อิสลามกับความจริงที่ต้องรู้

                                                   อิสลามกับความจริงที่ต้องรู้
ศาสนาอิสลาม
หลักธรรมคำสั่งสอนของศาสนาอิสลาม ประกอบด้วยหลักสำคัญ 2 ประการ คือหลักศรัทธา 6 และหลักปฏิบัติ 5 กล่าวพอสังเขปได้ดังนี้

หลักศรัทธา 6 ประการ ได้แก่
1. ศรัทธาในพระอัลลอฮ ฺ(ซบ.) มุสลิมเชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียวเป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ไม่มีรูปร่างที่ตาธรรมดาจะมองเห็นได้ ทรงมีสภาวะเป็นนิจนิรันดร์ ทรงรู้ทุกสิ่งสามารถทำทุกสิ่ง และทรงพระเมตตาหาที่สุดมิได้ พระองค์จะพิพากษามนุษย์ในวันสุดท้ายตามความดีความชั่วที่ แต่ละคนได้ทำไว้ มุสลิมจะสักการะบูชาสิ่งอื่นใดนอกจากพระอัลลอฮฺมิได้

2. ศรัทธาในบรรดามลาอีกะฮ ์(เทวทูต) มลาอีกะฮ์ คือ ผู้รับใช้พระเจ้ามีจำนวนมาก มีหน้าที่ต่าง ๆ กัน เป็นวิญญาณที่ปกติจะมองไม่เห็น มุสลิมต้องเชื่อว่ามลาอีกะฮ์มีจริง บางครั้ง มลาอีกะฮ์ก็ทำหน้าที่เหมือนทูต เช่น ญิบรออีลซึ่งทำหน้าที่นำโองการครั้งแรกมาให้แก่ท่านศาสดา มูฮัมมัด (ซล.) (ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม)

3. ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ พระเจ้าของศาสนาอิสลามนั้น เป็นพระเจ้าองค์เดียวกันกับ ศาสนายูดายและคริสต์ ก่อนหน้านี้พระเจ้าได้ประทานคัมภีร์แก่มนุษย์ผ่านศาสดาต่าง ๆ มาแล้ว 104 คัมภีร์ รวมทั้งคัมภีร์ของศาสนายูดายและศาสนาคริสต์ด้วย มุสลิมต้องศรัทธาคัมภีร์ทั้งหมด แต่ให้ถือว่า อัล-กุรอาน เป็นคัมภีร์สุดท้ายและสมบูรณ์ที่สุดที่พระเจ้าประทานให้แก่มนุษยชาติ

4. ศรัทธาในศาสนทูต ศาสนทูตหรือรอซูล คือ มนุษย์ธรรมดาที่พระเจ้าทรงเลือกขึ้นมา เพื่อนำคำสอนของพระองค์มาประกาศแก่มนุษย์มุสลิม เชื่อว่าท่านนบีมูฮัมมัดเป็นศาสดาองค์ สุดท้าย ที่พระเจ้าให้นำคำสอนที่สมบูรณ์ที่สุดมาประกาศสั่งสอนแก่มวลมนุษย์

5. ศรัทธาในวันพิพากษา มุสลิมเชื่อว่าโลกเรานี้จะต้องถึงวัน ๆ หนึ่ง ซึ่งเป็นกาลอวสาน ของสิ่งทั้งหลาย ทุกชีวิตที่ตายไปแล้วจะบังเกิดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อรับการพิพากษาตามความดีความชั่ว ที่ตนได้กระทำไว้

6. ศรัทธาในกฎสภาวะของพระเจ้า มุสลิมเชื่อว่าพระเจ้าได้ลิขิตกฎไว้โลกและมนุษย์แล้ว ทุกคนเป็นอิสระว่าจะเลือกทำอย่างไร เช่น ถ้าอยากได้รับการยกย่องสรรเสริญได้รับเกียรติ ก็ต้องประพฤติตนเป็นมุสลิมที่ดี ต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น หรือถ้ามีใครประพฤติตนเป็นขโมย ก็ต้องเชื่อมั่นว่าในไม่ช้าก็ต้องถูกจับตัวไปลงโทษ ถึงแม้ว่าการทำผิดบางอย่างไม่มีใครรู้เห็นกฎหมาย เอาผิดไม่ได้ แต่การกระทำนั้นหาได้รอดพ้นจากการรับรู้ของพระเจ้าไม่ และในที่สุดเขาก็จะได้รับ การลงโทษตามความผิดนั้น ในทางตรงข้าม เมื่อเลือกทำดีที่สุดแล้วก็ต้องศรัทธาในพระเจ้าว่า พระองค์จะรับรู้และให้ความเป็นธรรมแก่ตน


หลักปฏิบัติ 5 ประการ

1. การปฏิบัติตน
มุสลิมต้องกล่าวคำปฏิญาณว่า “ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้า อื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริงมูฮัมมัดคือศาสนทูต (รอซูล) ของอัลลอฮฺ” การปฏิญาณ ต้องทำเสมอเมื่อนมัสการพระเจ้า

2. การละหมาด คือ การนมัสการ หรือการแสดงความภักดีต่อพระจ้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ มุสลิมทุกคนไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามต้องปฏิบัติละหมาดวันละ 5 เวลา คือ เวลาย่ำรุ่ง กลางวัน เย็น พลบค่ำ และกลางคืน ก่อนปฏิบัติละหมาดต้องรวมจิตใจให้บริสุทธิ์ ชำระล้างร่างกายให้สะอาดด้วยน้ำ การละหมาดจะทำที่ใดก็ได้แต่ต้องเป็นที่ ๆ สะอาด และไม่เป็นที่ต้องห้ามตามหลักการของศาสนา อิสลาม การละหมาดจะกระทำคนเดียวก็ได้ หรือทำรวมกันหลาย ๆ คนก็จะเป็นการดี ในวันศุกร์ มุสลิมโดยเฉพาะผู้ชายจะต้องไปละหมาดร่วมกันที่มัสยิด ซึ่งเป็นศาสนสถานของมุสลิม ในการ ละหมาดมุสลิมทั่วโลกจะต้องหันหน้าไปทางเมืองเมกกะ

3. การถือศีลอด หมายถึง การละเว้นจากการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาส ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งถึงเวลาพระอาทิตย์ตกดิน มุสลิมต้องถือศีลอดปีละ 1 เดือน คือ ในเดือนรอมฎอน ตามปฏิทินอิสลาม ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องถือศีลอด ได้แก่ คนชรา หญิงมีครรภ์ หญิงแม่ลูกอ่อน คนที่ต้องทำงานหนัก คนเดินทางไกล ผู้หญิงขณะมีรอบเดือน หรือหลังคลอด คนป่วย แต่เมื่อพ้นสภาวะดังกล่าว เช่น หายป่วยก็ให้ถือศีลอดชดเชยตามจำนวน วันที่หยุด ก่อนที่จะถึงเดือนถือศีลอดของปีถัดไป การถือศีลอดเป็นการฝึกฝนร่างกายและจิตใจ ให้มีความอดทน ให้รู้ความหิวโหยนั้นจริง ๆ เป็นอย่างไรจะได้เห็นใจผู้ยากไร้ เป็นการควบคุมตนเอง ให้พ้นจากอำนาจฝ่ายต่ำ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์

4. การบริจาคซะกาด หมายถึง การบริจาคทาน บังคับจากผู้มีทรัพย์สิน มุสลิมทุกคนต้อง สำรวจทรัพย์สินหมุนเวียนของตนในทุกรายป ีและจะต้องจ่ายเป็นศาสนพลีในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปีของเงินเหลือที่สะสมไว้ เป็นการช่วยเหลือผู้ยากไร้ สิ่งที่ต้องจ่ายเป็นซะกาด ได้แก่ ทองคำและเงินที่จ่าย รายได้จากปศุสัตว์ รายได้จากพืชผล รายได้จากธุรกิจการค้า ขุมทรัพย์ ซะกาดเหล่านี้จะต้องจ่ายแก่ผู้มีสิทธิ์รับบริจาค ได้แก่ คนอนาถา คนขัดสนหากินไม่พอใช้ ผู้รวบรวม ซะกาดที่ทางการแต่งตั้งขึ้น ผู้ที่เพิ่งเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม ทาสที่หาเงินเพื่อไถ่ตัวเอง ผู้ที่มีหนี้สินเพราะทำงานส่วนรวม ผู้ธำรงและเผยแผ่ศาสนาอิสลาม ผู้ที่เดินทางไปในหนทางที่ ศาสนาอนุมัติและขาดเงินที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง การบริจาคซะกาดเป็นข้อบังคับ เป็นบทบัญญัติที่ต้องปฏิบัติ

5. การประกอบพิธีฮัจญ์ มุสลิมทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงต้องเดินทางไปบำเพ็ญฮัจญ ์ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอารเบีย อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต ทั้งนี้หากมีความสามารถ ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ พิธีฮัจญ์ไม่ได้บังคับให้มุสลิมต้องกระทำ แต่ให้ถือเป็นหลักปฏิบัติสำหรับ ผู้ที่มีความพร้อมและมีความสามารถการบำเพ็ญฮัจญ์นั้นเป็นเครื่องวัดความอดทน และความเสียสละ ของแต่ละคนในหนทางของพระเจ้า และเพื่อเป็นการประกาศสัตยาบันต่อพระเจ้า


มัสยิดกรือเซะ

เชื่อว่าสร้างในสมัยสุลต่านมุซัฟฟาร์ ชาห์ (พ.ศ.2073-2107) ตามคำแนะนำของ ชัยค ซอฟียุดดิน ผู้รู้ในศาสนาอิสลามในสมัยนั้น พระองค์จึงทรงรับสั่งให้สร้างมัสยิดขึ้น 2 แห่ง คือในตัวเมือง 1 แห่ง และที่ท่าเรืออีก 1 แห่ง มัสยิดในตัวเมืองในสมัยนั้นเรียกว่า “มัสยิดปินตู เกิรบัง” (มัสยิดประตูเมือง) สร้างบริเวณหน้าพระลานตรงตำแหน่งที่ตั้งของมัสยิดกรือเซะใน ปัจจุบัน ส่วนอีกหลังหนึ่งที่สร้างที่ท่าเรือนั้น ปัจจุบันคือมัสยิดดาโต๊ะ ตั้งอยู่ที่สะบารังตันหยง หรือแหลมฝั่งตรงข้ามกับเมืองปัตตานี เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มัสยิดดารุล-นาอีม เป็นมัสยิดที่มีความ สำคัญต่อพ่อค้านักเดินเรือที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นอย่างมาก ในอดีตมัสยิดดาโต๊ะได้รับการขึ้น ทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ.2478 และได้รับการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง ในปี พ.ศ.2539 กรมศิลปากรได้บูรณะครั้งสำคัญ ปัจจุบันจึงยังคงสภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ส่วนมัสยิดกรือเซะ นั้นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ.2478 เช่นกัน มีการบูรณะหลายครั้ง และ กำลังจะได้รับการปรับปรุงอีกครั้งให้สามารถปฏิบัติกิจทางศาสนาได้ตามความต้องการของชุมชน โดยคงสภาพโบราณสถานไว้เช่นเดิม


ปืนพญาตานี

เป็นปืนใหญ่โบราณ หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ลำกล้องเรียบ บรรจุกระสุนทางปากกระบอก ใช้ ดินดำเป็นดินระเบิดและจุดชนวนด้วยการจุดดินระเบิด ขนาดของปืนยาว 3 วา 1 ศอก 2.5 นิ้ว ใช้กระสุนขนาด 11 นิ้ว การยิงแต่ละครั้งจะต้องบรรจุดินปืนหนัก 15 ชั่ง สามารถยิงไกลประมาณ 1,460-1,800 เมตร ตามประวัติการสร้าง ในหนังสือ Sejarah Korajaan Melayu Patani ของ Ibrahim Syukri (1985 : 40-43) ระบุว่าสร้างในสมัยรายาบีรู (พ.ศ.2159-2167) ในการหล่อ ปืนใหญ่ครั้งนั้น ชาวจีนชื่อลิ่มโต๊ะเคี่ยม เป็นช่างหล่อปืนให้ตามประสงค์ของรายา ได้ปืนใหญ่ครั้งนั้น 3 กระบอก คือเสรีปัตตานีหรือพญาตานี ศรีนคราหรือเสรี นคร และมหาเลลา ทั้ง 3 กระบอกได้ติดตั้งไว้บน รถลากและได้ใช้เป็นอาวุธป้องกันเมืองปัตตานีหลายครั้งในเวลาต่อมา จนกระทั่งปี พ.ศ.2329 สมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ได้โปรดให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลนำ ไปไว้ที่กรุงเทพฯ และตั้งอยู่ที่หน้ากระทรวงกลาโหมมาจนทุกวันนี้

ปืนพญาตานี เป็นประติมากรรมหล่อด้วยโลหะที่มีชื่อเสียง เป็นที่เลื่องลือมาตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นผลงานชิ้นสำคัญที่แสดงถึงความเจริญทางเทคโนโลยี และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการเมืองของปัตตานีในยุคนั้น ปืนพญาตานีมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากที่สุดในประเภท ปืนใหญ่โบราณที่มีอยู่ในประเทศ ไทยขณะนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ใช้รูปปืนใหญ่พญาตานีกระบอก นี้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดปัตตานี และในผืนธงประจำจังหวัดก็ใช้รูปปืนใหญ่วางอยู่ กลางผืนธง

ตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

“ลิ้มกอเหนี่ยว” เป็นชาวจีนมณฑลฮกเกี้ยน มีพี่น้องหลายคน มีพี่ชายคนหนึ่งชื่อ “ลิ้มโต๊ะเคี่ยม” รับราชการที่เมืองจั่งจิว มณฑลฮกเกี้ยน ขุนนางกังฉินใส่ร้ายว่าลิ้ม โต๊ะเคี่ยมเป็นผู้สมคบกับโจ รสลัด ทางการจึงประกาศจับตัว ทำให้ลิ้มโต๊ะเคี่ยมต้องหลบหนีออกจากเมืองจีน ระเหเร่ร่อน ไปจนถึงเมืองปัตตานีได้เข้ารีดนับถือ ศาสนาอิสลาม และได้ภรรยาเป็นเชื้อพระวงศ์ของ เจ้าเมืองปัตตานี ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหัวหน้าด่านศุลกากรเก็บส่วยอากร

ฝ่ายมารดาของลิ้มโต๊ะเคี่ยมชราภาพมาก อยากให้บุตรชายกลับบ้าน ลิ้มกอเหนี่ยวจึงอาสา ออกตามหาพี่ชายจนได้พบกันที่ปัตตานี นางขอร้องวิงวอนให้พี่ชายกลับ บ้าน แต่ได้รับการปฏิเสธ นางน้อยใจพี่ชาย จึงตัดสินใจผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ ไม่ไกลจากมัสยิดกรือเซะที่พี่ชายกำลัง ก่อสร้างอยู่ ก่อนตายนางได้สาบ แช่งว่า ขอให้มัสยิดที่พี่ชายก่อสร้างอยู่นั้นอย่าได้สร้างเสร็จ

ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้จัดทำฮวงซุ้ยให้ลิ้มกอเหนี่ยวที่บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลูโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เสร็จงานศพน้องสาวแล้ว ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้ก่อสร้าง มัสยิดกรือเซะที่ค้างไว้ต่อ แต่พอจะสร้างส่วนที่เป็นยอดโดม ก็ถูกฟ้าฝ่าโดมพังทลายลง เป็นอย่างนี้ถึง 3 ครั้ง จนลิ้มโต๊ะเคี่ยม หมดความพยายามจะสร้างต่อ ทิ้ง ให้มัสยิดกรือเซะเป็นมัสยิดไม่มีโดมมาจนบัดนี้

หลังจาก “ลิ้มกอเหนี่ยว” เสียชีวิตได้เกิดอภินิหารหลายอย่างขึ้นที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ ที่นางได้ผูกคอตาย ใครเจ็บไข้ได้ป่วย หรือได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน เรื่องใด ๆ ก็ไปบนบาน เจ้าแม่ให้ช่วยเหลือ บ้างก็ไปกราบไหว้ทำมาหากินเจริญ ซึ่งต่างก็ได้รับผลสมปรารถนา คนจึงเคารพ นับถือบูชา ประชาชนผู้เลื่อมใสจึง พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้นที่บ้านกรือเซะ

ลิเกฮูลู

เป็นการละเล่นพื้นบ้านแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับความนิยมมากประเภทหนึ่ง คำว่า “ลิเก” หรือ “ดิเกร์” เป็นศัพท์เปอร์เซีย มีความหมาย 2 ประการ คือ

1. หมายถึงเพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า ปรกติการขับร้องเนื่องในเทศกาลวันกำเนิดพระนาบี ชาวมุสลิมเรียกงานเมาลิด เลยเรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า “ดิเกร์เมาลิด”

2. หมายถึงกลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มหรือเป็นคณะ เรียกว่า “ลิเกฮูลู” บางท่าน เล่าว่าลิเกฮูลูได้รับแบบอย่างมาจากคนพื้นเมืองเผ่าซาไก ซึ่งมีการเล่น อย่างหนึ่งเรียกตามภาษามลายูว่า “มะนอฆอออแฆสาแก” แปลเป็นภาษาไทยว่า มโนห์ราคนซาไก กล่าวคือเขาเอาไม้ไผ่มาตัดท่อนสั้น ทะลวงปล้องออกให้กลวงหัว กลวงท้ายแล้วเอาเปลือกไม้หรือกาบไม้ เช่น กาบหมากมาหุ้มหรือ เสียบติดไว้ข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งเปิดไว้ แล้วใช้ไม้หรือมืออุดข้างที่หุ้ม ทำให้เกิดเสียงดัง แล้ว ร้องรำทำเพลงขับแก้กันตามประสาชาวป่าว่ากันว่ากระบอกไม้ไผ่ที่หุ้มกาบไม้ข้างหนึ่งนั้น ได้กลายเป็นรำมะนาและบานอ ที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้

ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า ลิเกฮูลูเอาแบบอย่างการเล่นลำตัดของไทยผสมเข้าไปด้วย บางท่านเล่าว่า ในสมัยปกครอง 7 หัวเมือง ถ้ามีงานพิธีต่าง ๆ เช่น สุหนัต มาแกปู โละ เจ้าเมืองต่าง ๆ มาร่วมพิธีและชมการแสดง เช่น มะโย่ง โนรา และละไป ละไปนั้นคือการร้องเพลงรำตัด ภาษาอาหรับและเรียก “ซีเกร์มัรฮาแบ” การร้องเป็น ภาษาอาหรับถึงแม้จะไพเราะแต่คนไม่เข้าใจ จึงนำเอาเนื้อเพลงภาษาพื้นเมืองร้องให้เข้ากับจังหวะรำมะนา จึงกลายมาเป็นลิเกฮูลูสืบทอดมา จนถึงปัจจุบัน


ร็องเง็ง

มีวิวัฒนาการมาจากการเต้นรำพื้นเมืองของชาวสเปนหรือโปรตุเกส ซึ่งนำมาแสดงใน แหลมมลายู เมื่อคราวที่ได้มาติดต่อทำการค้า จากนั้นชาวมลายูพื้นเมืองได้ ดัดแปลงเป็นการแสดง ที่เรียกว่า “ร็องเง็ง” สำหรับในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการเต้นร็องเง็งมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งแต่ สมัยก่อนการยกเลิกการปกครอง 7 หัว เมือง โดยที่นิยมเต้นกันเฉพาะในวังของเจ้าเมือง ฝ่ายชาย ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมงานรื่นเริงในวังจับคู่เต้นกับฝ่ายหญิงซึ่งมีหน้าที่เต้นร็องเง็งที่เป็นบริวารในวัง หลัง จากนั้นร็องเง็งได้แพร่หลายไปสู่ชาวบ้านโดยที่ใช้เป็นรายการสลับฉากของมะโย่ง ซึ่งมุ่งแต่ความ สนุกสนานและหาเงินรายได้เป็นสำคัญ ไม่รักษาแบบฉบับที่สวย งาม ซ้ำยังเอาจังหวะเต้นรำอื่น ๆ เช่น รุมบ้า แซมบ้า ฯลฯ เข้าไปปะปนด้วย ทำให้คนที่เคยเต้นร็องเง็งมาแต่เดิมมองเห็นว่า ร็องเง็งได้เปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี จึง พากันเสื่อมความนิยมไปชั่วระยะหนึ่ง

ใน พ.ศ.2494 ได้มีการรื้อฟื้นร็องเง็งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยท่านขุนจารุ วิเศษศึกษากร ศึกษาธิการอำเภอเมืองปัตตานี ท่านได้นำเพลงร็องเง็งดั้งเดิม 2 เพลง คือ ลากูดูวอและเมาะอีนัง ชวามาปรับปรุงท่าเต้นขึ้นจากร็องเง็งของเดิม เพื่อแสดงในงานปิดอบรมศึกษาภาคฤดูร้อนของ คณะครูจังหวัดปัตตานี ปรากฏว่าร็องเง็ง กลายเป็นที่แปลกใหม่ และได้รับความสนใจจากคนทั่วไป เป็นอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง

ต่อมาสมาคมงัต ของชาวมุสลิมในจังหวัดปัตตานีซึ่งติดต่อไปมาหาสู่ระหว่างปัตตานี กลันตัน มาเลเซียอยู่เสมอ ได้นำเอาเพลงจินตาซายัง ปูโจ๊ะปีชัง เลนัง ฯลฯ เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย ทำให้เพลงร็องเง็งมีเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีผู้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและประดิษฐ์ดัดแปลง ท่าเต้นขึ้นใหม่ เช่น จากท่าเดินของ หนังตะลุง และท่ารำของไทยทำให้เพลงร็องเง็งมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งรวมได้ถึง 13 เพลง


มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี

ตั้งอยู่ถนนยะรัง เส้นทางยะรัง-ปัตตานี ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี มัสยิดกลางสร้างขึ้นด้วย เหตุที่ว่ารัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของศาสนาอิสลาม ว่า เป็นศาสนาที่ประชาชนชาว จังหวัดปัตตานีส่วนใหญ่นับถืออย่างเคร่งครัดอันจะนำมาซึ่งสันติสุข จึงได้พิจารณาจัดสร้างมัสยิด กลางที่มีขนาดใหญ่ และสวยงาม ที่สุดในจังหวัดปัตตานี เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยมุสลิม อีกทั้งเพื่อเป็นที่เชิดชูเกียรติ เป็นศรีสง่าแก่ชาวไทยผู้นับถือศาสนากิจ อิส ลามทั่วประเทศ โดยเริ่มต้นในปี พ.ศ.2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้าง 9 ปี จึงแล้วเสร็จ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำพิธีเปิดใช้มัสยิดกลาง ปัตตานี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2506

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี มีลักษณะสวยงามยิ่ง ตั้งอยู่บนฐานรูปทรงคล้ายกับวิหาร ที่ทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางเป็นอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดม บริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้างสูงเด่นเป็นสง่า บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภาย ในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ เป็นที่สำหรับ “คอฏ์บ” ยืนอ่านคุฏบะฮ์ การละหมาดในวันศุกร์ หอคอยทั้งสองข้างนั้นเดิมใช้เป็น หอกลาง สำหรับตีกลองเป็นสัญญาณเรียกให้มุสลิมมาร่วมปฏิบัติ ศาสนกิจ แต่ปัจจุบันใช้เป็น ที่ติดตั้งลำโพง เครื่องขยายเสียง แทนเสียงกลองและปัจจุบันได้ขยายด้านข้างออกไปทั้ง 2 ด้าน และสร้างหอบังด้วย พร้อมขยาย สระน้ำและที่อาบน้ำละหมาดดูสง่างามยิ่งขึ้น




วัดช้างให้ หรือวัดราษฏร์บูรณะ

เป็นที่รู้จักกันดีของชาวไทยพุทธทั้งในและต่างประเทศตั้งอยู่ริมทางรถไฟสายหาดใหญ่.สุไหงโก-ลก หรือทางรถยนต์ สายปัตตานี หนองจิก-นาเกตุ-นา ประดู่-ยะลา ห่างจากตลาด นาประดู่ประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองปัตตานี 30 กิโลเมตร

วัดช้างให้ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นมากกว่า300ปีแล้วไม่ทราบชัดว่าใครเป็นผู้สร้างแต่จากตำนาน ความเชื่อกล่าวว่าพระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาวจึงได้เสี่ยงอธิษฐาน ปล่อยช้างออกเดินป่า โดยมีเจ้าเมือง ไพร่พลและบริวารออกเดินติดตาม เวลาล่วงเลยไปหลายวัน จนกระทั่งวันหนึ่ง ช้างเสี่ยงทายได้หยุดอยู่ที่ป่า พร้อมทั้งเดินวนเวียนแล้วร้องขึ้น 3 ครั้ง พระยา แก้มดำ ถือเป็นนิมิตหมายอันด ีจึงจะใช้บริเวณดังกล่าวสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบ จึงให้ช้างออกเดินทางหาทำเลใหม่ พระยกแก้มดำจึงสร้างวัดบริเวณดัง กล่าวแทน แล้วขนานนามว่า “วัดช้างให้” หลังจากที่พระยาแก้มดำได้เดินทางกลับถึงเมืองไทรบุรี ได้นิมนต์พระภิกษุองค์หนึ่ง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ท่านลังกา” หรือ “สมเด็จพะโคะ” หรือ “หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ท่านลังกาได้ธุดงค์ไปมาระหว่างเมืองไทรบุรีกับวัดช้างให้และได้สั่งลูก ศิษย์ ว่าถ้าท่านมรณภาพขอให้นำศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้นี้ เมื่อท่านมรณภาพที่เมืองไทรบุรี ลูกศิษย์ได้หามศพเดินทางหยุดที่ใดก็จะปักไม้ไว้ (ปัจจุบันจึงมีสถูปตามที่ต่าง ๆ ) เมื่อถึงวัดช้างให้ ก็ทำการฌาปนกิจศพ ลูกศิษย์ก็นำอัฐิส่วนหนึ่งกลับไปเมืองไทรบุรี และส่วนหนึ่งฝังที่วัดช้างให้ โดยปักแก่นไม้ เป็นเครื่องหมายไว้ (ขณะนี้ได้บูรณะสร้างเป็นสถูปอยู่ติดกับทางรถไฟ) มีผู้คนมา กราบไหว้บนบานอธิษฐานได้ผลตามความประสงค์ ความศักดิ์สิทธิ์จึงเลื่องลือไป ไกล หลังจาก นั้นวัดช้างให้ก็ร้างไปนาน และได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้งจนกระทั่ง พ.ศ.2521 พระครูอนุกูลปริยัติกิจ (สวัสดิ์ อรุโณ) เป็นเจ้าอาวาสมาจน ถึงปัจจุบัน ได้จัดตั้งมูลนิธิสมเด็จ หลวงพ่อทวดและพระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมฺมธโร) วัดช้างให ้ให้ทุนการศึกษาแก่พระภิกษ ุสามเณร-นักเรียนพุทธศาสนาวัน อาทิตย์ สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมและโรงเรียนศูนย์ พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สร้างกุฏิ สร้างหอประชุมที่พักสงฆ์ สร้างโรงพยาบาลโคกโพธิ์ เห็นชอบให้ เช่าที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 50 ไร่เศษ เป็นที่จัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพวัดช้างให้ สร้าง สถานีรถไฟวัดช้างให้ บริจาคเครื่องมือแพทย์ให้โรงพยาบาลต่าง ๆ และบริจาคเงิน สิ่งของอื่น ๆ แก่ทางราชการอีกมากมาย


การตั้งชื่อของชาวไทยมุสลิม

มีจุดมุ่งหมายเพื่อความเป็นสิริมงคล เพื่อความไพเราะ เพื่อความสำเร็จ ความโชคดี และหลีกเลี่ยง ชื่อที่เป็นอัปมงคล หรือที่มีความหมายเกี่ยวกับโชคร้าย หรือ ลางร้าย เพราะจะนำหายนะมาสู่ตนได้ ดังนั้นชาวมุสลิมมักนำชื่อของศาสดาต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์อิสลาม หรือสหายของท่านศาสดา มาตั้งชื่อลูกชาย และนำ ชื่อภรรยาท่านศาสดามาตั้งชื่อลูกสาว บ้างก็นำชื่อบุคคลที่เป็นที่ยกย่อง ในสังคมมาประกอบด้วยการดูราศี วัน เดือน ปีเกิด ตลอดจนบุคลิกลักษณะของผู้ที่ใช้ชื่อ นั้น ๆ ผู้ที่ได้รับการตั้งชื่อจะมีความภาคภูมิใจในมงคลนาม มีกำลังใจในการดำเนินชีวิต

ท่านศาสดาได้กล่าวไว้ สรุปได้ว่า ชื่อของบิดาของท่านและชื่อของท่านจะถูกเรียกขาน ในวันกิมายะฮฺ คือ วันฟื้นขึ้นจากความตายสู่ปรโลก ฉะนั้นจงตั้งชื่อให้ดี ให้ เป็นมงคล

การตั้งชื่อจะตั้งเมื่อทารกคลอดได้ 7 วัน หรือกว่านั้น ผู้ที่ตั้งชื่อให้จะเป็นบุคคลที่อาวุโส เป็นที่เคารพนับถือในสังคม มีความรู้ ชื่อที่ตั้งจะใช้ภาษาอาหรับเพราะถือ ว่าเป็นชื่อที่เป็นสัญลักษณ์ แรกที่บ่งบอกถึงความเป็นมุสลิม และเมื่อเป็นผู้ใหญ่ถ้าหากประกอบคุณงามความดีตลอดมาก็ จะได้รับการยกย่อง และถูกนำชื่อมากล่าว อ้างทั้งที่มีชีวิตอยู่และตายไปแล้ว ชื่อแรกของมุสลิม จึงต้องเป็นชื่อที่เป็นมงคล มีความหมายดี และไพเราะดังที่กล่าวมาแล้ว การตั้งชื่อของชาวมุสลิม จำแนกตามความนิยมได้3ประการ ได้แก่ความนิยมในฐานะที่เป็นมุสลิม ความนิยมที่เป็นผู้สืบเชื้อสายมลายู และความนิยมที่เป็น ประชาชนคนไทย

ความนิยมในฐานะที่เป็นมุสลิม จะเลือกที่มีความหมายดีและไพเราะ บางคนเรียกชื่อ ที่ตั้งไว้ในตอนแรกเกิดว่าชื่อทางศาสนา ถือเป็นชื่อที่สมบูรณ์ที่สุด การเลือก ชื่อจะเลือกคำแยก ตามเพศชายหรือเพศหญิง โดยดูความเหมาะสมอื่น ๆ ประกอบด้วย ดูราศี วัน เดือน ปีเกิด ให้เหมาะสม ถ้าเป็นเพศชายมักนิยมใช้ชื่อที่เป็นพระ นามของบรรดาศาสดา เช่น มูฮำมัด อาดัม อิสมาอีล ซุลกีฟลี ฮารูน อิบรออิม เป็นต้น

ใช้คำนามที่เป็นนามบุคคลที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทในประวัติศาสตร์ เช่น อับดุลลอฮฺ (ชื่อบิดาของเราะซูล มูฮำมัด) บะซรี (ชื่อของนักปราชญ์ทางศาสนาอิสลาม) อ็อสมาน (ชื่อสหายสนิทของเราะซูล มูฮำมัด) เป็นต้น

ใช้คำที่มีความหมายแสดงคุณสมบัติอันสูงสุดของอัลลอฮฺ เช่น อาซิซ (ทรงพลัง) มาลิก (ผู้ทรงเป็นเจ้าของสรรพสิ่งทั้งมวล) รอฮิม (ผู้ทรงเมตตา กรุณา ปราณี) ราซีต (ผู้ที่ฉลาดที่สุดในการกำหนด) วาเฮด (ผู้ทรงเป็นเอก) และรอซซัก (ผู้ทรงบันดาลสรรพสิ่ง ทั้งหลายที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของมวลมนุษย์) เป็นต้น

ในกรณีเป็นเพศหญิง จะใช้คำที่มีความหมายแสดงถึงความเป็นหญิง และมักตั้งชื่อ ตามสตรีมุสลิมที่มีชื่อเสียงดี มีบทบาททางประวัติศาสตร์ เช่น อามีนะฮฺ (ชื่อ มารดาของเราะซูล มูฮำมัด) คอดีญะฮฺ (ชื่อภรรยาของเราะซูล มูฮำมัด) โรฮานี คอลีฮะฮฺ เป็นต้น

การตั้งชื่อตามความนิยมในฐานะที่เป็นคนเชื้อสายมลายู เช่น สุหลง มือซา กือจา ดอเลาะ ฮามะ อาลี บือราเฮง ถ้าเป็นเพศหญิงใช้ชื่อว่า มือลอ แมเราะ ปูเดะฮฺ ฮีแด สะปิเยาะ สอปีนะ ฯลฯ

การตั้งชื่อตามความนิยมในฐานะที่เป็นคนไทย คือ จะมีสำเนาทะเบียนบ้านอยู่ใน ประเทศไทย ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง และมีชื่อไทยในโรงเรียน เช่น สุรินทร์ เสรี อรอนงค์ ปรีดา เป็นต้น อย่างไรก็ตามแม้จะใช้ชื่อเป็นภาษาไทย ก็ยังมีชื่อเดิมภาษาอาหรับเป็นชื่อแรก อยู่ด้วย จะเห็นว่ามุสลิมมีหลายชื่อ อยู่ที่บ้านจะเรียกชื่อ เป็นภาษาอาหรับ แต่เมื่อเข้าโรงเรียนจะใช้ ชื่ออีกชื่อหนึ่ง ชื่อเล่นก็มีเรียก เช่น ปารีเมาะ จะเรียก เมาะ ฟารีดะฮฺ จะเรียก ดะฮฺ อับดุลฮฺ จะเรียก เลาะฮฺ นิรอติปะฮฺ จะ เรียก ปะฮฺ เป็นต้น

การตั้งชื่อที่กล่าวมาข้างต้นนับเป็นสิ่งที่เป็นมงคลแก่ลูกหลาน เป็นการสร้างความภาค ภูมิใจและเป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิต บุคคลที่มีชื่อของศาสดาหรือ บุคคลสำคัญต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์มาตั้งชื่อ ทำให้มีความรู้สึกว่าเป็นสิริมงคล ความเป็นอยู่ในสังคมและการ ประกอบสัมมาอาชีพก็มุ่งมั่นอยู่ในความสุจริต เพื่อ ไม่ให้กระทบกระทั่งต่อมงคลนาม

ปัญหาที่มักจะมีบ้างในการตั้งชื่อ คือเวลามีการแจ้งชื่อเด็กในทะเบียนราษฎร์เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ทำหน้าที่รับแจ้งไม่เข้าใจภาษามลายู สะกดคำไม่ถูก วรรณยุกต์ไม่ ตรงบ้าง สระไม่ตรงรูปบ้าง จึงมีปัญหาในการติดต่อราชการอยู่เสมอ เช่น มะหะมัด เป็นมามะมัก สะอารี เป็น สะอะรี มะรอโซ เป็น มารอโซ ดังนั้นควรมีการ ตรวจสอบความถูกต้อง ผู้ที่แจ้งชื่อครั้งแรกควรจะเป็น ผู้ที่มีความรู้ทางด้านภาษามลายูพอสมควร เพื่อป้องกันความผิดพลาดและสะดวกในการใช้ สื่อสารหรือ ติดต่อราชการในหน่วยงานต่าง ๆ ในภายหลัง


วัฒนธรรมในการรับประทานอาหาร

การรับประทานอาหารหรือการบริโภคเป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญประการ หนึ่งของชาวปัตตานี เช่นเดียวกับชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ใกล้เคียง คือ นราธิวาส ยะลา สตูล และบางอำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา วัฒนธรรมการบริโภคเป็นวิถีชีวิตมุสลิมที่มีความแตกต่าง จากประชากรที่นับถือศาสนาอื่น ๆ อาทิ มุสลิมห้ามรับประทานเนื้อหมู ห้ามเสพสุราหรือ เครื่องดองของเมาทุกชนิด ห้ามเสพสิ่งเสพย์ติดให้โทษ เหล่านี้เป็นต้น การห้ามของมุสลิมเป็น ข้อห้ามตามหลัก การของศาสนาอิสลามที่ต้องงดเว้นอย่างเด็ดขาด

สำหรับค่านิยมการบริโภคอาหาร อาหารพื้นเมืองของปัตตานี โดยทั่วไปจะมีรสชาติ ค่อนข้างจะออกหวาน ๆ ไม่เผ็ดจัดเหมือนคนทางภาคใต้ในจังหวัดอื่น ๆ นิยมรับประทานน้ำพริกบูดู ไม่นิยมรับประทานผักสด นิยมรับประทานผักลวก นิยมรับประทานข้าวสวย อาหารส่วนมาก จะมีส่วนผสมของน้ำหรือน้ำแกงค่อน ข้างน้อย เพื่อความสะดวกในการรับประทานอาหารโดยการ ใช้มือหยิบ คนท้องถิ่นรุ่นก่อน ๆ ในปัตตานีนิยมรับประทานอาหารด้วยมือ ปัจจุบันจะ ใช้ช้อนส้อม ตามแบบสากลนิยมมากขึ้น

วัฒนธรรมในการรับประทานอาหารเป็นตามแนววิถีชีวิตมุสลิม เนื่องจากปัตตานีมี ประชากรนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่คือมากกว่าร้อยละ 80 วัฒนธรรม รับประทานอาหาร สรุปได้โดยสังเขป ดังนี้

1. เลือกบริโภคอาหารเฉพาะที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
2. บริโภคอาหารพอประมาณ ไม่สุรุ่ยสุร่าย ไม่รับประทานอาหารในลักษณะทิ้งขว้าง โอ้อวด ควรบริโภคพอประมาณ คือ แบ่งเป็น 3 ส่วน อาหาร 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน และอากาศ 1 ส่วน
3. นอกจากอาหารที่เป็นประโยชน์ ซึ่งอนุญาตโดยทั่วไปที่เรียกว่า “ฮาลาล” แล้วองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงแนะนำให้มุสลิมบริโภคสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น น้ำนม น้ำผึ้ง ผลไม้ อาหารทะเล เป็นต้น
4. มีความสำรวมในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ยืนหรือเดินขณะรับประทานอาหาร
5. อาหารที่ไม่อนุญาตให้มุสลิมบริโภค คือ
5.1 หมู โดยเหตุผลที่ว่า หมูเป็นสัตว์สี่เท้าที่สกปรก กินอาหารไม่เลือก และเป็นสัตว์ ที่มีเชื้อโรคภายในตัวมาก เป็นเชื้อโรคที่ฆ่าให้ตายได้ยากมาก ตัวอย่างเช่น โรคธรรมดา ได้แก่ ท้องผูก ท้องร่วง โรคกระดูกอ่อน ฯลฯ โรคติดต่อ ได้แก่ อหิวาตกโรค กาฬโรค บาดทะยัก ฯลฯ โรคพยาธิบางชนิด ได้แก่ พยาธิใบไม้ พยาธิ เส้นด้าย พยาธิแส้ม้า ฯลฯ อย่างไรก็ตาม หากมุสลิมอยู่ในสภาวะคับขัน เมื่อสุดวิสัยที่จะหาอาหารใด ๆ ได้แล้วหากอดอาหารอันจะเป็น ผลต่อชีวิตหรือสุขภาพแล้ว ก็ยอมให้บริโภคได้
5.2 อาหารที่เป็นของมึนเมาทุกชนิด ได้แก่ เหล้า เบียร์ น้ำผลไม้และอาหารเจือ บรั่นดีหรือสุราต่าง ๆ ไม่ว่าจะทำให้มึนเมามากหรือน้อย แม้แต่จะนำมาผสมยา รักษาโรคของ มึนเมาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องห้ามเด็ดขาด การห้ามดังกล่าวรวมถึงผู้เข้าไปมีส่วนร่วมในการผลิต ผู้จำหน่าย ผู้เสิร์ฟ หรือผู้บริการ หรือผู้ร่วมนั่งวงด้วย


ประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญในศาสนาอิสลาม

วันเมาลิด (วันแห่งการเฉลิมฉลองคล้ายวันเกิดของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) เมื่อวันที่ 12 เดือนรอบีอุลอาวัล (เดือนที่สามของศักราชอิสลาม) เวียนมาบรรจบ ครบรอบมุสลิมจะได้ จัดงานถวายความรำลึกถึงท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ในพิธีจะมีการนำประวัติของท่านศาสดา มากล่าวถึงเป็นโวหารสดุดี มีทั้งการกล่าว ด้วยร้อยแก้วและร้อยกรอง ซึ่งจะใช้หนังสือ อัล-บัร-ซันญี อ่านในวันดังกล่าว วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณท่านศาสดาผู้มีพระคุณ และแสดงความ กตเวทิตาคุณ และเป็นประหนึ่ง เพื่อสอนให้เยาวชนได้รู้จักบุคคลทางศาสนา นอกจากนี้แล้วก็มีการอ่านคัมภีร์อล-กุรอ่าน อ่านดุอาร์ (การขอพรจากพระองค์พระผู้ เป็นเจ้า) เมื่อเสร็จพิธีทางศาสนาแล้ว ก็จะมีการเลี้ยงอาหารแก่ผู้มาร่วมงาน

วันฮารีรายอ หรือวันอีด ทางศาสนาอิสลามในปีหนึ่งมี 2 วัน คือวันอีดิลฟิตรี (รายอปอซอ) และวันอีดิลอัฎฮา (รายาฮายี) วันอีดทั้งสองจะห่างกัน 70 วัน มุสลิมจะ ไปร่วมกันละหมาดใน วันอีด ในเวลาประมาณ 08.00 นาฬิกา โดยหลังจากนั้น ก้มีการพบปะให้พรกัน ขออภัยกัน ไปเยี่ยมผู้ใหญ่ตลอดจนเยี่ยมกุโบร์ (สุสาน) จัด งานเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงแก่เด็ก ๆ และ เลี้ยงอาหารเพื่อทำงาน

วันอีดิลฟิตร ี(รายอปอซอ) เป็นวันตรุษ ครั้งแรกของปี ตรงกับวันที่ 1 เดือนซาวัล (เดือนที่ 10 ของศักราชอิสลาม) หลังจากที่มุสลิมถือศีลอด (ปอซอ) มาแล้วใน เดือนรอมฎอน (เดือนที่เก้าของศักราชอิสลาม) เป็นเวลาหนึ่งเดือน ซึ่งศาสนาได้บัญญัติให้ปฏิบัติศาสนกิจ และได้เปิดโอกาสให้มุสลิมได้จัดงานเฉลิมฉลองชัยชนะ ของตน ที่มีต่อชัยตอน (มารร้าย)

วันอีดิลอัฎฮา (รายอฮายี) ตรงกับวันที่ 11 (เดือนที่ 12) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มุสลิมทั่วโลก เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะฮ์ ประเทศซาอุดิอารเบีย กำลัง ประกอบศาสนกิจอยู่และ ผ่านพ้นการพักแรมทุ่งอารอฟะห์แล้ว พิธีการที่ปฏิบัติในวันนี้ส่วนใหญ่เหมือนกับวันอีดิลฟิตรี นอกนั้นจะมีการทำกุรบาน (การเชือดสัตว์ เป็นศาสนพิธี) และมีการเลี้ยงอาหาร


การอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางศาสนา ภาษา และเผ่าพันธุ์

ศาสนาอิสลามเรียกร้องความยุติธรรม สันติภาพ และยึดมั่นในหลักการแห่งความรัก ความเข้าใจที่เอื้ออาทรระหว่างมนุษย์อิสลามปฏิเสธแนวความคิดพฤติกรรม สุดโต่งและความรุนแรง โดยสิ้นเชิง

ในการประชุมใหญ่ระดับโลก เรื่องมุสลิมกับเพื่อนต่างศาสนิก (we & the others) ซึ่งจัด โดยกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลามประเทศคูเวตร่วมกับ สภาสูงสุดเพื่อการธำรง สายกลาง ณ โรงแรมเชอราตัน ประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 5-8 มีนาคม 2549 ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรง ความรู้ทางศาสนาอิสลามและศาสนา อื่น ๆ ได้มีมติร่วมกันสรุปดังนี้

ความหลากหลายทางศาสนา ภาษาและเผ่าพันธุ์ ถือเป็นพื้นฐานทางธรรมชาติและข้อเท็จจริง ของสังคมมนุษย์ โดยที่ความหลากหลายในเรื่องดังกล่าวไม่อาจนำมา เป็นข้ออ้างที่จะสร้างความ บาดหมางและเป็นศัตรูระหว่างกัน และขอประกาศเจตนารมณ์แห่งการยึดมั่นหลักสายกลาง และต่อต้านพฤติกรรมอันนำไปสู่ความ รุนแรงและความบาดหมางระหว่างผู้คนในสังคม

1. อิสลามเป็นศาสนาที่เรียกร้องสู่การสร้างบรรยากาศแห่งความร่วมมือระหว่างคนต่าง ศาสนิกภายใต้หลักการของความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ยึด มั่นในหลักการ อยู่ร่วมกันในสังคมโดยสันติ และมีความยืดหยุ่นซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติในโลกแห่งความเป็นจริง ทั้งนี้เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนต่าง ศาสนิกได้อย่างเป็นรูปธรรม

2. การศึกษาอิสลามที่มีนัยแอบแฝงและมีวัตถุประสงค์ที่อยู่บนพื้นฐานแห่งความมีอคติ การใส่ร้าย และการบิดเบือน เป็นสิ่งที่ต้องประณาม การเสวนากับเพื่อนพี่น้อง ต่างศาสนิกมิได้ หมายถึงความพยายามที่จะเข้าไปยุ่งในสารัตถะ ของศาสนา หากแต่มีเป้าหมายเพื่อกระชับ ความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องระหว่างเพื่อนร่วมโลก ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่ความจรรโลงสังคมใฝ่สันติ

3. ที่ประชุมตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่าง เพื่อนต่างศาสนิก และยืนยันว่าทุกประชาชาติมีสิทธิเสรีภาพในการยึดมั่น ศาสนาตามความเชื่อ แห่งตน การใช้ชีวิตร่วมกันกับพี่น้องต่างศาสนิก ถือเป็นข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์และความ จำเป็นของสังคมมนุษย์ภายใต้บริบทของ สังคมพหุวัฒนธรรม (เนื้อหาวัฒนธรรมที่หลากหลาย : ผู้เรียบเรียง) สิทธิเสรีภาพควรตั้งมั่นในในพื้นฐานของการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ใช่เป็นเครื่องมือ ในการแสดงออกซึ่งสิทธิเสรีภาพจนเกินขอบเขต หรือล้ำเส้น กรอบวิถีการดำเนินชีวิตอันปกติสุข อนึ่ง ในประวัติศาสตร์อิสลามเองก็ปรากฏความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมทั้งผู้ที่มิใช่มุสลิมด้วย เช่นเดียวกัน เช่น พบว่ามีการใช้ บ่อน้ำร่วมกันระหว่างเราะสูล (ศ็อลฯ) และเศาะหาบะฮฺกับชาวยิว ขณะอยู่ที่มหานครมะดีนะฮฺ เมื่อท่านเราะสูล (ศ็อลฯ) วะฟาด (เสียชีวิต) พบว่ามีอุปกรณ์การทำ สงครามของท่านเราะสูล (ศ็อลฯ) ถูกจำนองไว้กับชาวยิวทั้งสอง กรณีนี้ยืนยันได้อย่างชัดเจนถึง แบบอย่างความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมกับผู้ที่มิใช่มุสลิมที่ท่าน เราะสูล (ศ็อลฯ) เคยปฏิบัติ

หลักคำสอนของศาสนาอิสลามยอมรับความแตกต่างและความหลากหลายทางศาสนา และวัฒนธรรม ตลอดจนความหลากหลายทางชาติพันธุ์ การกระทำหรือคำ กล่าวใด ๆ ที่แสดง ให้เห็นว่าศาสนาอิสลามมีความเกลียดชังรังเกียจศาสนิกในศาสนาและชาติพันธุ์อื่น ๆ ไม่ใช่ หลักคำสอนของอิสลาม


การไม่ยอมรับการอยู่ภายใต้การปกครองของชนต่างศาสนิก

การที่มุสลิมอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลที่ไม่ใช่มุสลิมนั้นมิได้เป็นข้อต้องห้าม ตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามแต่ประการใด ไม่เพียงเฉพาะมุสลิมเท่านั้น ศาสนาอื่นก็เช่นเดียวกัน แต่ถ้ารัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความอธรรม กดขี่ริดรอนอนสิทธิ์ทางศาสนาก็เป็นสิทธิที่เขาเหล่านั้น จะลุกขึ้นต่อสู้กับความอธรรมและ การกดขี่ ในประวัติศาสตร์อิสลามตามรายงานของมุหัมมัด อิบนุอิสหาก ในหนังสือศรีอตุรรอสูลุลลอฮฺ บันทึกไว้ว่า เมื่อบรรดาสาวกของท่านเราะสูล (ศ็อลฯ) ถูก กดขี่ ซึ่งเราะสูล (ศ็อลฯ) ไม่สามารถปกป้องทุกท่านได้ ท่านจึงสั่งให้สาวกของท่าน จำนวนหนึ่งอพยพไปยังหะบะชะฮฺ (ประเทศเอธิโอเปียปัจจุบัน) ซึ่งกษัตริย์อัน นะญาชียฺแห่ง หะบะชะฮฺเป็นชนต่างศาสนิก แต่เป็นกษัตริย์ที่มีคุณธรรมสูง เป็นการอพยพครั้งแรกของมุสลิมที่ มีขึ้นก่อนปีฮิจญเราะฮฺศักราช กษัตริย์อันนะญาชี ยฺแห่งหะบะชะฮฺได้ให้การต้อนรับบรรดามุสลิม และทรงประทานที่พำนักให้ ผู้อพยพเหล่านั้นต่างมีความสุขที่ได้อยู่กับสันติภาพ ความมั่นคงและ เสรีภาพในการ นับถือศาสนา และในการอพยพครั้งที่ 2 ก่อนปีฮิญจเราะฮฺศักราช ได้ส่งตัวแทน ไปเจรจากับอันนะญาชียฺแห่งหะบะชะฮฺ ขอรับผู้อพยพทั้งหมดกลับคืนสู่มหานคร มักกะฮฺเพื่อ รับโทษ เมื่อได้มีการซักถามและได้ความชัดแจ้งแล้ว กษัตริย์อันนะญาชียฺแห่งหะบะชะฮฺ ได้ตรัสว่า บรรดามุสลิมมีอิสระที่จะอาศัยอยู่ในราชอาณาจักร ของพระองค์ได้ตราบเท่าที่พวกเขาต้องการ ซึ่งทำให้ทุชริกีนมหานครมักกะฮฺผิดหวังมาก กรณีนี้ชี้ให้เห็นว่ามุสลิมสามารถที่จะอยู่ที่ใดก็ได้ ถ้าที่นั่นมีผู้ปกครองที่ มีคุณธรรม


การชูความเป็นเชื้อชาติและการต่อสู้เพื่อขอแบ่งแยกดินแดน

มีบางคนได้รับการปลูกฝังให้เกิดความรู้สึกและเข้าใจเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ และเชื้อชาตินิยมเพื่อนำไปสู่การเรียกร้องและต่อสู้ให้มีการแบ่งแยกดินแดน การเรียกร้องและการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมนั้นแท้จริงแล้วเป็นที่อนุญาตตาม หลักศาสนาอิสลาม แต่การต่อสู้และเรียกร้องด้วยเงื่อนไขของการเชิดชู ความเป็นเชื้อชาตินิยมนั้น เป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการอิสลาม เพราะลัทธิชาตินิยมเป็นแนวคิดที่พยายามจะสร้างความ แตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมโลก หรืออีกนัย หนึ่งคือ ความเข้าใจรักใคร่ที่มีต่อเชื้อชาติจนเกินเลย และกลับกลายมาเป็นความศรัทธาซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องนี้ท่านเราะสูล (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้ดัง ความว่า “ใครก็ตามที่เรียกร้องไปอะเสาะบียะฮฺ (การคลั่งชาติ เผ่าพันธุ์ หลงตระกูล ถือพวกพ้อง) คนผู้นั้นมิได้เป็นพวกฉัน ใครก็ตามที่ต่อสู้เพื่ออะเศาะบียะฮฺ คน ผู้นั้นมิได้เป็นพวกฉัน และใครก็ตามที่ตายไปเพราะสนับสนุนอะเศาะบียะฮฺคนผู้นั้นมิได้เป็นพวกเดียวกันกับฉัน” (รายงานโดยมุสลิม อะบูดาวูดและอันนะสาอียฺ)


การญิฮาด

การญิฮาด คือ การต่อสู้ในแนวทางของอัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) ซึ่งมิได้มีเฉพาะการต่อสู้โดย ใช้อาวุธเพียงอย่างเดียว เรื่องนี้อิบนุอัลก็อยยิมได้แบ่งประเภทการญิฮาดว่ามี 13 ประการ อาทิเช่น การต่อสู้กับศัตรู การต่อสู้กับอารมณ์ การต่อสู้กับซาตานมารร้าย กาฬิรฺ (หัรฺบียฺ) มุนาฟิก พวกฉ้อฉล คดโกง พวกนอกลู่นอกทาง พวกที่มี พฤติกรรมอันชั่วร้าย

ในกรณีที่มีการใช้อาวุธประหัตประหารกันนั้น ต้องได้รับการตัดสินชี้ขาดด้วยการวินิจฉัย (ฟัตวา) จากผู้มีหน้าที่แก้ไขปัญหาโดยตรงหรือจากการประกาศของ “ วะลียุลอัมรฺ” (ผู้นำประเทศ ในกรณีที่เป็นรัฐอิสลาม หรือผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของประเทศในกรณีที่ไม่ใช่รัฐอิสลาม) การเรียกว่าว่าญิฮาดสามารถกระทำได้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าถูกกดขี่และขับไล่อย่างอยุติธรรม ถูกลิดลอนสิทธิ์ทางศาสนาและจะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ทางจริยธรรม ในการทำสงครามญิฮาด เพราะฉะนั้นการก่อความรุนแรงต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ย่อมไม่ถือว่าเป็นการญิฮาด การญิฮาดสามารถกระทำได้ภายใต้เงื่อนไข ต่อไปนี้

1. การถูกกดขี่และถูกขับไล่อย่างอยุติธรรม
2. การถูกริดรอนสิทธิ์ด้านศาสนา
3. การญิฮาดเพื่อให้ได้มาในสิทธิในข้อ 1 และ 2 คืนมา

การญิฮาดจะต้องอยู่ภายใต้จริยธรรมในการทำสงคราม คือ การต่อสู้กับบรรดาผู้เป็นศัตรู แต่อย่าเริ่มเป็นศัตรูก่อน…ดังอายะฮฺ อัลกรุอาน ความว่า แท้จริง อัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) ไม่ทรงรักผู้รุกราน (2:190) นอกจากนั้นต้องไม่ทำลายศพ ไม่ฆ่าเด็ก สตรี คนชรา พลเรือน ผู้บริสุทธิ์และบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลที่ทำสัญญาสงบศึก ไม่ทำลายทรัพย์สิน ไม่ตัดโค่น หรือเผาทำลายต้นไม้ ไม่ฆ่าสัตว์ แต่จะ ต้องให้ความเตตาและการเอาใจใส่ เช่น ให้การบริการทางการแพทย์หรือพยาบาลต่อเชลยศึก ญิฮาดไม่ใช่เครื่องมือการทำสงครามต่อผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้หมายถึงการทำลายชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชนผู้บริสุทธิ์ ไม่ใช่เครื่องมือที่จะนำไปรังแกคนอ่อนแอ และผู้ถูกกดขี่ ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้น จะนับถือศาสนาใด การอ้างคำสอนเรื่องญิฮาดเพื่อนำมาทำลายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และผู้บริสุทธิ์นั้น ถือว่าเป็นการ กระทำที่ไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม

โดยสรุปกล่าวคือ การกำหนดพฤติกรรมว่าเป็นญิฮาดหรือไม่ จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ของการถูกกดขี่และถูกขับไล่อย่างอยุติธรรมและถูกริดรอนสิทธิ์ทางศาสนา และจะต้องอยู่ภายใต้ กฎเกณฑ์ทางจริยธรรมในการทำญิฮาด ดังนั้นการก่อความรุนแรงต่อประชาชนและผู้บริสุทธิ์ ย่อมไม่ถือเป็นการญิฮาด

จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เยาวชนบางส่วน ถูกปลุกปั่นยุยงปลุกเร้าโดยบิดเบือนหลักศาสนาอิสลามบางส่วนให้เกิดความ เข้าใจผิด โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในหลักของศาสนาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์แห่งการญิฮาด แท้จริงแล้วการกระทำเช่นนั้นคือ ฟาสาด (การก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน)

การก่อการทุกชนิดที่ไม่ถูกต้องตามหลักการของอิสลามแล้วถือเป็นการฟาสาดให้กับ สังคมทั้งสิ้น เพราะฟาสาดเป็นการกระทำที่ตรงกันข้ามกับญิฮาด และเป็นสิ่ง ที่ไม่อยู่ในเงื่อนไข ของการญิฮาด

การบิดเบือนคำสอนของอิสลาม โดยการขับเคลื่อนผ่านบุคคลหรือกลุ่มคนที่ไม่รู้สึกว่าตนเอง กำลังถูกชักนำทางความคิด และการมีปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยความ รุนแรงนั้นย่อมไม่อาจนำมาซึ่ง ความชอบธรรมในการก่อความเสียหายต่อสังคม

อิสลามคือศาสนาแห่งความรักและสันติภาพ และอัลลอฮ ฺ(สุบหฺฯ) ต่อต้ายการใช้ความรุนแรง ในทุกมิต ิดังความปรากฏในอายะฮ ฺอัลกรุอาน ความว่า “และอย่าได้ ให้การเกลียดชังของ พวกเจ้าต่อหมู่ชนใด หมู่ชนหนึ่ง ทำให้พวกเจ้าขาดความยุติธรรม จงยุติธรรมเถิดเพราะมันเป็น สิ่งที่ใกล้กับความยำเกรงยิ่งกว่า” (5:8)


การชะฮีด

การชะฮีด คือ การเสียชีวิตจากกรณีการต่อสู้ในสนามรบในแนวทางของอัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) การวินิจฉัยว่าบุคคลใดจะเป็นชะฮีดได้หรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และหลัเกณฑ์ของการทำ ญิฮาดตามที่อัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) ทรงกำหนดเท่านั้น การเสียชีวิตที่อยู่นอกเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ ดังกล่าวนี้ ย่อมไม่ถือเป็นชะฮีดตามบท บัญญัติอิสลาม

การเป็นชะฮีดที่แท้จริงนั้น จะพิจารณาได้จากกรณีการเสียชีวิตของเหล่าชุฮะดาอ์ในอดีต เช่น กรณีของ หัมซะฮฺ อิบนุ อับดุลมุฏเฏาะลิบ ซึ่งเป็นวีรบุรุษของอิสลาม ที่เสียชีวิตใน สมรภูมิอุหุดเพื่อปกป้องศาสนาอิสลาม เช่นนี้คือการชะฮีดที่แท้จริง

ดังนั้นการที่วินิจฉัยว่า การเสียชีวิตเป็นชะฮีดหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่กับการญิฮาดของผู้เสียชีวิตว่า เป็นไปตามเงื่อนไขที่อัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) ทรงกำหนดไว้หรือไม่เท่านั้น


การไม่อาบน้ำศพอันเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบ

มีบุคคลบางส่วนเชื่อว่า การเสียชีวิตอันเนื่องด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบนั้นเป็นการเสียชีวิตเพราะการต่อสู้ในแนวทางของอัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) และเป็นชะฮีดที่ไม่ ต้องอาบน้ำศพ

แท้จริงการเป็นชะฮีดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการญิฮาดที่เป็นชะฮีด ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการอาบน้ำศพหรือไม่นั้นผู้ที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องพิจารณา เงื่อนไขของการญิฮาด และชะฮีดอย่างถ้วนถี่ เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและลึกซึ้งอย่างยิ่ง

ชะฮีดเท่าที่ปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม ที่ไม่ต้องอาบน้ำศพนั้น คือผู้ที่เป็น ชะฮีดอันเนื่องจากการต่อสู้ในสมรภูมิสงครามเท่านั้น เช่น กรณีการเสียชีวิตของ หัมซะฮฺ อิบนุ อับดุลมุฏเฏาะลิบ ซึ่งเสียชีวิตจากการสู้รบในสนามรบสมรภูมิอุหุด ส่วนท่านอื่น ๆ ที่เสียชีวิตแต่มี การอาบน้ำศพ เช่น 1) เคาะลีฟะฮ ฺอุมัร เสียชีวิต เพราะถูกแทง 2) เคาะลีฟะฮ ฺอุษมาน ถูกฆาตกรรม 3) เคาะลีฟะฮฺ อาลี ถูกฟันถึงแก่ชีวิต


การสุมปะฮฺ และการถอนคำสุมปะฮฺ

เนื่องจากมีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งได้เรียกร้องให้เยาวชนทำการต่อสู้กับอำนาจรัฐโดยมีการ สุมปะฮฺ ซึ่งหากละเมิดการสุมปะฮฺแล้วชีวิตของผู้ละเมิดนั้นมีความชอบ ธรรมที่จะต้องถูกฆ่า

การสุมปะฮฺ (การสาบาน) คือ การกระทำที่มีเป้าหมายเพื่อยืนยันเจตนาด้วยการอ้าง พระนามของอัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) เพื่อการกระทำหรือปฏิเสธการกระทำสิ่งใดสิ่ง หนึ่งในปัจจุบันหรือ ในอนาคต การเลี่ยงไม่กระทำการสุมปะฮฺถือว่าเป็นข้อดี

คัมภีร์อัลกรุอานมีบัญญัติเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจนในหลายอายะฮฺด้วยกัน เช่น อายะฮฺที่มีความว่า

“พวกเขาได้ถือเอาคำสาบาน (พล่อย ๆ) ของพวกเขามาเป็นโล่ป้องกันตนเอง แต่แล้ว พวกเขาก็ขัดขวางจากวิถีทางของอัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) แท้จริงแล้วพวกเขานั้นมี พฤติกรรม อันเลวร้ายยิ่ง” (63:2)

“อัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) จะไม่ทรงเอาโทษแก่พวกเจ้า ในการสาบานที่ไม่จงใจ แต่พระองค์เอาผิด ด้วยสิ่งที่พวกเจ้าผูกพันการสาบาน ดังนั้นการไถ่ความผิดของมัน คือ การให้อาหารแก่คนอนาถา 10 คน จากระดับปานกลางของอาหารที่พวกเจ้าให้แก่ครอบครัวของพวกเจ้าหรือไม่ก็เครื่อง นุ่งห่มแก่พวกเขา 10 คน หรือไม่ก็ไถ่ทาส 1 คน ให้เป็นอิสระ แต่ถ้าไม่ได้ก็ให้ถือศีลอด 3 วัน นั้นเป็นการไถ่ความผิด” (5:89)

นอกจากนั้นยังมีอัลหะดีษอีกหลายบทที่กล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกัน อิบนุอุมัยรฺ กล่าวว่า “บิดาของฉันเคยสาบาน แต่แล้วท่านเราะสูล (ศ็อลฯ) ได้ห้ามไว้ โดยกล่าวว่า ผู้ ใดที่สาบานกับ สิ่งหนึ่งสิ่งใดนอกจากอัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) แล้ว ก็เท่ากับเขาผู้นั้นเป็นผู้ตั้งภาคีกับอัลลอฮฺ (สุบหฺฯ)” (รายงานโดยอะหมัด อิบนุหัมบัล) และเราะสูล (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า บุคคลใดยังแข็งใจสาบาน ทั้งที่คำสาบานนั้นเป็นอันตรายต่อครอบครัว การกระทำของบุคคลดังกล่าวถือว่าเป็นบาปใหญ่ แห่งอัลลอฮฺ (สุบหฺฯ)

เงื่อนไขของการสุมปะฮฺ มีดังนี้
1. ต้องเริ่มต้นคำสุมปะฮฺด้วยพระนามของอัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) ด้วยวาจา
2. ผู้สุมปะฮฺ ต้องบรรลุวัยศาสนภาวะแล้ว (บาลิฆฺ)
3. ต้องเป็นการกระทำด้วยความสมัครใจอย่างแท้จริงไม่ใช่เพราะถูกบังคับ
4. กรณีที่ผู้สุมปะฮฺยังอยู่นวัยเด็กจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง
5. การสุมปะฮฺที่ถูกต้องนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องปฏิบัติ (วาญิบ) หรือควรปฏิบัติ (มุสตะหับ) เท่านั้น หากสุมปะฮฺในเรื่องที่ต้องห้าม (หะรอม) ก็จะไม่เกิด ผลใด ๆ และถือเป็นโมฆะ

การสุมปะฮฺตามคำอธิบายข้างต้นนั้นจะถูกต้องสมบูรณ์หรือมีผลได้นั้น จะต้องมีลักษณะ ครบถ้วนตามเงื่อนไขดังกล่าวทุกประการและถ้าหากไม่ครบเงื่อนไข ประการใดประการหนึ่งแล้ว การสุมปะฮฺนั้นถือว่าไม่ได้เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นและไม่มีผลใด ๆ ไม่ต้องจ่ายกัฟฟาเราะหฺ อัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) ทรงบัญญัติไว้ในคัมภีร์อุลกุรอาน ในเรื่องเกี่ยวกับการถอนสุมปะฮฺ ตามอายะฮฺที่มีความดังนี้

“อัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) จะไม่ทรงเอาโทษแก่พวกเจ้า ในการสาบานที่ไม่จงใจ แต่พระองค์เอาผิด ด้วยสิ่งที่พวกเจ้าผูกพันการสาบาน ดังนั้นการไถ่ความผิดของมัน คือ การให้อาหารแก่คนอนาถา 10 คน จากระดับปานกลางของอาหารที่พวกเจ้าให้แก่ครอบครัวของพวกเจ้าหรือไม่ก็เครื่อง นุ่งห่มแก่พวกเขา 10 คน หรือไม่ก็ไถ่ทาส 1 คน ให้เป็นอิสระ แต่ถ้าไม่ได้ก็ให้ถือศีลอด 3 วัน นั้นเป็นการไถ่ความผิด” (5:89)


การใช้ผ้ายันต์ และเครื่องรางของขลัง

มีคนบางส่วนถูกสอนและแนะนำให้เชื่อว่า การใช้ผ้ายันต์เครื่องรางของขลัง การท่องจำ ถ้อยคำเพื่อเป็นคาถาอาคมจะเกิดผลดีต่อตนเอง เช่น ทำให้ศัตรูมองไม่ เห็นตัว หรือจะอยู่ยงคง กระพันตีรันฟันแทงไม่เข้า

แท้จริงนั้น ศาสนาอิสลามสอนไม่ให้มุสลิมกระทำการอื่นใดที่สำแดงไปในทางการตั้งภาคี หรือที่เรียกกันว่าชิริกต่ออัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) เช่น การบูชา หรือเชื่อมั่นใน สิ่งที่ถูกสร้าง ผ้ายันต์ เครื่องรางของขลัง เวทมนต์คาถาอาคม ซึ่งในทัศนะของอิสลามถือว่าพฤติกรรมในการตั้งภาคีเป็น การก่อบาปใหญ่ และบุคคลที่กระทำการ ดังกล่าวนี้ขาดคุณสมบัติของการศรัทธาที่สมบูรณ์ ทั้งนี้ เพราะอิสลามสอนเน้นให้เชื่อมั่นในเอกภาพของอัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) และการกำหนดสภาวะของอัลลอฮฺ (สุ บหฺฯ) (เกาะฎออ์-เกาะดัรฺ) ไม่ใช่เชื่อมั่นในเครื่องรางของขลัง


การฆ่าบุคคลที่เป็นกาฟิรฺและผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นมุนาฟิก

มีคนบางส่วนถูกเสี้ยมสอนให้มีความเชื่อว่า การฆ่ากาฟิรฺ (คนต่างศาสนา) และมุนาฟิก (ผู้กลับกลอก) เป็นสิ่งที่อนุมัติในอิสลาม ผู้ฆ่าจะได้ผลบุญและหากผู้ที่จะไป ฆ่าผู้อื่นกลับถูกฆ่า เสียเอง เขาก็จะได้กลับสวรรค์เป็นการตอบแทน

“กาฟิรฺ” มีความหมายโดยรากศัพท์ทางภาษาแปลว่าผู้ปฏิเสธ ผู้ดื้อดึง ผู้ฝ่าฝืน แต่ในทางศาสนา “กาฟิรฺ” หมายถึง ผู้ปฏิเสธต่อศาสนาอิสลาม

กาฟิรฺ จำแนกได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. กาฟิรฺหัรบียฺ หมายถึง คนต่างศาสนิกที่เป็นคู่สงครามและเป็นศัตรูซึ่งมีความพยายาม ที่จะทำลายล้างศาสนาอิสลาม
2. กาฟิรฺซิมมียฺ หมายถึง คนต่างศาสนิกที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม ซึ่งรัฐ จะต้องดูแลพวกเขาด้วยความยุติธรรมและพวกเขาต้องจ่ายภาษีแก่รัฐอิสลาม
3. กาฟิรฺมุอาฮัด คือคนต่างศาสนิกที่ได้ทำสัญญา และมีพันธสัญญาที่ไม่รุกรานและไม่ ละเมิดซึ่งกันและกัน

มุนาฟิก คือ บุคคลที่ยอมรับความเป็นมุสลิมเพียงด้วยวาจาแต่จิตใจปฏิเสธ

ในสมัยท่านเราะสูล (ศ็อลฯ) มีผู้ที่เป็นมุนาฟิกหลายคน แต่ท่านเราะสูล (ศ็อลฯ) ไม่เคย อนุญาตให้ฆ่ามุนาฟิกแม้แต่คนเดียว ต่อความคิดของผู้ที่ปลุกปั่นยุยงเยาวชนว่าคนที่เห็นต่างจากตน เป็นกาฟิรฺหรือมุนาฟิกและต้องฆ่าเสียให้หมดนั้น จึงเป็นความ คิดที่ผิดหลักศาสนาอิสลาม ไม่มี อายะฮฺใดเลยที่ปรากฏในอัลกุรอานที่ระบให้ฆ่ามุนาฟิก


การทำลายศพ

อิสลามเป็นศาสนาที่ปฏิเสธความรุนแรง การละเมิด การคร่าชีวิตมนุษย์ และการรุกราน ทุกรูปแบบ อิสลามเป็นศาสนาที่กำชับให้เกิดความยุติธรรมเพื่อนำไปสู่เส้น ทางแห่งสันติภาพ การกระทำความดี ห้ามปรามการกระทำชั่ว การให้อภัย ดังที่บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกรุอาน และอัลหะดีษ ดังอายะฮฺดังนี้

“ผู้ใดฆ่าชีวิตหนึ่งโดยมิใช่เป็นการชดเชยอีกชีวิตหนึ่ง หรือมิใช่เนื่องจากการบ่อนทำลาย ในแผ่นดินแล้ว ก็ประหนึ่งเขาได้ฆ่ามนุษย์ทั้งมวล” (5:32) “และผู้ใดที่ ฆ่าผู้ศรัทธาโดยเจตนา (โดยมิชอบ) แน่นอนผลตอบแทนของเขาคือทัณฑ์ ทรมานในขุมนรกตลอดกาล” (4:93)

“ผู้ใดสงเคราะห์ความดีหนึ่งแก่ผู้อื่น เขาย่อมมีส่วนได้จากความดีนั้นด้วย และผู้ใดสงเคราะห์ ความเลวหนึ่งแก่ผู้อื่น เขาก็ต้องรองรับความผิดจากความเลวนั้นด้วย และอัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) ทรงอานุภาพเหนือทุก ๆ สิ่ง” (4:85)

“อัลลอฮฺ (สุบหฯ) มิได้ทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่ไม่ได้ต่อต้านเจ้าในเรื่องศาสนา และพวกเขามิได้ขับไล่เจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า ในการที่พวก เจ้าจะกระทำความดีแก่พวก เขาและให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) ทรงรักผู้มีความยุติธรรม” (60:8)

“ไม่มีการบังคบใด ๆ ในการนับถือศาสนา (อิสลาม)” (2:256) และมีบทอัลหะดีษ ความดังต่อไปนี้

“ห้ามการแย่งชิงและการทำให้ศพเสียโฉม” (อัลหะดีษ)

“จงบริจาคทานและจงอย่าทำให้ศพเสียโฉม” (อัลหะดีษ)

“พวกท่านไม่ทราบหรือว่า ข้าพเจ้าสาปแช่งผู้ที่ใช้เหล็กเผาไฟนาบสัตว์ที่ใบหน้าของ มัน หรือตีมันที่หน้า” (อัลหะดีษ)

การทำลายศพมุสลิม หรือศัตรู หรือผู้ใดก็ตาม อิสลามก็ไม่อนุญาต เพราะการกระทำ ดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นการรุกรานและละเมิดเช่นเดียวกัน ตามบทบัญญัติของ อิสลามนั้นผู้ที่มีชีวิต อยู่จะต้องให้เกียรติแก่ศพด้วยรูปแบบต่าง ๆ ตามแบบฉบับของท่านเราะสูลมุหัมมัด (ศ็อลฯ) ที่ทรงเป็นแบบอย่างให้แก่มนุษยชาติ การผ่าศพ และการขุดศพเป็นที่ต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม ยกเว้นเพื่อชันสูตรหาข้อเท็จจริงของความเป็นบุคคลหรือหาสาเหตุของการตายเพื่อหาความ เป็นธรรมแก่ ทายาทของผู้เสียชีวิต และเพื่อประโยชน์แก่การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม สามารถกระทำได้ ทั้งนี้ต้องอาศัยอยู่ภายใต้คำวินิจฉัยของผู้รู้ทางศาสนาและ ได้รับอนุญาตจาก ทายาทของผู้เสียชีวิต

อนึ่ง ในกรณีเป็นศพนิรนาม การดำเนินการต่อศพต้องให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้นำ ทางศาสนาอิสลามในพื้นที่


การฆ่าผู้บริสุทธิ์ การทำลายทรัพย์สินของประชาชนและศาสนสถาน

อิสลามสอนไม่ให้ทำลายชีวิตผู้บริสุทธิ์ ไม่ว่าผู้นั้นจะนับถือศาสนาใดก็ตาม กล่าวคือ ไม่ฆ่าเด็ก สตรี คนชรา พลเรือนผู้บริสุทธิ์ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำสัญญา สงบศึกในระหว่างการทำสงคราม อิสลามไม่อนุญาตให้ทำร้ายนักบวช ทำลายศาสนสถาน และไม่อนุญาตให้ฆ่าเด็กและสตรี เพราะอิสลามมิได้มีเป้าหมายเพื่อเอา ชนะสงครามหรือการต่อสู้เพียงอย่างเดียว การต่อสู้ในลักษณะ ของการทำสงครามนั้นจะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของศาสนาตลอดเวลา เพื่อสันติภาพ ไม่ทำลาย ทรัพย์สิน ไม่ตัดโค่นและเผาทำลายต้นไม้ ไม่ฆ่าสัตว์ แต่ต้องให้ความเมตตาและเอาใจใส่ ต้องให้ บริการทางการแพทย์หรือพยาบาลต่อเชลยศึก ดังความในอายะ ฮฺอัลกุรอานต่อไปนี้

“ถ้าหากอัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) ไม่ป้องกันมนุษยชาติด้วยอีกกลุ่มหนึ่งแล้ว วิหาร โบสถ์และมัสยิด อันเป็นสถานที่ซึ่งนามของอัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) ได้รับการรำลึก ย่อมจะถูก ทำลายอย่างแน่นอน” (22:40)
และอีกอายะฮฺ มีความว่า

“…ผู้ใดฆ่าชีวิต โดยมิใช่เป็นการชดเชยอีกชีวิตหนึ่ง หรือมิใช่เนื่องจากการบ่อนทำลาย ในแผ่นดินแล้ว ก็ประหนึ่งว่าเขาได้ฆ่า มนุษย์ทั้งมวล…” (5:32)

“…อัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) ไม่ได้ทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่ไม่ได้ต่อต้านเจ้าในเรื่องศาสนา และพวกเขามิได้ขับไล่เจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า ในการที่พวก เจ้าจะกระทำความดีแก่พวกเขา และให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺ (สุบหฺฯ) ทรงรักผู้มีความยุติธรรม” (60:8)


บทบาทของอุละมาอฺและผู้นำศาสนา

ในยามที่สังคมเกิดวิกฤติ อุละมาอฺและผู้นำศาสนาอิสลามจะต้องมีความกล้าหาญในทาง จริยธรรมโดยการชี้นำสังคมไปในทางที่ถูกต้อง ทั้งนี้โดยรัฐจะต้องให้ การสนับสนุนส่งเสริมอุละมาอฺ และผู้นำศาสนาให้มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาของสังคมมุสลิมและประเทศชาติโดยรวม

ในเรื่องของอิสลามนั้น ผู้ที่จะให้คำตอบในเรื่องของอิสลามได้ดีจะต้องมีความเข้าใจถึง วิชาการอิสลาม และมีการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีอย่างสม่ำเสมอ หรือ อย่างน้อยที่สุดต้อง มีคุณสมบัติดังนี้

1. เป็นผู้ที่เรียนรู้วิชาเกี่ยวกับคัมภีร์อัลกุรอานและอัลหะดีษ
2. เป็นผู้รักการเรียนรู้การวินิจฉัยของคนยุคก่อนทั้งที่เป็นมติและที่เป็นข้อขัดแย้ง (อิจญมาอฺ ของ อุละมาอฺ)
3. เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในภาษาอาหรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะรู้หลักไวยากรณ์อาหรับ
4. เป็นผู้ที่เรียนรู้แนวทางที่จะนำเอาข้อกำหนด (หุกุม) จากอัลกุรอานและสุนนะฮฺมาใช้ เมื่อไม่มีตัวบทระบุชัดเจนอยู่ในทั้งอัลกุรอานและอัลหะดีษ
5. เป็นผู้มีความยุติธรรม (อาดิล)
6. เป็นผู้ไม่ลุ่มหลงในทรัพย์สินเงินทองและลาภยศ (ดุนยา)
7. เป็นผู้มีความยำเกรง (ตักวา) ต่ออัลลอฮฺ (สุบหฺฯ)
8. เป็นผู้มีมารยาทและจริยธรรม (อัคฺลาก) อย่างสมบูรณ์และขัดเกลาตัวเองอยู่เสมอ
9. เป็นผู้ติดตามข่าวสาร และรู้เท่าถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน


การเคารพและเชื่อฟังบิดามารดา

เอกสาร เบอร์จีฮาด ดิ ปัตตานี (การต่อสู้ที่ปัตตานี) เป็นเอกสารซึ่งบิดเบือนคำสอนอิสลาม ที่มุ่งปลุกอารมณ์และความรู้สึกมากกว่าการศรัทธาอย่างมีเหตุผล โดยมี การเสนอข้อความที่ สำแดงถึงความรุนแรงดังนี้ “...โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกเจ้าจงอย่าได้เอาบิดาและพี่น้อง ของพวกเจ้าในฐานะผู้นำ ถ้าพวกเขาเอนเอียง ไปในแนวทางที่หลงผิด รูปธรรมเท่านั้นที่พวกเขา เป็นบิดาและพี่น้องเราแต่นามธรรมที่แท้จริงนั้น พวกเขาไม่ได้เป็นกลุ่มของฝ่ายเราอีกต่อไป ดังนั้นหากเป็นที่ ชัดเจนว่าพวกเขาเป็นผู้ทรยศ จงฆ่าพวกเขาเสีย…”

ข้อความที่นำมาอ้างอิงข้างบนนี้ พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องตามที่ปรากฏในอัลกุรอาน ซึ่งแท้จริงนั้นเรื่องดังกล่าวนี้มีอายะฮฺในอัลกุรอานความว่า “บรรดาผู้ ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่า ได้ถือเอาบิดาของพวกเจ้า และพี่น้องของพวกเจ้าเป็นมิตร หากพวกเขาชอบการปฏิเสธศรัทธา เหนือการอีมาน และผู้ใดในหมู่พวกเจ้าให้ พวกเขาเป็นมิตรแล้ว ชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือ ผู้อธรรม” (9:23)

แท้จริงแล้วทัศนะของอิสลามนั้น บอกว่าบิดามารดาเป็นต้นเหตุแห่งการกำเนิดของลูก ดังนั้นหน้าที่ของลูกที่มีต่อบิดามารดาที่นับถือศาสนาใดก็ตาม อิสลามเน้น อย่างยิ่งไม่ให้เนรคุณ ต่อบิดามารดา แต่บิดามารดาจะมากำหนดไม่ให้ลูกเชื่อและศรัทธาต่ออัลอฮฺ (สุบหฺฯ) ไม่ได้ หน้าที่ของลูกนั้น คือการกระทำที่ดีต่อบุพการี ตลอดไปดังที่อัลลอฮฺ(สุบหฺฯ)ได้กำชับให้กระทำความดี ดังอายะฮฺอัลกุรอานความว่า “…และจงคอยอยู่ดูแลปรนนิบัติท่านทั้งสอง (หมายถึงบิดามารดา ที่ไม่ได้เป็น มุสลิมยามที่ทั้งสองมีชีวิต) บนโลกนี้ให้ดี…” (3:15)

ในสมัยท่านเราะสูล (ศ็อลฯ) มีบิดามารดาของสาวกท่านเราะสูล (ศ็อลฯ) หลายคนยังเป็นกาฟิร ฺและทำการต่อสู้เพื่อขัดขวางอิสลามแต่พ่อแม่ที่เป็นมุสลิมในบริบท ปัจจุบันมีเงื่อนไขที่แตกต่าง จากสมัยเราะสูล (ศ็อลฯ) กล่าวคือ บิดามารดาที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของลูก ก็ไม่ได้หมายถึง ท่านเป็นมุนาฟิกที่เราสามารถฆ่า ท่านได้ ดังนั้นการอ้างข้อความข้างต้นจึงเป็นการกล่าวอ้างที่ผิด ในสมัยท่านเราะสูล (ศ็อลฯ) มีอายะฮฺในคัมภีร์อัลกุรอานสูเราะฮฺอัลอังกะบูต ความว่า “และเราได้สั่งแก่มวลมนุษย์ให้ทำดีต่อบิดามารดาของเขา และแม้เขาทั้งสอง บังคับเคี่ยวเข็ญเจ้า เพื่อให้ตั้งภาคีต่อข้าในสิ่งที่เจ้าไม่มีความรู้ ก็จงอย่าปฏิบัติตามเขาทั้งสอง…” (29:8)


การรับเงินอุดหนุนจากรัฐและเงินเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบ

การได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐถือว่าถูกต้องไม่ขัดกับหลักอิสลาม เพราะถือว่าเป็นสิทธิอันชอบธรรมของรัฐที่ได้อุดหนุนให้แก่โรงเรียน อุสตาซ และข้าราชการ และ บุคคลที่รับเงินอุดหนุน จากรัฐดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นศัตรูของอิสลาม

เงินที่ได้รับจากการจัดสรรเยียวยาจากรัฐที่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตอันเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ถือเป็นมรดก

http://yeawya.prd.go.th/view_ebook.php?id=15

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น