้ใดที่กล่าวแก่ภรรยาของเขาว่า : เธอถูกหย่าสามตอลาก . หรือเธอถูกหย่า ,เธอถูกหย่า , เธอถูกหย่า
ก็ถือว่าเป็นการหย่าสามตอลาก และเป็น ทัสนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ และ

บรรดาผู้นำสี่มัซฮับ


และจากหลักฐานที่ยื่นยัน การกล่าวว่า สามตอ๊ากในครั้งงเดียวนั้น คือว่าตกสามล๊ากนั้นคือ หะเกี่ยวกับการลิอาน ที่มีอยู่ ในบันทึกของบุคอรีย์ ว่า
อุวัยมิร อัล-อัจลานีย์ ได้กลาวว่า ฉันหย่านางสามตอล๊ากนั้น โดยที่ท่านรอซูลลุลลอฮฺ ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มิทรงห้าม และท่านก็มิได้ปฏิเสธการหย่าทำทองนั้น จึงแสดงให้เห็นว่า ตกสามตอล๊ากในการหย่าครั้งเดียวได้ ท่านอิบนุหัสมินได้กล่าวเสริมว่า หากการหย่าสามตอล๊ากในครั้งเดียวกันไม่ตกสามตอล๊าก ท่านรอซูล ศ้อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซัลลัม จะต้องห้าม.....และท่านอีหม่ามบุคอรีย์ก็มีความคิดสอดคล้องตามนี้ ดังจะสังเกตได้จากการที่ท่าน บันทึกในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน เกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นการเฉพาะไว้ในบทหนึ่ง
ท่านอิบนุ อัล-ฮิมาน ได้กล่าวไว้ในหนังสือฟัตฮุลกดดีรว่า-
บรรดาศอฮาบะหฺ นั้นมีมุจตะฮิตไม่ถึง ยี่สิบคน ส่วนหนึ่งจากมุจตาฮิตนั้น ได้แก่คุลาฟาอฺ ทั้งสี่ท่าน อุบาดะละห์,ซัยดฺ บินซาบิต,มุอ๊าสบืนญะบั้ล,อะนัส,อะบีฮุรอยเราะห์...บรรดาซอฮาบะห์ท่านอืนก็จะต้องมาถามหรือมาขอคำให้ชี้แจงในปัญหาต่างๆจากท่านเล่านี้
เป็นที่ปรากฏชัดว่า การรายงานจากท่านเหล่านี้เกี่ยวกับเรื่องของการหย่าสามตอล๊ากก็ตกสามนั้น เป็นรายงานที่ชัดเจนไม่มีบันทึกรายในเชิงแย้งไปจากทัศนะดังกล่าวนี้เลย ดังนั้นเบื้องหลังความถูกต้อง หรือสัจจะนั่น ก็คงไม่มีอันใดนอกจากความหลง ความผิด หรือความไม่ถูกต้องเท่านั้น.




นิยามของมัซฮับ




มัซฮับตามหลักภาษา หมายถึง ที่ไป หรือ ทางไป ตามหลักวิชาการ หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกียวกับธรรมเนียมในเชิงปฏิบัติของปวงปราชญ์ที่ถูกนำมาใช้กับ ฮุกุ่มต่างๆ ที่อิมามในขั้นระดับมุจญฮิดได้วินิจฉัยออกมา หรือหมายถึงฮุกุ่มต่างๆ ที่ได้วินิจฉัยออกมาตรงตามกฎเกณฑ์และหลักการของอิมามที่อยู่ในขั้นระดับมุ จญฮิด โดยบรรดาสานุศิษย์ที่อยู่ในระดับมุจญฮิดที่ปฏิบัติตามหลักการต่างๆ ของอิมามในการวิเคราะห์วินิจฉัยฮุกุ่มออกมา

การมีมัซฮับตามความที่กล่าวมานี้ จึงหมายถึง หนทางหรือแนวทางของบรรดาปวงปราชญ์ได้ยึดถือปฏิบัติกัน ไม่ว่าจะเป็นนักหะดิษ นักนิติศาสตร์ นักธิบายอัลกุรอาน และอักษรศาสตร์ ซึ่งในเรื่องนี้นั้น ไม่มีนักวิชาการท่านใดที่โลกยอมรับจะให้การปฏิเสธ เพราะท่านจะพบว่า บรรดานักวิชาการทั้งหลายเขาปฏิบัติตามมัซฮับที่ตนพึงพอใจทั้งสิ้นโดยเขานำมา ฟัตวาและตัดสินแก่ผู้คนทั้งหลาย

ท่าน มุฮัมมัด อัลค่อฏิร อัชชันกีฏีย์ ซึ่งเป็นปรมจารณ์แห่งปวงปราชญ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือที่มีชื่อว่า ก๊อมอุ อะฮ์ลิลอิจญฮาด อัน อัฏเฏาะอฺนิ ฟี ตักลีด อะอิมมะฮ์ อัลอิจญฮาด หน้าที่ 75 ว่า ส่วนเรื่องการที่คนเอาวามต้องปฏิบัติตามผู้รู้ที่เป็นมุจญฮิดนั้น มีหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ และยังเป็นมติแห่งปวงปราชญ์ใน 3 ศตวรรษแรกของอิสลามที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นประชาชาติที่ดีเลิศจากท่านนบี (ซ.ล.) ผู้ทรงสัจจะและได้ถูกรับรองความสัจจะจากอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) รวมทั้งมติของปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามหลังจากนั้น นอกจากความขัดแย้งของกลุ่มมั๊วะตะซิละฮ์ที่อยู่ในกรุงแบกแดดที่มาขัดมติของ ปวงปราชญ์ตลอดยุคสมัยที่ผ่านมา

ความจริงแล้ว การตักลีดเป็นที่ระบือในยุคสมัยของซอฮาบะฮ์ผู้มีเกียรติและไม่มีซอฮาบะฮ์คน ใดที่ปฏิเสธเรื่องนี้หรอก เพราะท่านอิมาม อิบนุ หะญัร อัลอัสก่อลานีย์ ซึ่งเป็นอะมีรุลมุอ์มินีนนั้น(หมายถึงผู้ที่จดจำหะดิษและสายรายงานหะดิษ ต่างๆ เป็นจำนวนกว่า 3 แสนหะดิษ) ได้กล่าวให้เราทราบไว้ในหนังสือของท่านที่ชื่อว่า อัล-อิซอบะฮ์ ฟี ตัมยีซฺ อัลซ่อฮาบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 148 โดยมีสายรายงานมาจากท่านฏอวูส (ขออัลเลาะฮ์ทรงเมตตา) เขากล่าวว่า ข้าพเจ้าได้พบเห็น ซอฮาบะฮ์ของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ถึง 70 ท่าน เมื่อพวกเขาเกิดข้อพิพาทกันขึ้นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด พวกเขาจะกลับไปยึดคำพูดของท่าน อิบนุ อับบาส (ร.ฏ.)

วิเคราะห์คำรายงานที่ได้กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.)จำนวนมากจะตักลีดตามท่านอิบนุอับบาสในปัญหา ต่างๆ ที่พวกเขาไม่รู้ จึงเป็นเรื่องที่ชี้ชัดว่า ซอฮาบะฮ์เขาก็มีมัซฮับและตักลีดอีกด้วย ความจริงแล้วเหล่าซอฮาบะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) มีจำนวนกว่าแสนคน แต่ในขณะที่ฟัตวาได้ออกมาจากพวกเขา ที่ได้มีการจดจำมีราวๆ 130 กว่าคน เรื่องนี้ท่านอิบนุก๊อยยิม ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านที่ชื่อว่า เอี๊ยะอฺลาม อัลมุวักกิอีน เล่ม 1 หน้า 10 ว่า นี่ไง ท่านอิมามแห่งซุนนะฮ์ อะหฺมัด อิบนุ หัมบัล ก็ยังตักลีดตามอิมามชาฟีอีย์(ร.ฏ.) ซึ่งเรื่องนี้ ท่านอิบนุอะซากิร ได้รายงานไว้ในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า ตารีค ดิมัช เล่ม 51 หน้า 351 ท่านอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ เล่ม 9 หน้า 25 โดยรายงานจากฮุมัยด์ อิบนุ อะหฺมัด อับบะซอรีย์ ซึ่งเขาได้กล่าวว่า ข้าพเจ้าอยู่กับท่านอะหฺมัด อิบนุ หัมบัล ซึ่งในขณะที่เรากำลังศึกษาเกี่ยวกับปัญหาหนึ่ง ก็มีชายคนหนึ่งได้กล่าวกับท่านอะหฺมัด บิน หัมบัลว่า ท่านอบูอับดิลลาห์ครับ หะดิษในประเด็นนี้ไม่ซอฮิหฺ ท่านอะห์มัดจึงตอบว่า ถึงแม้ว่าหะดิษในประเด็นนี้ไม่ได้ซอฮิหฺก็ตาม แต่มันก็มีคำพูดของท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ รับรองอยู่ และการยึดมั่นในคำพูดของท่านอิมามชาฟิอีย์ ย่อมเป็นสิ่งที่มีความแน่นแฟ้นอย่างที่สุดในเรื่องนี้ ด้วยเหตุนี้เอง บรรดาปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามโดยทั่วไป ไม่ว่าจะอยู่ในมัซฮับหะนะฟีย์ , มาลิกีย์ ,ชาฟิอีย์ , และหัมบาลีย์ ต่างก็ยึดถือปฏิบัติตามแนวทางแห่งการมีมัซฮับและตักลีด และในเรื่องนี้ มีนักวิชาการหรือปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามที่ถูกยอมรับนั้น ต่างก็มีมัซฮับและตักลีดตามบรรดาอิมามทั้งสี่ทั้งสิ้น แม้กระทั่ง ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ท่านาอินุก๊อยยิม ก็อยู่ในมัซฮับหัมบาลีย์ ท่านอิบนุกะษีร ซึ่งเป็นนักปราชญ์หะดิษและอถาธิบายอัลกุรอาน ก็อยู่ในมัซฮับชาฟิอีย์ ท่านอัซซะฮะบีย์ ก็อยู่ในมัซฮับชาฟิอีย์

ความจริงแล้ว บรรดาปวงปราชญ์ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กและรุ่นอาวุโสก็ยึดบรรดามัซฮับของอะฮ์ลิ สซุนนะฮ์ที่ได้มีการสืบทอดหลักการต่อๆ กันมา

ปวงปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์
ท่านอิมามอบูยูซุฟ , ท่านอิมามมุหัมมัด บิน อัล-หะซัน , ท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน อัลมุบาร๊อก , ท่านซุฟัร , ท่านญะฟัร อัฏเฏาะหาวีย์ , ท่านอัซซัรค่าชีย์ , อันนะซะฟีย์ , อะห์มัด บิน มุหัมมัด อัลบุคอรีย์ , ท่านอัซซัยละอีย์ , ท่านอัลกะมาล บิน อัลฮุมาม , ท่านอิบนุ อันนุญัยม์ , ท่านอิบนุอาบิดีน , และบรรดาปวงปราชญ์อีกหลายพันคนที่ได้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือประวัติส่วนบุคคล ในมัซฮับหะนะฟีย์ ที่มีชื่อว่า ฏ่อบะก๊อต อัลหะนะฟียะฮ์ ถ้าจะพิจารณาประเทศต่างๆ ที่ปฏิบัติตามมัซฮับหะนะฟีย์โดยส่วนใหญ่แล้ว คือ อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ สินธุ อัฟกานิสถาน กลุ่มประเทศอาหรับในแถบชาม เช่นซีเรีย อิรัก และกลุ่มประเทศยุโรป ก็คือตามมัซฮับหะนะฟีย์ทั้งสิ้น

ปวงปราชญ์มัซฮับมาลิกีย์
ท่านอิมามอิบนุ อัลกอซิม , ท่านอัลอัชฮับ , ท่านซั๊วะหฺนูน , ท่านอะซัด บิน อัลฟุร๊อด , ท่านอัซบั๊ฆฺ , ท่านอิบนุ อับดุลบัรร์ , ท่านกอฏีย์ อัลอิยาฏ , ท่านอิบนุ อัลอะรอบีย์ อัลมาลิกีย์ , ท่านอบูบักร อัฏฏุรฏูชีย์ , ท่านอิบนุ อัลหาญิบ , ท่านอิบนุ อัลมุนัยยิร , ท่านอิบนุ รุชด์ , อัลบากิลลานีย์ , ท่านอัลบาญี , ท่านอัลกุรฏุบีย์ , ท่านอัลกุรอฟีย์ , ท่านอัชชาฏิบีย์ , ท่านอิบนุ คอลดูน , และบรรดาปวงปราชญ์อีกหลายท่านที่ถูกรวมอยู่ในตำรับตำราที่เกี่ยวกับประวัติ ส่วนบุคคลของมัซฮับมาลิกีย์ ซึ่งเรียกว่า ฏ่อบะก๊อต มาลิกียะฮ์ นักปราชญ์เหล่านี้อยู่ในมัซฮับของอิมามมาลิกทั้งสิ้น และท่านสามารถกล่าวได้ว่า นักปราชญ์แห่งเมืองต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาหรับตะวันตกในทวีปอาฟริกา เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 แห่งฮิจเราะฮ์ จวบจนถึงทุกวันนี้ ได้ยึดถือตามมัซฮับมาลิกีย์ทั้งสิ้น

ปวงปราชญ์มัซฮับอิมามชาฟิอีย์
ท่านอิมามอัลมุซะนีย์ , ท่านอิมามอัลบุวัยฏีย์ , ท่านอิบนุ อัลมุนซิร , ท่านมุหัมมัด บิน ญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์ , ท่านอิบนุ สุรัยจฺญ์ , ท่านอิบนุ คุซัยมะฮ์ , ท่านอัลก๊อฟฟาล , ท่านอัลบัยฮะกีย์ , ท่านอัลค๊อฏฏอบีย์ , ท่านอบู อิสหาก อัลอัสฟิรอยีนีย์ , ท่านอบู อิสหาก อัชชีรอซีย์ , ท่านอัลมาวัรดีย์ , ท่านอบูฏ๊อยยิบ อัศเศาะลูกีย์ , ท่านอบูบักร อัลอิสมาอีลีย์ , ท่านอิมาม อัลหะร่อมัยน์ , ท่านหุจญฺตุลอิสลาม อัลฆ่อซาลีย์ , ท่านอัลบะฆอวีย์ , ท่านอัรรอฟิอีย์ , ท่านอบู ชามะฮ์ , ท่านอิบนุ ริฟอะฮ์ , ท่านอิบนุ ศ่อลาห์ , ท่านอิมามอันนะวาวีย์ , ท่านอิซซุดีน บิน อับดุสลาม , ท่านอิบนุ ดะกีก อัลอีด , ท่านอัลหาฟิซฺ อัลมุซซีย์ , ท่านตายุดดีน อัศศุบกีย์ , ท่านอัซซะฮะบีย์ , ท่านอิรอกีย์ , ท่านอัซซัรกาชีย์ , ท่านอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์ , ท่านอัสศะยูฏีย์ , ท่านชัยคุลอิสลาม ซะกะรียา อัลอันซอรีย์ , และบรรดานักปราชญ์อีกเป็นพันๆ ที่ไม่สามารถเอ่ยนามพวกเขาได้ทั้งหมด และบรรดานักปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์ได้ถูกระบุไว้ในหนังสือ อัฏฏ่อบะก๊อต อัชชาฟิอียะฮ์ ก็มีถึง 1419 ท่าน

ปวงปราชญ์มัซฮับหัมบาลีย์
ท่านอิมามอาญุรรีย์ , ท่านอบู อัลค๊อฏฏอบ อัลกัลป์วาซะนีย์ , ท่านอบูบักร อันนัจญาร , ท่านอบูยะอฺลา , ท่านอัลอัษรอม , ท่านอิบนุ อบีมูซา , ท่านอิบนุ อัซซ๊อยรอฟีย์ , ท่านอิบนุ ฮุบัยเราะฮ์ , ท่านอิบนุ อัลเญาซีย์ , ท่านอิบนุ ตัยมียะฮ์ , ท่านอิบนุ รอญับ , ท่านอิบนุ รุซัยน์ , ท่านอิบนุรอญับ , และบรรดานักปราชญ์ท่านอื่นๆ อีกมากมาย และนักปราชญ์มัซฮับหัมบาลีย์ที่ได้ถูกกล่าวไว้ในหนังสือ อัลมักซิด อัลอัรชัด มีถึง 1315 ท่าน

ดังนั้น ประชาชาติอิสลามศตวรรษแล้วศตวรรษเล่าได้ให้การยอมรับในการตักลีดตามนัก ปราชญ์มุจญฮิดผู้วินิจฉัย ทั้งที่ในสิ่งดังกล่าวนี้ ก็ไม่ใช่เป็นความคลั่งไคล้และแบ่งพรรคแบ่งพวก แต่ความเป็นพี่น้องในศาสนา จึงทำให้พวกเขาอยู่ร่วมกัน และบรรดาวงล้อมที่ทำการศึกษาวิชาความรู้ ก็ได้สมานฉันท์พวกเขาเอาไว้ พวกเขาต่างศึกษาความรู้ซึ่งกันและกัน และยกย่องสรรเสริญกันและกัน โดยที่ท่านเกือบจะไม่พบถึงประวัตินักปราชญ์มัซฮับ หะนะฟีย์ มาลิกีย์ ชาฟิอีย์ และหัมบาลีย์ นอกจากว่า ปราชญ์ท่านหนึ่งได้เคยเป็นศิษย์และศึกษากับบรรดานักปราชญ์ที่ไม่ได้อยู่ใน มัซฮับของเขา

ดังนั้น มุสลิมคนหนึ่งได้ดำเนินตามมัซฮับเดียว ย่อมถูกนับว่าเป็นการยึดติดและสังกัด แต่มันเป็นการยึดติดและสังกัดที่ถูกสรรเสริญ ไม่ใช่ถูกตำหนิ

ท่านชัยค์ สะอีด หะวา ได้กล่าวไว้ในหนังสือ เญาลาต ฟี อัลฟิกฮัยน์ ว่า การยึดติดบรรดาปราชญ์ผู้วินิจฉัยหรือมัซฮับของพวกเขาเหล่านั้น เราขอกล่าวว่า การสังกัดมัซฮับนั้น หากเป็นเสมือนดังผลสืบเนื่องจากความพึงพอใจในประเด็นหนึ่งที่เป็นเรื่อง สัจจะธรรม และเขาก็ยึดมันมาเป็นทัศนะและนำมาปฏิบัติ แล้วเขาปกป้องมันด้วยหลักการที่เป็นความสัจจริงและยุติธรรม โดยไม่ใช่หลักการตามอารมณ์ หรือปกป้องมันด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่ใช่เพื่อดุนยา หรือปกป้องด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นพี่น้องในอิสลาม ไม่ใช่ด้วยจิตวิญญาณแห่งความแตกแยก ดังนั้น สิ่งดังกล่าว ย่อมไม่เป็นบาปแต่ประการใด ยิ่งไปกว่านั้น มันยังเป็นแบบฉบับของบรรดาซอฮาบะฮ์ที่พวกเขาดำเนินอยู่ แต่ทว่า การที่มนุษย์คนหนึ่งได้ทำให้คับแคบกับสิ่งที่กว้างขวาง ด้วยการกล่าวหาผู้ที่มีความเห็นต่างกับเขา หรือกล่าวหาลุ่มหลงและโง่เขลากับผู้อื่นเกี่ยวกับประเด็นข้อวินิจฉัย แน่แท้ว่า สิ่งดังกล่าวนั้น เป็นความผิดพลาดอย่างชัดเจน เพราะอิมามชาฟิอีย์(ร.ฏ.) กล่าวว่า บรรดาปวงปราชญ์ได้ลงมติว่า อัลเลาะฮ์จะไม่ลงโทษเกี่ยวกับประเด็นที่อุลามาอ์มีความเห็นแตกต่างกัน และการยึดมัซฮับหนึ่งที่เปรียบเสมือนผลที่เกิดขึ้นมาจากความไว้วางใจต่อ บรรดาอุลามาอ์และหลักการต่างๆ และที่เปรียบเสมือนผลที่เกิดขึ้นจากความไว้วางใจต่อประชาชาติอิสลามที่ลงมติ เห็นพร้องกับการให้เกียรติต่อมัซฮับทั้งสี่และกับบรรดานักปราชญ์ที่มีมัซฮับ ในยุคสมัยที่ผ่านมา เพราะฉะนั้น การยึดมัซฮับจึงไม่ได้มีการแอบแฝงความรังเกียจหรือแสดงท่าทีอันไม่ดีต่อมัซ ฮับอื่นเลย แต่ยิ่งไปกว่านั้น การมีมัซฮับกลับมีการให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน ซึ่งย่อมไม่เป็นบาปแต่ประการใด แต่ถ้าหากมนุษย์คนหนึ่งได้ยึดถือแนวคิดอื่นจากมัซฮับของเขาที่เป็นผลมาจาก การตรวจสอบของเขาเองหรือผู้ที่เขาเชื่อถือ แน่นอนว่า สิ่งดังกล่าวย่อมไม่เป็นบาปแต่ประการใด

ส่วนการยึดติดมัซฮับที่น่าตำหนิ ก็คือ มุสลิมคนหนึ่งยึดมั่นว่า มัซฮับที่เขายึดถืออยู่นั้น เป็นมัซฮับที่ถูกต้องและบรรดามัซฮับอื่นนั้นหลงผิด ซึ่งการคลั่งไคล้เช่นนี้ คือสิ่งที่บรรดานักปราชญ์จากมัซฮับทั้งสี่ทั้งหมดให้การตำหนิ และพวกเขายังให้การยืนยันว่า บรรดามัซฮับอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์นั้น อยู่บนทางนำ

ท่านอิมาม อิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมีย์ (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์) ได้กล่าว ท่านอิมามชาฟิอีย์ ท่านอบูหะนีฟะฮ์ ท่านมาลิก ท่านอะหฺมัด และบรรดาปวงปราชญ์ท่านอื่นๆ ล้วนอยู่บนทางนำของอัลเลาะฮ์ ดังนั้น จึงขอโปรดองค์อัลเลาะฮ์ทรงตอบแทนพวกเขาจากการเสียสละเพื่ออิสลามและบรรดามุ สลิมีนอย่างดีเยี่ยมและสมบูรณ์ด้วยเทอญ และเมื่อพวกเขาล้วนอยู่บนทางนำของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ดังนั้น จึงไม่เป็นบาปแต่ประการใดต่อผู้ที่ชี้นำผู้อื่นให้ยึดมัซฮับใดมัซฮับหนึ่ง จากมัซฮับทั้งสี่ หากแม้ว่าการแนะนำนั้น จะขัดกับมัซฮับที่เขาเองยึดถือก็ตาม เนื่องจากเขาได้ชี้แนะผู้อื่นไปสู่สัจจะธรรมและทางนำ ดู อัล-ฟะตาวา อัลฟิกฮียะฮ์ อัลก๊อบรอ เล่ม 4 หน้า 326









ชีวประวัติผู้นำกลุ่มดะวะฮฺตับลีฆที่สำคัญ






เชค มุฮัมมัด อิลยาส อัลคันดะฮฺลาวียฺ
เชค มุฮัมมัด อิลยาส อัลคันดะฮฺลาวียหรือที่เรียกสั้นๆว่า เมาลานา อิลยาส บุตรเมาลานา อิสมาอีล บุตร กุลามฮุเซ็น บุตร ฮากิมการีมบากช์ บุตร หะกีมฆุลามมุดฮุดดีน บุตร มุลวีมุฮัมมัด ซาญิด บุตรมุลวีมุฮัมมัด ฟาอิซ บุตรมุลวีมุฮัมมัดซารีฟ บุตรมุลวีอัชรอฟ บุตร เชคญะมาลมุฮัมมัด ชาหฺ บุตร บาบันชาห์ บุตร เชคมุฮียุดดีน ชาหฺ บุตรมุลวีมุฮัมมัดเชค บุตร เชคมุฮัมมัด ฟาซิล บุตร เชคกุตุบชาหฺ เกิดในปี ฮ.ศ.1303-1364 / ค.ศ. 1885-1944 เป็นผู้สถาปนากลุ่มดะวะฮฺตับลีฆ เกิดใน ครอบครัวซูฟีที่หมู่บ้านคันดะฮฺลา (Kandhla) เขตมูซัฟฟัรนากอฮฺ (Muzaffarnagah) ประเทศอินเดีย เป็นบุตรคนที่ 2 และเป็นบุตรสุดท้องของมุฮัมมัด อิสมาอิล (ฮ.ศ.1335/ค.ศ.1917) กับภรรยาคนที่ 2 ที่มีนามว่า “ศอเฟีย” ผู้จดจำคัมภีร์กุรอานได้ทั้งหมด (al-Nadawi, 1990 : 9-10, W.Troll, n.d. : 139)
ในช่วงวัยเด็กท่านใช้ชีวิตอยู่กับปู่ทางฝ่ายมารดาของท่านที่ตำบลคันดะฮฺลาและกับบิดาของท่านที่นิซามุดดีน ในช่วงเวลานั้นตำบลคันดะฮฺลาเป็นตำบลที่มีชื่อเสียงในเรื่องของการศึกษาศาสนา เด็กชายอิลยาสเติบโตขึ้นในชุมชนสองแห่งนี้ (มุสลิมไทมส์ ฉบับเดือนพฤษจิกายน, 2541 : 31)
ครูของท่านเชคเมาลานา มุฮัมมัด อิลยาส อัลคันดะฮฺลาวียฺ
เมาลานาอิลยาส เริ่มการศึกษาของท่านในโรงเรียนเล็กๆและตามธรรมเนียมของ ครอบครัวคือการเรียนท่องจำอัลกุรอานที่คันดะฮฺลา การเรียนท่องจำอัลกุรอานเป็นเรื่องปกติของครอบครัวและเป็นประเพณีที่สืบต่อมาของมุสลิมอินเดีย ท่านได้ศึกษากับอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่านในสมัยนั้น เช่น เชค มุฮัมมัด ยะฮฺยา
ปี ฮ.ศ. 1315/ค.ศ. 1897 ท่านอาสาพี่ชายไปอยู่ที่แกนโกะฮฺซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาศาสนาอิสลามที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในอินเดีย ทำให้ท่านอิลยาสใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางนักวิชาการมุสลิมและเริ่มศึกษากับพี่ชายคนโต เชค มุฮัมมัด ยะฮฺยา ครูสอนในโรงเรียนมาซอฮีรุลอุลูม (Mazahirull Uloom) ที่ซาฮารันปูร (Saharanpur)
แกนโกฮฺในสมัยนั้นเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกซูฟีและปราชญ์เมธีเป็นจำนวนมาก จึงเป็นผลดีแก่เมาลานาอิลยาสอย่างมาก
1. เชค รอชีด อะฮฺมัด อัล แกนโกฮี
ในช่วงท่านอาสาพี่ชายไปอยู่ที่แกนโกะฮฺ ณ.ที่นี้เองท่านอิลยาสได้มีโอกาศพบปะกับ นักวิชาการสำคัญท่านหนึ่งคือ เชค อะฮฺมัด อัล แกนโกฮี (ฮ.ศ.1244-1323/ค.ศ.1829-ค.ศ.1905) สหายของท่านเมาลานา มุฮัมมัด กอเซ็ม นานาโนตวี ที่ได้เป็นผู้บริหารและผู้ดูแลนักศึกษาโรงเรียนดารุลอุลูมและท่านได้ทำการให้สัตยาบันในแนวทางของเชค อิมดาดุลลอฮฺ ท่าน มุฮัมมัด อิลยาส ได้ทำการให้สัตยาบันในแนวทางของท่านเชค อะฮฺมัด อัล แกนโกฮีและท่านอิลยาสได้คลุกคลีอยู่กับท่านนักปราชญ์ท่านนี้อยู่นานเป็นเวลา 10 ปี
2. เมาลานา มะฮฺมูด หะซัน
ปี ฮ.ศ.1326/ค.ศ.1908 ท่านอิลยาสได้เดินทางไปศึกษาที่ดิวบาน (Deoban) เพื่อศึกษาทางศาสนากับท่าน เมาลานา มะฮฺมูด หะซัน (ฮ.ศ.1268-1339/ค.ศ.1851-1920) อุลามะอฺหะดีษที่มีชื่อเสียงจากโรงเรียนดารุลอุลูม (Darul Uloom) ที่ดิวบาน และเชคของกลุ่มดะวะฮฺตับลีฆที่นี้ท่านได้ศึกษาหะดีษติรมีซีและหะดีษบุคอรี เมาลานา มะฮฺมูด หะซัน แนะนำให้ไปเรียนวิชาตะเศาวุฟกับ เมาลานา คอลีล อะฮฺมัด ซะฮะรัปูรี 3.เมาลานา คอลีล อะฮฺมัด ซะฮะรันปูรี
หลังจากท่านได้เรียนรู้จากท่านเมาลานา มะฮฺมูด หะซัน ต่อมาได้รู้จักกับเมาลานา คอลีล อะฮฺมัด ซะฮะรันปูรี ท่านอิลยาสก็ได้ทำการให้สัตยาบันใหม่ภายใต้การชี้นำของ ท่าน เมาลานา มะฮฺมูด ฮะซัน ทำให้ท่านอิลยาสได้มีโอกาศเรียนรู้วิชาทางด้านการขัดเกลาจิตใจจากอาจารย์ท่านนี้ และท่านสำเร็จวิชาตะเศาวุฟหลายแขนงจากการอบรมสั่งสอนของเมาลานา คอลีล อะฮฺมัด ซะฮะรันปูรีผู้นี้
4. เชค อับดุลราฮีม อัลรออีย
ท่าน เมาลานา อิลยาส ได้ติดต่อกับเชค อับดุลราฮีม อัลรออียและได้ศึกษาความรู้จากท่าน
5. เชค อัซรอฟ อะลี อัลตะฮานะวีย
นอกจากนั้นท่าน เมาลานา อิลยาส ก็ได้ศึกษาบางวิชากับเชค อัซรอฟ อะลี อัลตะฮานะวีย (ฮ.ศ.1280-1368/ค.ศ.1863-1943) อีกด้วย (al-Nadwah al-‘Alamiyyah li al-Shabab al-Islami, 1989 : 91-92 และ al-Nadawi, 1990 : 11-15)
ชีวิตการเป็นครู
ในปี ฮ.ศ.1328/ค.ศ.1910 ประชาชนเป็นจำนวนมากรวมทั้งคณะครูอาวุโสของโรงเรียนสอนศาสนามะซอฮิรุลอุลูมจากสะหะรันปูรีได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องรับสมัครครูใหม่ เพื่อเข้าสอนแทน เมาลานาอิลยาสเป็นคนหนึ่งที่สมัครเป็นครูในโรงเรียนแห่งนั้น ท่านได้รับมอบหมายให้สอนนักเรียนระดับชั้นปีที่สอง เมื่อครูอาวุโสเดินทางกลับจากมักกะฮฺ ครูใหม่ทั้งหมดก็หมดหน้าที่แต่เมาลานาอิลยาสได้อยู่ทำการสอนต่อไป
ณ. ที่มะซอฮิรุลอุลูม ท่านต้องสอนหนังสือหลายเล่มซึ่งท่านไม่ได้ศึกษามาก่อนตามแผนการสอนของเมาลานายะหฺยานั้นไม่จำเป็นต้องศึกษาจนจบเล่ม แต่ท่านพยายามอย่างมากเพื่อชดเชยข้อบกพร่องและท่านเตรียมการสอนเป็นอย่างดี
การสมรส
ในปี ฮ.ศ.1330/ค.ศ.1912 ท่านได้เข้าพิธีสมรสกับบุตรสาวของท่านรออูฟ หะซัน ซึ่งเป็นลุงฝ่ายมารดา พิธีสมรสได้เริ่มภายหลังละหมาดอัสรีในวันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม ในเมืองกันดะฮฺลา ในงานนี้มีนักวิชาการศาสนาผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านได้มาร่วมเป็นสักขีพยาน เป็นต้นว่า ท่านคอลีล อะฮฺมัด ซะฮะรันปูรี ซาฮฺอับดุรรอฮีม ไรบูรี และเมาลานา อัชฮาฟ อลี ฎอนวี และท่านอัรรอฟ อลี ทำหน้าที่เป็นผู้อ่านบทเทศนาโดยท่านได้บรรยายเรื่อง “ประโยชน์ของความเป็นเพื่อน”
การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ครั้งแรก
ใน ปี ฮ.ศ.1333/เดือน สิงหาคม ค.ศ.1914 ท่านอิลยาสมีโอกาสโดยสารเรือลำเดียวกันกับ เมาลานาคอลีลสะหะรันปูรีออกได้เดินทางเพื่อประกอบพิธีฮัจย์เป็นครั้งแรก
ในปี ฮ.ศ.1334/กุมภาพันธ์ ค.ศ.1915 ท่านเดินทางกลับมาถึงประเทศอินเดีย และทำหน้าที่สอนอยู่ที่สถาบันมะซอฮิรุลอุลูมอีกครั้งหนึ่ง (เมาลานา อบุล หะสัน อัน–นัดวี, 2542 : 20)
การดำเนินงานดะวะฮฺ
หลังจากท่าน เมาลานามุฮัมมัดอิลยาสได้นั่งลงในมัสยิดบังเลอวาลี (Banglewali) ใกล้สุสานที่มีชื่อเสียงของท่าน ฮัดรัต นิซามุดดีน (Hadrat Nizammuddin) ณ. เดลลี ท่านก็ได้ช่วยงานศาสนาในเขตเมวัตที่กำลังดำเนินโดยบิดาของท่านและท่านก็ได้เปิดโรงเรียนชั้นประถม แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่เต็มใจที่จะส่งลูกเข้าโรงเรียนดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้นท่านก็ได้เดินทางไปประกอบกิจกรรมฮัจย์เป็นครั้งที่สองระหว่างประกอบกิจกรรมดังกล่าวท่านก็ได้ไปอยู่ที่นคร มะดีนะฮฺและมักกะฮเป็นเวลาห้าเดือน ท่านก็ได้รับพื้นฐานแรงบันดาลใจที่จะเริ่มเผยแผ่อิสลามให้กับชาวเมวัตเพื่อจะฟื้นฟูสภาพอีหม่านและปฏิบัติสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอีหม่านของชุมชนแถบนี้ให้ เข็มแข็งขึ้น
ปี ฮ.ศ.1344/ค.ศ.1925 ท่านก็ได้เดินทางกลับสู่นิซามุดดีน
ปี ฮ.ศ.1345/ค.ศ.1926 ท่านมุฮัมมัดอิลยาสเริ่มดำเนินงานดะวะฮฺด้วยการเผยแพร่กาลีมะฮฺ (ประโยคปฏิญาณตน) สอนการละหมาดและเชิญชวนผู้อื่นเพื่อทำงานดะวะฮฺเช่นกัน ซึ่งเป็นผลของการสังเกตการณ์ถึงความโง่เขลา มืดมนต์และละเลยศาสนาของผู้คนในประเทศ
ปี ฮ.ศ.1351/1932 เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ครั้งที่ 3 โดยปกติแล้วท่านจะจัดพิธีนัดการประชุมดะวะฮฺและท่านจะพูดถึงการเชิญชวนและเผยแพร่ ซึ่งเป็นหัวข้อเดียวที่ท่านพูดถึงในทุกสถานที่ ดำเนินการส่งยามาอะฮฺ (กลุ่ม) ชาวเมวัตซึ่งเป็นยามาอะฮฺแรกสู่บ้านเกิดคันดะฮฺลาและ ยามาอะฮฺที่สองสู่รออียฟูร จัดส่งสิบหกยามาอะฮฺสู่ทั่วดินแดนเมวัต สี่ยามาอะฮฺสู่เขตพื้นที่ที่มีภูเขาเป็นจำนวนมาก สี่ยามาอะฮฺสู่หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ระหว่างถนนใหญ่และภูเขา สี่ยามาอะฮฺสู่หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ระหว่างถนนจากฮาวดาล (Hawdal) และอัลวัร (Alwar) สู่เดลลี สี่ยามาอะฮฺสู่หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำยามูนา (Yamuna) และถนนใหญ่จากเดลลีสู่ฮาวดาล จัดการชุมนุมพบปะกลุ่มดังกล่าวที่มัสยิดยามา (Jama) ณ. เดลลี
ในปี ฮ.ศ.1357/เดือนมีนาคม ค.ศ.1938 ท่านเมาลานาพร้อมด้วยฮัจยีอับดุลลอฮฺเดลาวี อับดุรเราะหฺมานมาซฮารและมุลวีอิสติฮามุลหะซันเข้าเฝ้ากษัตริย์อิบนิซาอู๊ดแห่งราชอาณาจักร ซาอุดิอารเบีย พระองค์เสด็จลงจากที่ประทับมาต้อนรับคณะของท่านเมาลานาอิลยาส ได้มีการสนทนาเกี่ยวกับความเป็นเอกะของอัลลอฮฺ กุรอานและซุนนะฮฺและความจำเป็นในการที่ต้องปฏิบัติตามชารีอะฮฺประมาณ 40 นาที เมื่อคณะเข้าเฝ้าลากลับ พระองค์ก็เสด็จลงจากที่ประทับมาส่งเป็นการอำลา
ในปี ฮ.ศ.1359/ค.ศ.1940 ท่านเมาลานามุฮัมมัดอิลยาสได้จัดส่งบรรดานักศึกษาดารุลอุลูมนัดวะฮฺอุลามาอฺ และคณาจารย์สู่ลักเนาว์
ในวันที่ 8-9-10 เดือนซุลเกาะดะฮฺ ปี ฮ.ศ.1360 ซึ่งตรงกับวันที่ 28-29-30 พฤศจิกายน 1941 ได้มีการจัดชุมนุมครั้งใหญ่ที่ตำบลนูฮฺ อำเภอกอรฺอกอน ผู้คนมาเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่เคยมีคนมาร่วมมากอย่างครั้งนี้ มีจำนวนผู้มาร่วมประมาณ 20,000-25,000 คน มีเป็นจำนวนมากที่ผู้เข้าร่วมประชุมเดินทางด้วยเท้าเป็นระยะทาง 40-50 ไมล์ โดยมีสัมภาระอยู่บนบา
กลุ่มเผยแพร่ต่างๆซึ่งประกอบด้วยชาวมีวัต ซึ่งมีทั้งพ่อค้าชาวเมืองเดลลี นักเรียน นักศึกษาจากโรงเรียนศาสนาได้มุ่งหน้าออกไปยังตำบล และเมืองต่างๆทางภาคเหนือ เช่น แคว้น ปัญจาบที่เมืองดูรญะฮฺ อะบีญะรอฮฺ อุกเราะฮฺ บะลันซะฮัร มีรตะฮฺบะนีบัด ซุนีบัด กัรนาล เราะฮฺตั๊ก
ปี ฮ.ศ.1362/ ค.ศ.1941 ดำเนินการส่งสองยามาอะฮฺสู่การาจี ยามาอะฮฺแรกในเดือนกุมภาพันธ์ และยามาอะฮฺที่ 2 ในต้นเดือนเมษายน งานเผยแพร่ได้ดำเนินไปในการาจีและสะนัต และได้เกิดกลุ่มใหม่ขึ้นอีกหลายกลุ่มในย่านต่างๆของกรุงการาจี โดยมีไซยิดราซ่าเป็นอามีร
ในปีฮ.ศ. 1364/ค.ศ.1943 เมาลานาอิลยาส ตัดสินใจเดินทางไปลัคเนาว์ ก่อนการเดินทางไปยามาอัต ชาวเมวาตและนักธุรกิจชาวเดลลีประมาณ 40 คนเดินทางไปล่วงหน้าแล้ว เพื่อเตรียมการสำหรับการเดินทางมาของท่าน
ต้นเดือนเมษายน ค.ศ.1944 คณะตับลีฆประมาณ 60 คน ออกเดินทางไปแคว้นสินธุภายใต้การนำของฮาฟิซมักบู้ลหะสัน ยามาอัตได้หยุดพักที่ละโฮร์เป็นเวลาไม่นาน สมาชิกคณะตับลีฆมีโอกาสพบกับฮัรรัตนูรุ้ลมูญาฮิต แห่งกรุงคาบูลและถือโอกาสเชิญชวนท่านทำงานตับลีฆ นอกจาก นั้นยังมียามาอัตขนาดใหญ่ไปทำงานที่โบปาล ตามความต้องการของอิหม่ามอับดุรรอชีดมีสกีนอีกสองยามาอะฮฺไปทำงานที่ไรปูร ตามความต้องการของศาตราจารย์อับดุลมุกนีและอีหม่ามอับดุลรอชีดนัวะมานี พื้นที่แห่งใหม่ที่ทำงานตับลีฆได้รับการต้อนรับมากที่สุดคือ โบราดาบาด
เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ท่านเมาลานาอิลยาสประสบกับโรคท้องร่วงจนสิ้นชีวิตในวันที่ 13 กรกฎาคม 1944 ท่านมีบุตร 2 คน คือ (1) เชคมุฮัมมัด ยูซุฟ ผู้นำคนที่สองของกลุ่มดะวะฮฺตับลีฆ (2) ภรรยาของท่าน เชค ฮะดีษ เมาลานา มุฮัมมัด ซะกะรียา ผู้แต่งหนังสือ Fada il al-A’mal (คุณค่าของอาม้าล) (al-Nadawi, 1990 : 29-78, W.Troll, n.d. 139-142)
ความสัมพันธ์กับนักซูฟี
แท้จริงขบวนการที่เริ่มขึ้นโดย ท่าน เชค มุหัมมัด อิลยาส เป็นสาขาหนึ่งของขบวนการที่ใหญ่หลวงที่สถาปนาขึ้นโดย ท่าน เชค อะฮฺมัด อัล ซิรฮินดีย1(นักซูฟีปฏิรูปในรอบสหัสวรรษที่ สอง) เพื่อต่อสู้กับชาวฮินดูที่บูชาเจว็ด ชิอะฮฺจากอีหร่านและศาสนาใหม่หรือที่เรียกว่าดีนอิลาฮี (Din – al – Ilahi) ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิญาลาลุดดีน อักบาร์แห่งอาณาจักรโมกุล (Pirzada, 1993 : 99)
เมื่อ ญาลาลุดดีน อักบาร์ (Jalalluddin ‘Akbar ฮ.ศ. 949–1014/ค.ศ.1542–1605) ขึ้นครองราชย์เป็นจักพรรดิ์องค์ที่สามของราชวงค์โมกุล ในปี ฮ.ศ. 963/ค.ศ. 1556 พระองค์ได้ชื่อว่า เป็นผู้สร้างจักรวรรดิ์ที่แท้จริง พระองค์ทรงสร้างความสามัคคีและเอกภาพทางศาสนาด้วยการยกเลิกภาษีจิสยา (Jizyah) หรือภาษีที่เก็บจากคนนอกศาสนา พระองค์ยังโปรดให้ชาวฮินดูได้เข้ารับราชการในตำแหน่งสูง ๆทรงสร้างพันธมิตรโดยการอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงราชปุตซึ่งเป็นชาวฮินดูและสนใจในวัฒนธรรมฮินดู นอกจากนั้นพระองค์ทรงดำเนินการปฏิรูปศาสนาโดยการทรงจัดให้มีการประชุมนักปราชญ์ของศาสนาต่าง ๆขึ้นมีอิสลามทั้งนิกายชิอะฮฺและสุนนี คริสต์ทั้งคาธอลิคและ โปรแตสแตนท์ ศาสนาพุทธ เชน พราหมณ์ และโซโรอัสเตอร์ อักบาร์เองก็ร่วมการถกเถียงอภิปรายด้วยและทรงให้โอกาสให้ทุกศาสนาพูดถึงความดีของศาสนาของตนและชี้ข้อบกพร่องของศาสนาอื่นได้เต็มที่ปรากฎว่าต่างศาสนาก็ทับถมศาสนาอื่น ๆ และยกย่องตน อักบาร์ได้ทรงประกาสว่าจะไม่นับถือศาสนาใดทั้งสิ้น และพร้อมกันนี้พระองค์ได้ทรงประกาศตั้งศาสนาใหม่เรียกว่า ดีนอิลาฮีและประกาศว่าพระองค์คือศาสดาแห่งศาสนานั้น (ดูสุภัทรา วรรณพิณ, 2532 : 15-16,
1 ผู้ก่อตั้งนิกายซูฟีมูญัดีดียะฮฺ ซึ่งเป็นสาขาย่อยของนักชบันดียะฮฺที่ก่อตั้งขึ้นโดยท่านบะฮาอุดดีน นักชบันดี
ประจักษ์ ช่วยไล่, 2521 : 271–272, S.F Mahmud, 1960 : 256) เพื่อความอยู่รอดของชาวมุสลิม ท่าน เชค อะฮฺมัด อัลซิรฮินดียฺก็ได้ทำการต่อสู้ด้วยการก่อตั้งขบวนการขึ้น
ก่อนสลายอาณาจักรดังกล่าวเพียงเล็กน้อยขบวนการก็ได้รับการปฏิรูปจากท่านซาฮฺวะลียยุลลอฮฺ อัลดะฮฺลาวีผู้ซึ่งได้รับการศึกษาด้านญานวิทยาจากตอรีเกาะฮฺกอดิริยะฮฺ ชิชติยะฮฺและ นักชบันดีโดยการแบ่งขบวนการนี้ออกเป็นแผนกมากมายซึ่งท่านพิรซาดา (Pirzada, 1993 : 100) ได้รวบรวมรายชื่อแผนกต่างๆดังต่อไปนี้
1. แผนกกองกำลังติดอาวุธ
2. แผนกการปกป้องมรดกของอิสลาม
3. แผนกแปลเอกสารของอิสลาม
4. แผนกเชิญชวนสู่แนวทางของพระองค์อัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮุวะตะอาลา)
5. แผนกเตรียมศึกษาเกี่ยวกับบทหะดีษ
6. แผนกอบรมสั่งสอนชี้แนะชาวมุสลิม
7. เปิดโรงเรียนสอนศาสนาด้วยภาษาอาหรับ
ขบวนการนี้ก็ได้ทำการต่อสู้เรื่อยมาจนมหาอำนาจอังกฤษต้องประสบกับความพ่ายแพ้ ขบวนการนี้ก็เริ่มสถาปนารัฐอิสลามแห่งปากีสถาน และขบวนการนี้ยังดำเนินงานต่อไปทั้งในอินเดียและปากีสถานเอง แต่หลังจากนั้นขบวนการนี้ก็เป็นที่รู้จักในนาม “ขบวนการดิวบาน” อันเป็นมรดกชิ้นเดียวของท่านซาฮฺวลียยุลลอฮฺนักปฏิรูปซูฟีนักชบันดีผู้ยิ่งใหญ่แต่ขบวนการนี้ก็ได้รับการปฏิรูปอีกครั้งหนึ่งโดยโรงเรียนดารุลอุลูม เมืองดิวบาน เขตซิฮารอนฟูร ด้วยการแบ่งกลุ่มออกหลายๆกลุ่มและแต่ละกลุ่มก็จัดแผนกและศูนย์เป็นของตนเอง ซึ่งท่าน Pirzada (1993 : 102-105) ได้รวบรวมรายชื่อแผนกต่างๆดังต่อไปนี้
1. แผนกเปิดโรงเรียนสอนศาสนาด้วยภาษาอาหรับ
2. แผนกเตรียมอาจารย์และผู้พิพากษา
3. แผนกงานเขียนและงานแปล
4. แผนกกองกำลังติดอาวุธ
5. แผนกการเมือง
6. แผนกปราบปรามขบวนการปลอมแปลงหลักความเชื่อของชาวมุสลิม
7. แผนกกำชับในความดีและยับยั้งความชั่ว ซึ่งเป็นแผนกของท่าน เมาลานา มุหัมมัด อิลยาส ผู้สถาปนากลุ่มดะวะฮฺตับลีฆ ในเมื่อความเป็นปึกแผ่นของขบวนการแห่งการเมืองได้เสื่อมลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 (ฮ.ศ.1333–1337/ค.ศ.1914–1918) ท่านเมาลานา อิลยาส จึงหันสู่การรวมตัวในรูปแบบสมาคมที่ไม่สนใจในเรื่องการเมือง
ดังนั้นผู้วิจัยมีความเห็นว่า : ท่าน เมาลานา มุฮัมมัด อิลยาส ผู้สถาปนากลุ่มดะวะฮฺตับลีฆและนักวิชาการมุสลิมที่ติดตามร่องรอยของท่านได้รับแนวคิดซูฟีจากตอรีเกาะฮฺกอดิริยะฮฺ ชิชติยะฮฺและนักชบันดีผ่านท่าน ซาฮฺวลียยุลลอฮฺ อัลดะฮฺลาวีและโรงเรียนดารุลอุลูม ณ.เมืองดิวบาน_








จุดประสงค์ของงานมัสตูรา





1. เพื่อให้เกิดขึ้นอามั้ลมัสยิดนาบะวี เกิดขึ้นในบ้านเรา และบ้านอุมัติอิสลาม
2. เพื่อให้บ้านของอุมัติอิสลาม ขึ้นเป็นเหมือนบ้านของซอฮาบะฮ์
3. เพื่อให้วานีต้าทุกๆคนนั้น เตรียมพร้อม ที่จะออกในหนทางของอัลลอฮ
4. เพื่อให้เกิดขึ้นสภาพแวดล้อมบ้านของเหล่าซอฮาบะฮ์
5. เพื่อให้วานิต้าละหมาดก่อน ที่จะทำงานอะไร[ละหมาดสุนัตฮายัต]
6. เพื่อให้วานิต้าช่วยเหลือสามี ในการที่จะออกในหนทางของอัลลอฮ
7. เพื่อให้มีความคิดเรื่องศาสนาเกิดขึ้นในความคิดของวานิต้า
8. เพื่อให้วานิต้าไม่ออกจากบ้านก่อนที่ได้รับอนุญาตจากสามี
2.ระเบียบการออกมัสตูรา
1. ผุ้ชายต้องเป็นอามีรญามาอะฮ์
2. ต้องเอาการตัดสินจากการมุชชาวรัตจากผู้ชาย
3. ต้องอยู่ในฮิญาบฟิรเดาะฮ์ที่สมบูรณ์ และต้องอยู่ในบ้าน
4. ต้องขออนุญาตจากสามี
5. ในเวลา3-4เดือนให้ออกมัสตูรา3วันครั้งหนึ่ง
3.จุดประสงค์การทำงานตะฮ์ลิมมัสตูราในบ้าน
1. เพื่อให้ทุกๆครอบครัว ได้รับผลอาม้าลศาสนา ในการใช้ชีวิตประจำวัน
2. เพื่อให้เกิดตะลิมฮ์ขึ้นที่บ้าน
3. เพื่อให้เกิดขึ้นซุนนะห์ของท่านนบีในบ้าน
4. เพื่อให้วานิต้ามีการพูดคุยกันถึงเรื่องศาสนา
5. เพื่อให้ใช้เวลาให้น้อยที่สุดในการกินและดื่ม
6. เพื่อให้อบรมสั่งสอนลูกๆ ให้อามั้ลศาสนา และเมื่อสามีนำตากาซามัสจากมัสยิดกลับมาบ้าน ภรรยาให้การตัรฆีบลูกๆ
4.ระเบียบของการบายานมัสตูรา
1. เพื่อให้เกิดขึ้นมีความคิดศาสนา อิหม่านและอามั้ล เพื่อให้เกิดขึ้นตะฮ์ลิมในบ้าน
2. ตัรฆีบความสำคัญในการออกในหนทางของอัลลอฮ
5.ซีฟัตของคนบายานมัสตูรอฮ์
- เป็นคนที่อาวุโส ทำโดยผ่านการมูชชาวรัต
- เป็นคนที่มีครอบครัว มูซาการ่อฮ์ ก่อนบายาน
- เคยออกมัสตูรา เป็นคนที่น่าเชื่อถือ
- ไปบายานโดยไปเป็นญามาอะฮ์







คนทำงานดะอฺวะฮฺ-ตับลีฆ





เผยแพร่ต่อจากฉัน

ท่านเราะสูล ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวในวันอีฎิลอัฎฮาในช่วงฮัจญ์วะดาอฺซึ่งเป็นการกล่าวคุฏบะฮฺให้กับเศาะหาบะฮฺของท่านผู้ซึ่งเป็นที่ศรัทธาต่อท่านทุกคน เศาะหาบะฮฺของท่านมีทั้งที่เป็นชาวอาหรับและมิใช่อาหรับ มีทั้งชายและหญิง ผิวขาวและผิวดำ คนรวยและคนจน เจ้านายและผู้ที่เป็นทาส ว่า
«لِيُبَلِّغِ الشَّاهِدُ الغَائِبَ، فَإنَّ الشَّاهِدَ عَسَى أَنْ يُبَلِّغَ مَنْ هُوَ أَوْعَى لَـهُ مِنْـهُ».
ความว่า : “พึงทราบเถิดว่าผู้ที่ได้ยินคำพูดของฉัน(คือผู้ที่อยู่ใกล้)จากพวกท่านจำเป็นต้องเผยแพร่ให้กับคนที่ไม่ได้ยินคำพูดของฉัน(คือ ผู้ที่อยู่ไกล) ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ผู้ที่ได้ยินคำพูดของฉันของฉัน อาจจะเป็นไปได้ว่า เขาจะเผยแพร่แก่ผู้ที่มีความใจมากกว่าเขา”
[บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่: 67 และสำนวนหะดีษเป็นของท่าน, และมุสลิม เลขที่: 1679]
จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ (ได้กล่าวว่า)ท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«بَلِّغُوا عَنِّي وَلَوْ آيَةً، وَحَدِّثُوا عَنْ بَنِي إسْرَائِيلَ وَلا حَرَجَ، وَمَنْ كَذَبَ عَلَيَّ مُتَعَمِّداً فَلْيَتَـبَوَّأْ مَقْعَدَهُ مِنَ النَّارِ».
ความว่า“ท่านทั้งหลายจงเผยแผ่สิ่งที่ได้จากฉัน แม้เพียงหนึ่งอายะฮฺ (เพียงเล็กน้อย) และจงรายงาน(เล่าเรื่องราวต่างๆ) จากบนีอิสรออีลโดยไม่ต้องกังวลใดๆ ผู้ใดโกหกต่อฉัน เขาจงเตรียม ที่พำนักของเขาในไฟนรก”
( บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หะดีษที่ 3461)

ในวันหนึ่งท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ ซล. ได้กล่าวแก่ท่านซัยดินาอาลี รด. ว่า" โอ้ อาลีเอ๋ย ! จงทำ 5 สิ่งนี้ ก่อนที่ท่านจะเข้านอนในเวลากลางคืน
1.จ่ายซอดาเกาะห์ด้วยเงิน 4,000 ดินารฺ ก่อนที่ท่านจะนอน
2.อ่านอัลกุรอาน1จบ ก่อนที่ท่านจะนอน
3.เปลี่ยนศัตรูสองคนให้เป็นมิตรเสีย ก่อนที่ท่านจะนอน
4.จ่ายค่าเข้าสวรรค์ ก่อนที่ท่านจะนอน
5.ทำฮัจญ์อย่างสมบูรณ์ ก่อนที่ท่านจะนอน
ท่านซัยดินาอาลี รด. ได้กล่าวว่า " โอ้ท่านรอซู้ล (ซล.) นี่มันดูเป็นไปไม่ได้เลย ฉันจะทำมันได้อย่างไรกัน"ท่านรอซู้ล ซล. ได้กล่าวตอบแก่ท่านซัยดินาอาลี รด. ว่า
1.อ่านซูเราะฮฺอัลฟาติฮะฮ์ 4 จบ เท่ากับท่านได้ทำทานด้วยเงิน 4,000 ดินารฺ
2.อ่านซูเราะฮ์อัลอิคลาศ 3 จบ เทียบเท่ากับท่านได้อ่านอัลกุรอาน 1 จบ
3.กล่าวอัสตัฆฟิรุลลอฮฺ 10 ครั้ง (หรือจะกล่าวอิสติฆฟารฺบทใดก็ได้) เท่ากับเปลี่ยนศัตรูสองคนให้กลายเป็น มิตร
4.อ่านซอลาวาตนบี ซล. 3 ที (บทใดก็ได้) เป็นมูลค่าของสวนสวรรค์
5.กล่าวซุบฮานั้ลลอฮฺ วั้ลฮัมดุลิ้ลลาฮฺ วั้ลลอฮุอักบัร 4 ครั้ง เท่ากับทำฮัจญ์ 1 ครั้ง
^-^" ใครๆก็ทำได้อยู่ที่จะทำหรือเปล่า ไม่ยากเลย และถ้าอิสติกอมะห์ ภาคผลจะมากมายมหาศาลขนาดไหนกันนะ วัลลอฮุ่อะลัม ขออัลลอฮฺ ซบ. ประทานความง่ายดายแก่เราและท่านที่จะกระทำดีเพื่อพระองค์ด้วยเถิด
อามีน ... ยาร็อบบั้ลอาลามีน
6 ซีฟัต
เมาลานาสะอัด กล่าวว่า “ความต้องการงานดะวะฮ์ คือการเปลี่ยนแปลงยากีน” และ เป้าหมายคือ “การไปถึงแก่นแท้ของอาม้าล” ไม่ใช่แต่การวิ่งไปวิ่งมาเท่านั้น ซึ่งงานจริงๆแล้วนั้นคือการให้ซีฟัต (คุณลักษณะ)ต่างๆเข้ามาอยู่ในตัวของเรา จึงต้องมีการพยายามบน 3 หนทาง
คือ.... 1. ดะวะฮฺ 2 . ฝึกฝน 3. ดุอา
อัลเลาะฮ์ ( ซ.บ. ) ได้จำกัดความสำเร็จของมนุษย์ จากคนแรกจนถึงคนสุดท้ายไว้ในศาสนาที่สมบูรณ์ ศาสนาคือ ทุกๆคำสั่งของอ.ล.และทุกๆซุนนะฮ์ ( แบบอย่าง ) ของท่านนบี (ซ.ล. ) ด้วยความอ่อนแอของอุมมะฮ์ปัจจุบันนี้ทำให้เขาไม่สามารถอาม้าลศาสนาที่สมบูรณ์ได้
เพื่อจะให้ง่ายในการอาม้าลศาสนาทั้งหมด เราจึงต้องพยายามบน 6 ประการนี้

1. ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮฺ มูฮัมมาดุรรอซูลุลลอฮฺ
ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮ์ จุดประสงค์ เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงยากีน จากยากีนที่ผิดๆ(ฟาซิก) ที่ว่า มัคลูก อัสบาบ สามารถให้ความสำเร็จกับเราได้นั้นไปสู่การยากีนที่ถูกต้อง(ซอเหี๊ยะหฺ)ว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เท่านั้นที่สามารถให้ความสำเร็จกับเราได้. อัลลอฮฺ(ซ.บ.)คือผู้สร้าง ผู้เป็นเจ้าปกครองททุกๆสิ่ง พระองค์สร้างทุกสิ่งทุกอย่างด้วยกับกุดรัต(อำนาจ)ของพระองค์ ทุกสิ่งเกิดขึ้นด้วยกับการสร้างของพระองค์ พระองค์เป็นผู้สร้าง มันไม่ได้เกิดขึ้นมาเอง และสิ่งที่ถูกสร้างมานั้น มันไม่สามารถสร้างสิ่งอื่นใดได้ สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยกุดรัตของพระองค์ มันก็อยู่ภายใต้กุดรัตของพระองค์ ดังนั้น ความสุข ความทุกข์, การเป็น การตาย, การมีเกียรติ การต่ำเกีตรติ, การมีสุขภาพดี การเจ็บป่วย, ความร่ำรวย ความยากจน ทั้งหมดอยู่ในอำนาจของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) พระองค์สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ทั้งหมดด้วยกับกุดรัตของพระองค์โดยไม่ต้องพึ่งพามัคลูก
คุณค่า ลาอิลาอิลลัลลอฮฺ
1. ผู้ใดกล่าว “ลาอีลาฮาอิลลัลลอฮฺ” ในวาระสุดท้ายของชีวิต เขาจะได้เข้าสวรรค์
2. ผู้หนึ่งที่มีอีหม่านเพียงซัรเราะอ์เดียวเขาจะได้สวรรค์ถึง 10 เท่าของโลกดุนยา
3. นบีมูซา ( อ.ล. ) ขอจาก อ.ล.ให้พระองค์มอบให้กับเขาบทขอพรอันพิเศษเพื่อการรำลึกถึงพระองค์ อ.ล.ได้ประทานกาลีมะฮ์ “ ลาอิลาฮาอิลลัลเลาะฮ์” นบีมูซา(อ.ล.)ขออีก 3 ครั้งเพื่อขอกาลีมะฮ์ที่พิเศษที่อ.ล.ยังไม่เคยให้ผู้อื่น อ.ล. (ซ.บ.) ได้กล่าวกับนบีมูซา(อ.ล.) ว่า หากว่าเจ้าเอาทั้งเจ็ดชั้นฟ้าเจ็ดชั้นแผ่นดินมาวางไว้ในตาชั่งข้างหนึ่งและนำกาลีมะฮฺนี้มาวางไว้ในตาชั่งอีกข้างหนึ่งแน่นอนกาลีมะฮฺนี้จะมีน้ำหนักมากกว่า
วิธีที่จะได้
1. ดะวะฮ์เรียกร้องเชิญชวนมนุษย์ไปสู่การยากีนกับอ.ล.(ซ.บ.) อธิบายถึงความยิ่งใหญ่ของอ.ล.(ซ.บ.) เล่าถึงประวัติของบรรดานบี(อ.ล.)และบรรดาซอฮาบะฮ์(ร.ฎ.)ในการพยายามบนกาลีมะฮ์นี้
2. พยายามฝึกฝนตัวเองให้พูด ฟัง มอง คิด ถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และการสร้างสรรค์ของพระองค์
3. ดุอาร้องไห้ ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ประทานแก่นแท้ของยากีนนี้ให้เราด้วยเถิด
มูฮัมมาดุรรอซูลุลเลาะฮ์ จุดประสงค์ เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงยากีน (ความมั่นใจ)ในแบบอย่างอื่นทั้งหมดว่าไม่สามารถให้ความสำเร็จกับเราได้ เฉพาะแบบอย่างของท่านนบีมูฮัมหมัด(ซ.ล.)เท่านั้นที่จะให้เราได้รับความสำเร็จทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
คุณค่า
1. บนมัฟฮูมฮะดิษของท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.)กล่าวว่า” ผู้ใดฟื้นฟูซุนนะฮ์ของฉันเขารักฉันและใครที่รักฉันเขาจะได้อยู่กับฉันในสวนสวรรค์”
2. ผู้ใดฟื้นฟูซุนนะฮ์ของท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.)ในยุคสุดท้ายนี้ อ.ล. (ซ.บ.)จะตอบแทนผลบุญเท่ากับ 100 ชาฮีด
3. อุมมะฮ์ของท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.) จะได้เข้าสวรรค์นอกจากผู้ปฏิเสธ ซอฮาบะฮ์ (ร.ฎ.)ถามว่าใครคือผู้ปฏิเสธ ท่านนบี (ซ.ล.)ตอบ ผู้ที่ตออัต (เชื่อฟัง)ต่อฉันจะได้เข้าสวรรค์และผู้ไม่ตามฉันเขาคือผู้ปฏิเสธ
วิธีที่จะได้
1. ดะวะฮ์เรียกร้องเชิญชวนมนุษย์ไปสู่ความมั่นใจในแบบอย่างของท่านนบี (ซ.ล.)อธิบายถึงคุณค่าความสำคัญของซุนนะฮ์ เล่าถึงประวัติความมั่นใจในซุนนะฮ์ของเหล่าบรรดาซอฮาบะฮ์ (ร.ฎ.)
2. ฝึกฝนตัวเองในการอาม้าลทุกอย่างตามแนวทางของท่านนบี(ซ.ล.)
3. ดุอาร้องไห้ ขอให้อ.ล.(ซ.บ.)ประทานแก่นแท้ของมูฮำมาดุรรอซูลุลเลาะฮ์ให้กับเราด
2.ละหมาด
(การละหมาดถูกประทานมาเพื่อเป็นการเอาประโยชน์โดยตรงจากกุดรัตของอัลลอฮฺ)
จุดประสงค์ เพื่อต้องการพยายามทำอย่างไรที่อวัยวะของเราทั้งหมดในละหมาดตั้งแต่ตักบีร กียาม รุกุอ สูญูด จนถึงสลามเป็นไปตามคำสั่งของอ.ล.(ซ.บ.)และแนวทางของท่านนบีมูฮำหมัด(ซ.ล.) ให้นอกละหมาดของเราทุกๆอวัยวะ ตา หู จมูก ลิ้น ตั้งแต่ศรีษะจรดเท้าทั้งหมดใช้ไปหนทางที่ถูกต้องคือตามคำสั่งของอ.ล.(ซ.บ.)และซุนนะฮ์ของท่านนบี (ซ.ล.)
คุณค่า
1. อ.ล.จะให้ 5 อย่างด้วยกัน
1.1 อ.ล.จะประทานริซกีที่มีบารอกัต
1.2 จะพ้นจากการลงโทษในหลุมกุโบร์
1.3 จะได้รับหนังสืออาม้าลด้วยมือขวา
1.4 จะสามารถข้ามสะพานซีรอตรวดเร็วดุจสายฟ้า แลบ
1.5 จะได้เข้าสวรรค์โดยไม่ต้องถูกสอบสวน
2. ละหมาดคือเสาหลักของศาสนา
3. ละหมาดเป็นกุญแจไขสวนสวรรค์
4. ละหมาดคือสิ่งแบ่งแยกระหว่างอิสลามกับกาเฟร
วิธีที่จะได้
1. ดะวะฮ์เรียกร้องเชิญชวนมนุษย์ไปสู่การละหมาดที่มีคูซุอ์ (สมาธิ) ตะวัดดุอ์ (นอบน้อม) อธิบายถึงความสำคัญและคุณค่าของการละหมาด เล่าถึงประวัติการละหมาดของท่านนบี (ซ.ล.)และซอฮาบะฮ์ (ร.ฎ.)
2. ฝึกฝนให้ละหมาดของตัวเองเป็นละหมาดที่ดีที่สุด ให้ความสำคัญกับการทำน้ำละหมาด รวบรวมสมาธิขณะยืน ขณะนั่ง ขณะรุกุอ์ ขณะสูญูด ทุกๆอิริยาบถให้นึกตั้งสมาธิอย่างน้อยๆสามครั้ง “ อ.ล.กำลังฟังเราอยู่ อ.ล.กำลังมองเราอยู่
3. ดุอาร้องไห้ ขอจากอ.ล.ให้พระองค์ประทานแก่นแท้ของละหมาดให้กับเราด้วยเถิด
3. อิลมู (การศึกษาหาความรู้) และซิกรุลลอฮ์ (การรำลึกถึงอ.ล.)
อิลมู (การศึกษาหาความรู้) จุดประสงค์ เพื่อต้องการพิสูจน์ ค้นคว้าและศึกษาให้เรารู้ว่าขณะนี้อ.ล.(ซ.บ.)ต้องการอะไรจากเรา
คุณค่า 1. ผู้ที่ออกไปศึกษาหาความรู้แท้จริงเขาอยู่ในหนทางของอ.ล.จนกระทั่งเขากลับ
2. ผู้ที่ออกไปในตอนเช้าเพื่อศึกษาในหนึ่งอายะฮ์ดีกว่าเขาละหมาดสุนัตถึง 100 รอกาอัต และผู้ที่ออกไปในตอนเช้าเพื่อศึกษาหาความรู้ 1 บท เขาจะปฏิบัติแล้วหรือยังไม่ปฏิบัติก็ยังดีกว่าเขาละหมาดสุนัตถึง 1,000 รอกาอัต
3. สิ่งถูกสร้างทั้งในฟากฟ้าและแผ่นดินทั้งหมดจะขอดุอามัฆฟีเราะฮ์ (ขออภัยโทษ) ให้กับผู้ที่ออกไปศึกษาความรู้
4. คนมีความรู้ในศาสนา (อาหลิ่ม)เป็นที่หนักใจแก่ชัยตอนมากกว่าคนอาบิด (ผู้ปฏิบัติธรรม)ถึง 1,000 คน
วิธีที่จะได้
1. ดะวะฮ์เรียกร้องเชิญชวนมนุษย์ไปสู่การศึกษาหาความรู้ อธิบายถึงคุณค่าความสำคัญของการศึกษาหาความรู้ เล่าประวัติการพยายามศึกษาหาความรู้ของเหล่าซอฮาบะฮ์ (ร.ฎ.)
2. ฝึกฝนตัวเองด้วยการอยู่ในฮัลเกาะฮ์ตะอ์ลีม,มัจลิสที่มีการเรียนการสอน พยายามคิดมัตอุลามะอ์ และยากีนด้วยว่านี่เป็นอิบาดะฮ์
3. ดุอาร้องไห้ ขอจากอัลลอฮฺให้พระองค์ประทานแก่นแท้ของอิลมูให้กับเราด้วยเถิด
ซิกรุลลอฮฺ(การรำลึกถึงอัลลอฮฺ)จุดประสงค์ การซิกรุลลอฮฺ เพื่อเป็นการสร้างตะวัจญุฮ์ต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในทุกๆอาม้าลของเราว่าอัลลอฮฺกำลังมองเราอยู่
คุณค่า
1. ผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮฺ(ซ.บ.) อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงนึกถึงเขา
2. ตราบใดที่ริมปากของคนคนหนึ่งยังขยับเคลื่อนไหวอยู่กับการรำลึกถึงอ.ล.(ซ.บ.) พระองค์อ.ล.ก็จะทรงอยู่พร้อมกับเขา
3. ผู้ที่รำลึกถึงอ.ล.(ซ.บ.)และผู้ที่ไม่รำลึกถึงอ.ล.(ซ.บ.)นั้นประดุจดั่งผู้ที่มีชีวิตกับผู้ที่ตายแล้ว
วิธีที่จะได้
1. ดะวะฮ์เรียกร้องเชิญชวนมนุษย์ไปสู่การรำลึกถึงอ.ล.(ซ.บ.) อธิบายถึงคุณค่าความสำคัญของการรำลึกถึงอ.ล.(ซ.บ.) เล่าประวัติของบรรดานบี(อ.ล.)และบรรดาซอฮาบะฮ์ (ร.ฎ.)เกี่ยวกับการรำลึกถึงอ.ล.(ซ.บ.)ของพวกท่านเหล่านั้น
2. ฝึกฝนตัวเองในการให้มีตะวัจญุฮ์ในทุกๆอาม้าลว่าอ.ล.(ซ.บ.)กำลังมองและฟังเราอยู่
3. ดุอาร้องไห้ขอจากอ.ล.(ซ.บ.)ให้พระองค์ทรงประทานแก่นแท้ของการซิกรุลลอฮ์ให้กับเราด้วยเถิด
4. อิกรอมมุสลีมีน
จุดประสงค์ เพื่อจะอิกรอมให้เกียรติกับมุสลิมทุกคนเพราะอีหม่านที่มีในหัวใจของเขาไม่ใช่เพราะทรัพย์สินหรือตำแหน่งของเขา เพราะมุสลิมเพียงคนเดียวมีค่ามากกว่าคนกาฟิรทั้งโลกเสียอีก อ่อนโยนต่ออุมมะฮ์ทุกๆคน ให้สิทธิกับผู้อื่นที่เป็นสิทธิของพวกเขาและไม่เรียกรร้องสิทธิของตนเอง
คุณค่า
1. ตราบใดที่คนใดคนหนึ่งช่วยเหลือการงานให้กับพี่น้องมุสลิมของเขา อ.ล.(ซ.บ.)ก็จะทรงช่วยเหลือการงานของเขา
2. บุคคลใดปกปิดความลับของมุสลิม อ.ล.(ซ.บ.)ก็จะทรงปกปิดความลับของเขา
3. ผู้ใดนอบน้อมถ่อมตนต่อผู้อื่นเพื่ออ.ล. อ.ล.(ซ.บ.)จะทรงยกย่องเกียรติเขาผู้นั้น
4. ผู้ใดก็ตามที่ออกไปในหนทางเพื่อจัดการกิจกรรมอันจำเป็นในนามของพี่น้องของเขา ดีกว่าการเอี๊ยะติกาฟถึง 10 ปี ผู้ใดเอี๊ยะติกาฟ 1 วันเพื่อความโปรดปรานของอ.ล. อ.ล ซ.บ.)เขาจะห่างจากไฟนรก 3 สนามเพลาะ (สนามเพลาะหนึ่งกว้างระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดิน )
วิธีที่จะได้
1. ดะวะฮ์เรียกร้องเชิญชวนไปสู่การอิกรอมมุสลิม อธิบายคุณค่า ความสำคัญของการอิกรอม เล่าประวัติการเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และอัคล๊าค มารยาทที่ดีงามของท่านนบี (ซ.ล.) และบรรดาซอฮาบะฮ์ (ร.ฎ.)
2. ฝึกฝนตัวเองในการอิกรอม ให้เกียรติผู้อาวุโส อาหลิ่มอุลามะอ์ ให้ความสงสารเด็ก ให้สิทธิแก่ผู้อื่น ไม่เรียกร้องสิทธิของตนเอง
3. ดุอาร้องไห้ ขอให้อ.ล.(ซ.บ.)ประทานอัคล๊าคของท่านนบี(ซ.ล.) (แก่นแท้ของอิกรอม) ให้กับเราด้วยเถิด
5. อิคล้าศ
จุดประสงค์ จะทำทุกๆอาม้าลเพื่อแสวงหาความโปรดปราน ความพอพระทัยของอ.ล.(ซ.บ.)เพียงอย่างเดียว การแสวงหาดุนยาหรือการสร้างบารมีให้กับตนเองอย่าให้เป็นเป้าหมายในอาม้าลหนึ่งอาม้าลใด
คุณค่า
1. อาม้าลเพียงเล็กน้อยแต่ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่ออ.ล.(ซ.บ.)ก็จะเป็นสาเหตุให้ได้รับรางวัลตอบแทนอย่างมากมาย แต่ถ้าหากไม่มีความบริสุทธิ์ใจถึงแม้จะทำอาม้าลมากมายก็อาจเป็นสาเหตุให้ได้รับการลงโทษได้ ( ด้วยไม่อิคลาสทำให้คนตายชาเฮด คนร่ำรวย และอุลามะอ์ต้องตกนรก )
วิธีที่จะได้
1. ดะวะอ์เรียกร้องเชิญชวนมนุษย์ไปสู่การอิคลาศ อธิบายถึงคุณค่าความสำคัญของความอิคลาศ เล่าประวัติความอิคลาศของบรรดานบี (อ.ล.) และบรรดาซอฮาบะฮ์ (ร.ฎ.)
2. ฝึกฝนตัวเองในการพยายามให้เนียต (ตั้งใจ )ถูกต้องในทุกๆอาม้าล พยายามนึกก่อนทำอาม้าลและขณะทำอาม้าลว่าเรากำลังทำอาม้าลนี้เพื่อ อ.ล. (ซ.บ.)
3. ดุอาร้องไห้ เตาบะฮ์ อิสติคฟาร ขอให้อ.ล.(ซ.บ.)ประทานแก่นแท้ของอิคลาศให้กับเรา

6. มูญาฮาดะฮ์
จุดประสงค์ เพื่อต้องการเสียสละ ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินไปในหนทางของอ.ล. (ซ.บ.)ด้วยการฮิจเราะฮ์และนุสเราะฮ์
คุณค่า
1. บุคคลที่เมตตากับผู้ที่อยู่บนแผ่นดิน ผู้อยู่บนฟากฟ้าจะเมตตากับเขา
2. เช้าครู่หนึ่งหรือเย็นครู่หนึ่งในหนทางของ อ.ล.(ซ.บ.) ดีกว่าดุนยาและสรรรพสิ่งที่อยู่ในมันทั้งหมด
3. ทุกๆทรัพย์สินที่ใช้จ่ายไป ทุกๆซิเกร การตัสเบี๊ยะ ทุกๆอาม้าลในวิถีทางของ อ.ล. (ซ.บ.) จะได้รับผลบุญตดบแทน 700,000 เท่า
4. การดุอาของผู้พยายามในหนทางของ อ.ล.(ซ.บ.) จะถูกตอบรับเหมือนกับดุอาของบรรดานบี (อ.ล.) แห่งบนีอิสรออีล
5. อ.ล. (ซ.บ.)สัญญาจะซื้อตัวและทรัพย์สินของคนมุอ์มินด้วยสวนสวรรค์ของพระองค์
วิธีที่จะได้
1. ดะวะอ์เรียกร้องเชิญชวนไปสู่การเสียสละในหนทางของอ.ล.(ซ.บ.) อธิบายถึงคุณค่าความสำคัญของอ.ล. (ซ.บ.) อธิบายถึงคุณค่าความสำคัญของงานศาสนา เล่าถึงประวัติการทำงานศาสนาของบรรดานบี (อ.ล.) และบรรดาซอฮาบะฮฺ(ร.ฎ.)
2. ฝึกฝนตัวเองในการกุรบานเสียสละ เพื่อให้เราอยู่ในอาม้าลฮิจเราะฮ์และนุสเราะฮ์ในทุกสภาพการณ์ ซึ่งบรรดาซอฮาบะฮ์ (ร.ฎ.)พร้อมเพื่องานศาสนาในทุกๆสภาพการณ์ เวลาแต่งงาน เวลาส่งตัวเข้าเรือนหอ ในขณะที่มีการคลอดในบ้าน เวลามีคนเสียชีวิต ขณะร้อน ขณะหนาว ขณะหิว ขณะยากจนขัดสน ขณะสุขสบาย ขณะป่วยไข้ ขณะมีกำลัง ขณะอ่อนแอ ขณะเป็นหนุ่ม ขณะชราภาพ ก็เช่นเดียว
3. ดุอาร้องไห้ขอให้อ.ล.(ซ.บ.)ตอบรับการพยายามของเราด้วยเถิด
เพื่อให้เกิดบรรดาคุณลักษณะเหล่านี้ในการดำเนินชีวิตของเรา จำเป็นจะต้องตัชกีลทุกๆคน เสียสละชีวิต ทรัพย์สินของเขา ออกไปในหนทางของอ.ล.(ซ.บ.) 4 เดือน เพื่อทำดะวะอ์ เชิญชวนสู่ประการเหล่านี้พร้อมๆกับฝึกฝนตัวเองไปด้วย ออกไปพยายามประเทศต่อประเทศ ทวีปต่อทวีป กลุ่มชนต่อกลุ่มชน หมู่บ้านต่อหมู่บ้าน เมื่อกลับมาแล้วต้องพยายามสร้างอาม้าลให้เกิดขึ้น ทำอย่างไรให้ทุกๆมัสยิดมี 4 อาม้าลมัสยิด ดะวะอ์ ตะเล็ม อิบาดะฮ์ คิตมัต ด้วยการพยายามบน 5 อาม้าล คือ (1) ประชุมประจำวัน (2) ให้เวลาวันละ 2ชั่วโมงครึ่ง (3) ทำตะเล็มที่มัสยิดและที่บ้าน (4 ) ทำฆัส 1 เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมศาสนาในมัสยิดตัวเอง และฆัส 2 สร้างสิ่งแวดล้อมศาสนาในมัสยิดอื่น (5) จัดญามาอะฮ์ 3 วันออกจากมัสยิดของตัวเอง
(ทุกคน ที่ได้ยินที่นี่พร้อมที่จะไห้ความสำคัญและบอกต่อด้วย อิงชาอัลลอฮ์)















ความสำคัญของการทำงานในระบบญะมาอะฮ์ และสาเหตุของความแตกแยกในประชาคมมุสลิม

การทำงานในระบบญะมาอะฮ์ถือเป็นการทำงานในรูปองค์กรอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการทำงานที่ต้องอาศัยความเป็นเอกภาพของคนในกลุ่ม (วะห์ดะฮ์) การเคารพและเชื่อฟังผู้นำ (ตออะฮ์) รวมทั้งการปฏิบัติตามระเบียบวินัยของกลุ่มอย่างเคร่งครัด โดยที่คนในกลุ่มทั้งหมดมีเป้าหมายในการทำงานเหมือนกัน

การทำงานในระบบญะมาอะฮ์นี้ จำเป็น (วาญิบ) เหนือมุสลิมทุกคน เพราะมุสลิมคือผู้ดำรงชีวิตอยู่โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การทำความดีเพื่อให้อัลลอฮ์ (ซุบหานะฮ์) ทรงพอพระทัย เรียกว่าเป็นการอิบาดะฮ์ ซึ่งในการบรรลุสู่เป้าหมายนี้ มุสลิมทุกคนจะต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เรียกกลุ่มก้อนนี้ว่า “ญะมาอะฮ์” หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นประชาคมมุสลิมนั่นเอง

ที่บอกว่าจำเป็น เพราะองค์อัลลอฮ์พระผู้เป็นเจ้า ได้ทรงบัญญัติไว้ใน อัลกุรอาน ซูรอฮ์ อาล อิมรอน อายะฮ์ที่ 103 ว่า

واعتصموا بحبل الله جميعا ولا تفرقوا ... الآيةْ} آل عمران : 103}

“จงยึดมั่นอยู่กับสายเชือกแห่งอัลลอฮ์อย่างพร้อมเพรียงกันเถิด และจงอย่าแตกแยกแบ่งฝ่าย...”

เราสามารถพิจารณาหาเหตุผลที่ทรงบัญญัติเช่นนั้นได้ อย่างน้อยก็คือระบบญะมาอะฮ์ย่อมช่วยให้เกิดความเข้มแข็งได้เป็นอย่างดี เนื่องจากคนในระบบนี้จะช่วยเติมเต็มจุดอ่อนต่าง ๆ ของกันและกันได้ ต้องไม่ลืมว่าคนเราแต่ละคนได้รับพรจากอัลลอฮ์ (มาวฮิบะฮ์) ไม่เหมือนกัน ในขณะที่มีความถนัดด้านหนึ่ง แต่ก็มีจุดอ่อนอีกด้านหนึ่งทุกคนไป ความเป็นญะมาอะฮ์จะช่วยเสริมเติมเต็มจุดอ่อนเหล่านี้ได้ ขณะที่ความแตกแยกจะทำให้จุดอ่อนทั้งหลายยิ่งแผ่ขยายมากขึ้น

อีกประการหนึ่ง ต้องไม่ลืมว่าโลกเรานี้คือสนามการต่อสู้ระหว่างความดีกับความชั่ว หรืออิสลามกับกุฟร์ แม้ไม่มีการต่อสู้ในรูปแบบที่ใช้กำลังอาวุธยุทโธปกรณ์ แต่การต่อสู้ทางความคิดและวัฒนธรรมกลับดำรงอยู่ตลอดเวลา ธรรมชาติของการต่อสู้ ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้เชิงกายภาพหรือการต่อสู้ทางความคิด ผู้ที่อ่อนแอกว่ามักพ่ายแพ้ และตกเป็นเหยื่อของผู้แข็งแรงกว่าเสมอ นั่นเป็นวิถีแห่งอัลลอฮ์ที่ทรงกำหนดเหนือชีวิตและจักรวาล ซึ่งเราทุกคนไม่มีทางหลีกเลี่ยง

سنة الله التي قد خلت من قبل ولن تجد لسنة الله تبديلاْْ} الفتح : 23}

“นั่นเป็นวิถีแห่งอัลลอฮ์ซึ่งได้ล่วงผ่านมาก่อนแล้ว และเจ้าจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง/ทดแทนวิถีแห่งอัลลอฮ์ได้”

ขณะที่ความพ่ายแพ้ในสงครามอาวุธอยู่ในรูปของซากศพ การบาดเจ็บล้มตาย การตกเป็นเชลย หรือการถูกยึดครองดินแดน ความพ่ายแพ้ในสงครามความคิดกลับปรากฏในรูปของการสูญสิ้นอัตลักษณ์ การดำเนินชีวิตตามวัฒนธรรมของผู้ชนะ ละทิ้งวัฒนธรรมของตนเอง และการต้องพึ่งพาปัจจัยต่าง ๆ จากผู้ชนะ เป็นต้น ถ้าพินิจดูสังคมมุสลิมปัจจุบันให้ดี เราจะพบว่าวัฒนธรรมอิสลามหลายประการสูญหายไปจากสังคม แต่ผู้คนหันไปใช้วัฒนธรรมวัตถุนิยมตามแบบฉบับของโลกตะวันตกแทน นับเป็นสิ่งที่สะท้อนความพ่ายแพ้เชิงความคิดได้อย่างชัดเจน และหากเหตุการณ์ยังดำเนินต่อไปเช่นนี้ ไม่นานอิสลามก็ย่อมหายไปจากชีวิตผู้คน ซึ่งนั่นก็คือการล่มสลายทางอัตลักษณ์ของมุสลิมนั่นเอง

หากต้องการรักษาอิสลามไว้กับตัว และลาจากโลกนี้ไปในฐานะมุสลิมคนหนึ่ง เราจึงต้องคำนึงถึงความเป็นญะมาอะฮ์ให้มาก ด้วยว่าความเป็นญะมาอะฮ์เปรียบเหมือนบ้านหลังใหญ่ มั่นคงและแข็งแรง สามารถปกป้องภยันตรายต่าง ๆ ให้แก่ผู้อาศัยภายในได้ ทั้งนี้เพราะมือที่โอบบ้านหลังนี้ไว้ เป็นมือที่ทรงพลานุภาพสูงสุด ไม่มีอำนาจใดมาทำให้พ่ายแพ้ได้ คือ หัตถ์แห่งอัลลอฮ์ผู้เป็นเจ้า ดังคำของนบีมุหัมมัด (ขอความสุขสวัสดิ์จากอัลลอฮ์จงบังเกิดแก่ท่าน) ดังนี้

عن ابن عباس – رضي الله عنهما – قال : قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : (إن الله لا يجمع أمتي على ضلالة، ويد الله مع الجماعة، ومن شد شد إلى النار)
رواه أبو داود في الفتن والملاحم، والترمدي في الفتن

“แท้จริง อัลลอฮ์จะไม่ทรงรวบรวมประชาชาติของฉันให้อยู่บนความหลงผิด หัตถ์ของพระองค์จะอยู่ร่วมกับญะมาอะฮ์ และผู้ใดที่กระทำการแปลกแยกออกไป เขาก็แปลกแยกไปสู่นรก”

หากถามว่า “ญะมาอะฮ์” คืออะไร ก็อาจพบคำตอบหลากหลายจากบรรดาปวงปราชญ์ แต่เมื่อสรุปเอาความแล้ว ญะมาอะฮ์ คือ การรวมกลุ่มรวมตัวของมุสลิมส่วนใหญ่ โดยมีผู้นำที่ได้รับความเห็นชอบ ทำหน้าที่บริหารจัดการสังคม ให้ดำเนินไปตามอุดมการณ์อิสลาม ซึ่งมีหลักใหญ่คืออัลกุรอานและซุนนะฮ์

สงครามวัฒนธรรมก็เฉกเช่นเดียวกับสงครามอาวุธ จำเป็นต้องอาศัยกำลังพลในการต่อสู้ ยิ่งมีมากก็ยิ่งเพิ่มความเข้มแข็งมาก แต่กำลังพลที่มีจำนวนมากอาจไม่มีความหมายอะไร หากเป็นกำลังที่อ่อนแอ หรือแม้จะเป็นกำลังพลเข้มแข็ง แต่หากไร้ผู้นำ ก็ย่อมไม่อาจเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้

ควรระลึกไว้ด้วยว่า วิถีวัฒนธรรมนี้ถูกกำหนดให้ดำเนินไปโดยไม่เลือกปฏิบัติ แต่มันจะลุล่วงไปตามวิถีที่ถูกกำหนด ไม่ว่ากับมุสลิมหรือมิใช่มุสลิมก็ตาม ซึ่งโดยนัยนี้ หากกาฟิรมีการรวมตัวที่เข้มแข็ง ก็ย่อมสามารถเอาชนะมุสลิมที่ขาดการรวมตัวได้ แม้มุสลิมจะมีจำนวนที่มากกว่าก็ตาม และโลกมุสลิมปัจจุบันก็เป็นตัวชี้ประเด็นนี้ได้ดี

ความอ่อนแออย่างสำคัญของมุสลิมในปัจจุบันเกิดจากภาวะไร้ความเป็นญะมาอะฮ์ตามนิยามที่กล่าวถึงข้างต้น แต่เต็มไปด้วยการแตกแยก แบ่งฝ่าย ชิงดีชิงเด่น ซึ่งหากจะถามถึงสาเหตุ ก็อาจสรุปอย่างรวบรัดแต่ได้ใจความ ตามแบบของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ มุหัมมัด (ขอความสุขสวัสดิ์จากอัลลอฮ์จงบังเกิดแก่ท่านด้วยเทอญ) เมื่อครั้งที่ท่านเตือนสติประชาชาติอิสลามให้ระมัดระวังความลุ่มหลงโลกไว้ว่า

فوالله ما الفقر أخشى عليكم، ولكن أخشى عليكم أن تبسط عليكم الدنيا كما بسطت على من كان قبلكم، فتنافسوا فيها كما تنافسوها ، فتهلككم كما أهلكتهم
(رواه البخاري الرقم : 3158)

“ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ฉันมิได้ห่วงเลยว่าพวกท่านจะยากจน แต่ฉันห่วงว่าโลกจะถูกปูลาดให้แก่พวกท่าน เหมือนที่มันเคยถูกปูลาดให้แก่ประชาชาติก่อน ๆ มาแล้ว แล้วพวกท่านจะแก่งแย่งแข่งขันกันสวาปามโลก เหมือนที่พวกก่อนหน้าเคยแข่งขัน แล้วมันก็จะทำลายพวกท่าน ดุจเดียวกับที่เคยทำลายพวกก่อนหน้ามาแล้ว”

เหตุใดสภาวะความลุ่มหลงโลกจึงทำลายประชาชาติหนึ่ง ๆ ได้ ?

เมื่อโลกกลายเป็นเป้าหมายในการดำรงชีวิต คนเราก็ย่อมทุ่มเทและเสียสละทุกสิ่งได้ เพื่อเป้าหมายของตนเอง น่าเศร้าก็ตรงที่การทุ่มเทชีวิตเพื่อความสุขทางโลกถ่ายเดียว ไม่ได้นำมาซึ่งความสำเร็จและความสุขอันยั่งยืนแก่คนเราเลย หากแต่นำมาซึ่งความแห้งแล้งของจิตใจ การทำลายล้าง และการแตกแยกแบ่งฝ่ายมิสิ้นสุด เพราะในความเป็นจริง ชีวิตโลกวนเวียนอยู่กับความสุขไม่กี่ประการ ได้แก่
ความสุขจากการเสพรูป รส กลิ่น เสียง และการละเล่นต่าง ๆ
ความสุขจากการครอบครองทรัพย์สิน
ความสุขจากการเถลิงอำนาจ
รูป รส กลิ่น เสียงและการละเล่นต่าง ๆ มิใช่ความชั่วช้าที่บุคคลพึงหลีกเลี่ยงตัดขาด แต่การเสพอย่างลุ่มหลงต่างหากที่เป็นบ่อเกิดของความชั่วร้าย ความลุ่มหลงต่อรูป รส กลิ่น เสียง มักทำให้คนเราละเลยการใช้สติปัญญา แต่จะกระทำการต่าง ๆ เพื่อมุ่งตอบสนองกิเลส ตัณหา อารมณ์เป็นหลัก เมื่อมีคนแบบนี้มาก ๆ ในสังคมหนึ่ง ๆ จะทำให้การแสวงหาความรู้กลายเป็นสิ่งเล็กน้อยกระจ้อยร่อย ไร้ความสำคัญ เพราะเวลาของคนส่วนใหญ่มักหมดไปกับการหาความบันเทิงเริงรมย์นั่นเอง แม้อาจมีผู้ศึกษาร่ำเรียนอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นไปเพื่อแสวงหา ไขว่คว้าปัจจัยอันจะทำให้ตนได้เสพสมตามอารมณ์ปรารถนา มากกว่าจะแสวงหาความรู้เพื่อนำชีวิตสู่ความดีงาม

สังคมที่ผู้คนใช้อารมณ์มากกว่าความคิดและสติปัญญา จึงเกิดความแตกแยก แบ่งฝ่ายได้ง่าย เนื่องจากขาดความรู้ที่ช่วยให้ตระหนักถึงความสำคัญของญะมาอะฮ์ ผู้รู้ที่มีอยู่ก็กลายเป็นผู้รู้ที่มุ่งเน้นเผยแพร่แต่เฉพาะความรู้ในมิติของปัจเจกบุคคล แต่ไม่ให้น้ำหนักกับความรู้ที่ทำให้เกิดเอกภาพในสังคม การเน้นมิติของปัจเจกมากเกินไป นำสู่ความขัดแย้งในหมู่ผู้รู้กันเอง และต่างแข่งขันกันเพื่อสร้างความโดดเด่นแก่ตน โดยไม่สนใจว่าสังคมจะแตกสลายอย่างไร ขณะที่คนส่วนใหญ่ซึ่งเบื่อหน่ายการหาความรู้ ก็ถูกชักจูงได้ง่าย ลุ่มหลงต่อตัวบุคคลที่ตัวเองนับถือ และยึดมั่นต่อสถาบันที่ตนเองศึกษา มากกว่าจะรู้จักใคร่ครวญ หาความถูกต้อง ด้วยการใช้สติปัญญาที่มีอยู่ในตัว ที่สุดแล้ว ระบบการปกครองในสังคมแบบนี้จะย่อหย่อน อ่อนแอ และล้มเหลว เป็นสังคมที่ผู้คนใช้ชีวิตตามอำเภอใจ เต็มไปด้วยการแข่งขัน แก่งแย่ง และมุ่งทำลายคู่แข่ง โดยไม่มีใครเชื่อฟังใคร

ทรัพย์สิน

หลายครั้งในหลายครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่พี่น้อง ขาดสะบั้นลง เพราะการยื้อแย่งทรัพย์สิน หากในครอบครัวยังเกิดเหตุเช่นนี้ได้ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนในสังคมจะทะเลาะกัน ด้วยเหตุจากความต้องการครอบครองทรัพย์สิน สังคมที่ทรัพย์สินเป็นใหญ่ จะทำให้การสร้างญะมาอะฮ์มีความยากลำบาก เพราะปัจเจกแต่ละคนจะคิดถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตน ขาดการเป็นผู้ให้ ไม่มีเวลาและจิตใจที่จะทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่จะร่วมในกิจกรรมที่มีผลตอบแทนเป็นวัตถุเท่านั้น หรือแม้จะเข้าร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวมบ้าง แต่คนเหล่านี้พร้อมจะละทิ้งสังคมชุมชนของตนเองไป หากมีที่ใหม่ที่ให้ผลตอบแทนเชิงวัตถุสูงกว่า ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ญะมาอะฮ์ไม่เกิด ที่มีอยู่ก็อ่อนแอเกินกว่าจะดำรงรักษาคุณค่าแห่งวัฒนธรรมอิสลามเอาไว้ในชุมชนได้

ญะมาอะฮ์ของมนุษย์ ก็เปรียบได้ดั่งชีวิตมนุษย์ ชีวิตหนึ่ง ๆ จะดำรงอยู่ได้ ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยการให้ทั้งสิ้น เริ่มตั้งแต่การให้สูงสุดจากองค์อัลลอฮ์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้ ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เรา และทรงให้ทางนำแก่เรา ปราศจากการให้ของพระองค์ ไหนเลยเราจะมีชีวิตดังที่เห็นและเป็นอยู่ ถัดมาก็เป็นการให้ของพ่อแม่ ญาติมิตร ครูบาอาจารย์ และสังคมส่วนรวม ปัจเจกดำรงอยู่ได้ เพราะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมใหญ่ ซึ่งจะดำเนินไปได้ก็เพราะมีการให้ และการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันของปัจเจกอยู่ตลอดเวลา

โดยนัยนี้ เราจึงเข้าใจได้ว่า ปราศจากการให้ของอัลลอฮ์ ไม่มีการให้ของพ่อแม่ คนเราอยู่ไม่ได้ฉันใด ปัจเจกที่ต่างคนต่างอยู่ และไม่รู้จักการให้ ย่อมทำให้สังคมดำรงอยู่ไม่ได้ฉันนั้น พ่อแม่ที่ไม่สามารถให้อาหารที่เป็นประโยชน์แก่ลูก อาจเป็นสาเหตุให้ลูกเป็นโรคขาดสารอาหาร ผอมแห้ง แรงน้อยได้ฉันใด ปัจเจกที่เห็นแก่ตัวก็จะทำให้สังคมเต็มไปด้วยโรคร้ายฉันนั้น ความชั่วช้าเลวทรามทั้งหลายที่ดำรงอยู่ในสังคม และกัดเซาะ บ่อนเบียนความดีไปเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากความเห็นแก่ตัวของคนเราทั้งสิ้น และโรคร้ายอย่างหนึ่งที่ทำให้สังคมอ่อนแอจนไม่อาจปกป้องตนเองจากความชั่วต่าง ๆ ได้ก็คือ ความแตกแยก

ผู้ที่มีความโลภต่อทรัพย์สินมาก จะสร้างผลกระทบเชิงลบต่อญะมาอะฮ์ได้อย่างน้อยใน 2 กรณี คือ หากผู้นั้นทำงานในระบบองค์กรอยู่ก่อนแล้ว เขาอาจทิ้งองค์กรไป หรือไม่ก็ทำให้องค์กรเสียหาย ด้วยการทุจริต คอร์รัปชั่น ทำลายระบบระเบียบต่าง ๆ ขององค์กร ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน และเสี่ยงต่อการเกิดความแตกแยกภายใน เพราะคนที่ทำเช่นนี้ย่อมไม่มีความภักดีต่อองค์กรของตนเองอย่างแท้จริง เขาอยู่ในองค์กรได้ ตราบเท่าที่ผลประโยชน์ของตนเองไม่กระทบ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าตนเสียผลประโยชน์ เขาจะไม่เชื่อฟังผู้นำองค์กร แต่จะก่อการขบถ จนองค์กรไม่สามารถทำงานได้ เพียงเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น

กรณีที่สองคือ คนแบบนี้จะไม่มีหัวจิตหัวใจให้แก่การทำงานอันเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมเลย มองการทำงานเพื่อส่วนรวมเป็นเรื่องเล็ก การอาชีพของตนเป็นเรื่องใหญ่ คนแบบนี้จะทำให้ญะมาอะฮ์ไม่เกิด ที่มีอยู่ก็อ่อนแอเกินกว่าจะทำหน้าที่อันสมควรได้ เรื่องนี้มีตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ องค์กรมัสยิดในปัจจุบัน ซึ่งไม่มีสภาพของการอิมารอฮ์ เพราะผู้คนต่างมุ่งกอบโกยทรัพย์สินเพื่อตนเอง ไม่มีเวลาคิดถึงมัสยิด ไม่มีการให้แก่มัสยิด และมองการให้ว่าเป็นสาเหตุของความเสื่อมถอย ทำให้องค์กรมัสยิดขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ ไม่สามารถส่งเสริมความดีได้อย่างเต็มที่ และแน่นอนไม่อาจปกป้องชุมชนจากความชั่วร้ายได้แม้แต่น้อย เมื่อเกิดความแตกแยกขึ้นในชุมชน มัสยิดก็ไม่อาจประสานรอยร้าวได้ เพราะตนเองก็เอาตัวไม่รอด จะสร้างคนดีแก่สังคม ก็ทำได้ไม่เต็มที่ เพราะไม่สามารถจัดการศึกษาที่ดีได้ด้วยตนเอง เนื่องจากขาดเงินทุนในทุก ๆ ด้าน ครั้นคนทั้งหลายไม่คิดใช้จ่ายเพื่อสิ่งดี ๆ เช่นนี้ คนดีที่คาดหวังอยากได้ก็ย่อมไม่มีให้เช่นกัน

เมื่อมัสยิดไม่สามารถเป็นศูนย์รวมจิตใจของคน สังคมก็อ่อนไหวต่อผลประโยชน์ทางโลก โดยไม่มีอะไรฉุดรั้งได้ การแข่งขันทางโลก ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่เปราะบางระหว่างผู้คน มีการเอารัดเอาเปรียบกันมากขึ้น และพร้อมที่จะทำลายคนอื่น หากทำให้ตนร่ำรวยกว่าเดิม นี่เป็นที่มาสำคัญของความแตกแยกที่เกิดขึ้นดาษดื่นในสังคมมุสลิมปัจจุบัน

อำนาจ

คนที่ลุ่มหลงโลก มักหนีไม่พ้นการแสวงหาอำนาจ เพื่อค้ำยันผลประโยชน์ของตน หรือเพื่อสร้างบารมี ความมีหน้ามีตา หรือเพื่อให้อำนาจนั้นช่วยคุ้มครองผลประโยชน์ของตน

การแสวงหาอำนาจทำให้เกิดการแข่งขัน แย่งชิง จนสูญเสียความเป็นพี่น้องและสัมพันธภาพอันดีไป ก่อเกิดความแตกแยกเข้ามาแทนที่ ดังการแข่งขันเพื่อแย่งชิงตำแหน่งทางการเมืองในปัจจุบัน ทั้งในระดับท้องถิ่น หรือระดับชาติ ขณะที่คนได้ตำแหน่งระเริงกับอำนาจ คนที่พลาดหวังก็จ้องทำลายล้างตลอดเวลา พวกเขาสร้างความแตกแยกขึ้นในหมู่ชน ด้วยการสร้างกระแสแบ่งแยก ทั้งโดยการใช้ความเป็นชาตินิยม ภูมิภาคนิยม สภาบันนิยม หรือพรรคนิยม จนเกิดเป็นอุปาทานและค่านิยมหลงผิดในหมู่ผู้ไร้อำนาจ ซึ่งพยายามวิ่งเข้าหาผู้มีตำแหน่งแห่งหน โดยหวังว่าตนจะมีที่พึ่งพิงอันมั่นคง ทั้ง ๆ ที่อำนาจได้มาแล้วก็เสื่อมไป ไม่มีความยั่งยืนอันใดเลย

การแอบอิงอยู่กับผู้มีอำนาจทางการเมือง ทำให้หลายคนไม่สนใจคำสอนของศาสนา มองศาสนาเป็นเรื่องชายขอบ ไม่ใช่สิ่งสลักสำคัญ ซึ่งก็เป็นไปตามวาทกรรมโลกนิยมที่พยายามแยกศาสนาออกจากวิถีชีวิต ส่งผลไปสู่การมองตนเองว่ายิ่งใหญ่ ไม่ให้เกียรติกับผู้นำศาสนา เพราะคิดว่าผู้ที่จะช่วยตนได้ ต้องเป็นฝ่ายการเมืองเท่านั้น พวกเขาไม่ได้ใส่ใจเรียนรู้อิสลาม คิดว่าอิสลามก็เป็นเช่นศาสนาอื่น ๆ ที่มุ่งเรื่องการขัดเกลาจิตวิญญาณเท่านั้น จึงไม่มีความเข้าใจว่าอำนาจที่แท้จริงเป็นของอัลลอฮ์พระผู้เป็นเจ้า การยึดถือสิ่งอื่นใดเป็นผู้ทรงอำนาจ บันดาลความสำเร็จหรือล้มเหลวแก่ตนได้ เป็นลักษณะของผู้ปฏิเสธอัลลอฮ์ ซึ่งนับวันจะยิ่งมีอำนาจต่าง ๆ เข้ามาบงการชีวิตมากขึ้น จนดูสับสนวุ่นวาย

ขณะที่ผู้มีอำนาจใช้อำนาจโดยขาดหลักคุณธรรมกำกับ ข้างฟากประชาชนก็ขาดการรวมตัวที่ดี การพัฒนาทุกด้านต้องรอรับความช่วยเหลือเจือจานจากนักการเมืองและข้าราชการ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของตัวเองได้ ครั้นเมื่อนักการเมืองเองขาดจิตสำนึกของคุณงามความดี พวกเขาจึงไม่สามารถเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปในสังคมได้ ในที่สุด สังคมจึงขาดภูมิคุ้มกัน https://www.facebook.com/bud.lanta
 
 
 
 
 
เจ็ดหุรุฟอะลีฟในอัลกุรอานที่มีเครื่องหมายวงรีอยู่ด้านบน
....................
ทั้งนี้ ปกติ อะลีฟ จะเป็นมัด ซึ่งจะออกเสียงยาวสองหะรอหะฮฺ แต่ในกรณีในรูปนี้(เจ็ดที่นี้) ตัวอะลีฟจะไม่ทำงาน และจะอ่านแค่หรือหะรอกะฮ์ หมายถึงไม่มีมัดนั้นเอง
ตัวอย่างแรก อะนะ (ไม่ใช่อานาา) ลากินะ (ไม่ใช่ลากินนาา) เป็นต้น
........(.เรียนรู้ตัจวีดและอัลกุรอาน)......
 
 
 
 
อินนา และเพื่อนร่วมทีม
...............................
อินนา และเพื่อนร่วมทีม เป็นหุรูฟ นาซิเคาะฮ์
มี อินนา/ กะอันนา/ลัยตา/ละอัลา
งานของมัน คือ นะศับอิซมฺของมัน(เดิมเป็นมุบตะดอฺ) และเราะฟูอฺ หะบัรของมัน
ตัวอย่างดูในรูป

https://www.facebook.com/zubi.deemanop?fref=pb&hc_location=profile_browser#!/groups/143558439036627/
           เรียนภาษาอาหรับ تعلّم اللغة العربية

 


วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556



ลิงค์เว็บเราครับ


 
 
 
ลิงค์ของเว็บตามลำดับ
 
 
 
 
 

myspace analyzer
free-counter-plus.com


Flag Counter

Flag Counter