การจับมือกัน





ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«إنِّي لا أُصَافِحُ النِّسَاءَ». أخرجه النسائي وابن ماجه.

ความว่า “แท้จริงแล้ว ฉันไม่จับมือทักทายกับผู้หญิง”
(หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัน-นะสาอีย์ 4181 และอิบนุ มาญะฮฺ 2874)


มาดูของ  เว็บ http://alisuasaming.com/ นี้ต่อ


การจับมือกัน (อัล-มุศอฟะหะฮฺ) ที่กระทำกันเป็นประเพณี (อาดะฮฺ) หลังการละหมาด ศุบหิและอัศริ (ตลอดจนหลังละหมาดเวลาอื่นๆ) นั้น ท่านอิหม่ามอัลอิซฺ อิบนุ อับดิสสลาม (ร.ฮ.) ระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮฺ มุบาหะฮฺ โดยไม่ถือว่าเป็นการมักรูฮฺและไม่ถือว่าส่งเสริม (อิสติหฺบาบฺ)

ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : ที่ถูกเลือกสรรแล้ว (อัล-มุคฺต๊ารฺ) ถือว่าอย่างนี้ ถ้าหากจับมือกับคนที่ร่วมอยู่กับเขาก่อนก...ารละหมาดก็ถือว่าอนุญาต (มุบาหฺ) แต่ถ้าจับมือกับคนไม่ได้อยู่ร่วมกับเขาก่อนการละหมาด ก็ถือว่าส่งเสริมให้กระทำ (มุสตะหับ) ทั้งนี้เพราะการจับมือขณะพบกันนั้นถือเป็นสุนนะฮฺโดยอิจญ์มาอฺเนื่องจากมีบรรดาหะดีษที่ถูกต้องในเรื่องดังกล่าว (ดู กิตาบอัลมัจญ์มูอฺ เล่มที่ 3/469,470)

สรุปได้ว่า ถ้าคนที่เราจับมือสล่ามด้วยหลังการละหมาดยังไม่ได้เจอกันก่อนการละหมาดก็ถือเป็นสุนนะฮฺเพราะเพิ่งเจอกัน ส่วนถ้าเป็นคนที่เราเจอกันอยู่ก่อนแล้ว สล่ามและจับมือกันแล้วตั้งแต่ก่อนละหมาดก็ไม่มีสุนนะฮฺเป็นพิเศษให้จับมือสล่ามกันอีก แต่ถ้าเราจับมือสล่ามกับเขาอีกหลังการละหมาดก็ไม่เป็นอะไร ที่ดีให้ทำบ้าง ทิ้งบ้าง อย่าถือว่าเป็นสุนนะฮฺต้องกระทำเสมอไป

2. เอาเป็นว่าจับมือก็แล้วกัน ส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงรายละเอียดมาว่าต้องจับตรงนั้นตรงนี้ กรณีนี้ยังไม่พบตัวบทบ่งชี้ว่าที่เป็นสุนนะฮฺต้องจับตามรายละเอียดที่ว่ามา ส่วนการจับมือกันและส่งยิ้มให้ด้วยนี้เป็นสุนนะฮฺแน่นอน

3. ไม่แน่ใจว่าคำถามนี้ยังคงอยู่ในเรื่องการจับมือกันหรือไม่? ถ้าใช่? ก็ตอบได้ว่า ขณะที่จับมือ (มุศอฟะหะฮฺ) กันนั้น ไม่พบหลักฐานจากสุนนะฮฺที่เป็นหะดีษศ่อฮีหฺระบุว่าให้กล่าวศ่อละหวาตเป็นกรณีเฉพาะ แต่มีหะดีษเฎาะอีฟระบุมาในเรื่องนี้หลายกระแสซึ่งถ้าถือตามนักวิชาการที่ยอมรับหะดีษเฎาะอีฟเป็นหลักฐานในเรื่องฟะฎออิลุลอะอฺม๊าล (คุณค่าอะมัล) ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่กระทำได้และไม่เป็นบิดอะฮฺแต่อย่างใด (ดูรายละเอียดในเรื่อง อัลเกาลุลบะดีอฺ ของอัสสะคอวีย์ หน้า240)

 
การลูบหน้า
 



الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

การลูบหน้าหลังการให้สล่ามครั้งที่สองนั้น เข้าใจว่าอาศัยหลักฐานจากหะดีษที่รายงานโดยท่านอนัส อิบนุมาลิก (ร.ฎ.) ซึ่งมีใจความว่า : ปรากฏว่าท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เมื่อท่านเสร็จสิ้นการละหมาดของท่าน ท่านได้ลูบหน้าผากของท่านด้วยมือขวา แล้วกล่าวว่า :

أَشْهَدُ اَنْ لاَ إِلهَ اِلا الله الرَّحْمٰنُ الرحيمُ أللهُمَّ اذْهِبْ عَنِّى الْهَمَّ والحزنَ

ท่านอิบนุ อัซซุนนีย์ บันทึกหะดีษนี้เอาไว้ในหนังสือ “อัลเยาวฺม์ วัลลัยละฮฺ” ของท่าน (เลขที่ 110) ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ (ร.ฮ.) ก็ระบุเอาไว้ในหนังสืออัลอัซฺก๊ารของท่านในหน้า 69 (อันนู๊ร อัลอิสลามียะฮฺ เบรุต)

และอิบนุ ซัมอูนในอัลอะมาลีย์ (ก๊อฟ 176/2) อีกสายรายงานหนึ่งจากท่านอนัส (ร.ฎ.) เช่นกัน โดยใช้สำนวนว่า : ปรากฏว่าท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เมื่อท่านละหมาดเสร็จ ท่านได้ลูบหน้าผากของท่านด้วยฝ่ามือขวาและลูบผ่านบนใบหน้าของท่านจนมาถึงเคราของท่าน แล้วกล่าวว่า :

بِسْمِ اللهِ الَّذِىْ لاَإِلهَ إِلاَّهُوَعَالِمُ الْغَيْبِ إلخ

ซึ่งสายรายงานนี้อบูนุอัยฺม์ รายงานเอาไว้ในอัคบ๊าร อัศบะฮาน (2/104) ในส่วนของสายรายงานแรกนั้น ท่านอัลบัซซ๊าร, อัฏฏอบรอนีย์ในอัลเอาซัฏ และอิบนุ อะดีย์ได้รายงานเอาไว้ ทั้งหมดรายงานจากท่านอนัส (ร.ฎ.)

นักวิชาการหะดีษได้วิเคราะห์สายรายงานของหะดีษข้างต้นแล้วได้สรุปว่าเป็นหะดีษที่อ่อนถึงอ่อนมาก (ฎ่ออีฟ-ฎ่ออีฟ ญิดดัน) -ดูอัลฟุตูฮาตฺ อัรร็อบฺบานียะฮฺ อะลัล อัซก๊าร อันนะวาวียะฮฺ ; ดารุ้ลฟิกริ เล่มที่ 2 หน้า 57) โดยเฉพาะในสายรายงานของหะดีษที่ 2 นั้น มีดาวุด อิบนุ อัลมิฮฺบัรฺ ปรากฏอยู่ซึ่งบุคคลผู้นี้ ท่านอิบนุ ฮิบบาน ระบุว่า กุหะดีษโดยอ้างสายรายงานถึงผู้ที่ไว้ใจได้ (ซิกอตฺ) -(ดูตัฟซีฮุชชะรีอะฮฺ อัลมัรฟูอะฮฺ ; อิบนุ อิร๊อก อัลกินานีย์ เล่มที่ 1 หน้า 59)

และในสายรายงานของหะดีษแรก ปรากฏว่ามีสลาม อัฏฎ่อวีล ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นนักกุหะดีษ (อ้างแล้ว 1/64) จากซัยดฺ อัลอัมฺมีย์ ซี่งถูกกล่าวหาว่าเป็นนักกุหะดีษเช่นกัน (อ้างแล้ว 1/62) เมื่อเป็นเช่นนี้การลูบหน้าหลังการให้สล่ามครั้งที่สองจึงไม่มีหลักฐานส่งเสริมให้กระทำ เพราะหลักฐานที่ระบุถึงการกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นเพียงแค่หะดีษฎ่ออีฟ (อ่อน) เท่านั้นแต่ถึงขั้นฎ่ออีฟมาก ๆ หรือเป็นหะดีษเมาฎูอฺ (หะดีษเก๊) เลยทีเดียว

จึงได้ข้อสรุปว่า ไม่มีซุนนะฮฺให้ทำการลูบหน้าหลังการให้สล่ามครั้งที่ 2 แต่อย่างใด

ส่วนการชี้นิ้วชี้ขณะกล่าวชะฮาดะฮฺในการอ่านตะชะฮฺฮุดนั้นมีซุนนะฮฺให้กระทำเนื่องจากมีหลักฐานที่ถูกต้องรายงานโดยมุสลิมจากหะดีษของท่านอิบนุ อุมัร (ร.ฎ.) และท่านอิบนุ อัซซุบัยรฺ (ร.ฎ.) ว่าท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ชี้นิ้วของท่านในการตะชะฮฺฮุด ทั้งนี้นักวิชาการสังกัดมัซฮับอัชชาฟิอีย์กล่าวว่า : ถือตามที่มีคำกล่าวและประเด็นต่าง ๆ ทั้งหมด ก็มีซุนนะฮฺให้ชี้นิ้วชี้ข้างขวาและยกนิ้วนั้นขึ้น (ชี้นิ้ว) เมื่อถึงอักษรฮัมซะฮฺจากคำกล่าวที่ว่า (لاإله الاالله) -คือฮัมซะฮฺที่คำว่า อิลฺลัลลอฮฺ (إلاالله)

โดยอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) ได้ระบุเป็นตัวบทเอาไว้ว่าส่งเสริมให้ทำการชี้นั้น (อิชาเราะฮฺ) เนื่องจากมีบรรดาหะดีษรายงานมา และบรรดานักวิชาการสังกัดมัซฮับอัชชาฟิอีย์ยังกล่าวอีกว่า : ให้ชี้ด้วยนิ้วชี้เพียงครั้งเดียว แต่อิหม่ามอัรรอฟิอีย์ได้เล่าประเด็นหนึ่งเอาไว้ว่า ให้ชี้นิ้วชี้นั้นตลอดการอ่านตะชะฮฺฮุด ซึ่งเป็นประเด็นที่อ่อน (ฎ่ออีฟ) -ซึ่งในหนังสืออัลฟิกฮุ้ลมันฮะญีย์ เล่มที่ 1 หน้า 154 ก็ถือตามคำเล่าของอิหม่ามอัรรอฟิอีย์นี้เช่นกัน-

ส่วนที่ว่าเมื่อชี้นิ้วชี้แล้วต้องกระดิกนิ้วด้วยหรือไม่? กรณีนี้มีหลายประเด็น กล่าวคือ
1. ประเด็นที่ถูกต้องและปวงปราชญ์ในมัซฮับส่วนใหญ่ชี้ขาด คือ ไม่ต้องกระดิก ถ้าหากกระดิก ถือว่ามักรูฮฺ แต่ไม่ทำให้ละหมาดเสีย เพราะเป็นการกระทำเพียงเล็กน้อย

2. ห้าม (ฮ่ารอม) กระดิก ถ้าหากกระดิกถือว่าเสียละหมาด โดยเล่าจากอบีอะลี อิบนุ อบีฮุรอยเราะฮฺ ซึ่งเป็นสิ่งที่แหวกแนว (ช๊าซฺ) และอ่อน

3. ส่งเสริมให้กระดิก ประเด็นนี้เล่าโดยชัยคฺ อบู ฮามิด, อัลบันดะนัยญีย์, อัลกอฎีย์ อบู อัตตอยยิบฺและท่านอื่นๆ โดยฝ่ายนี้อาศัยหลักฐานจากหะดีษที่รายงานโดยวาอิ้ลฺ อิบนุ ฮุจญ์ริน (ร.ฎ.) –อัลมัจญ์มูอฺ ชัรฮุ้ลมุฮัซซับ ; อันนะวาวีย์ เล่มที่ 3/343)






ส่วนการชี้นิ้วชี้ ขณะกล่าวชะฮาดะฮฺ ในการอ่านตะชะฮฺฮุดนั้น มีซุนนะฮฺให้กระทำ เนื่องจากมีหลักฐาน ที่ถูกต้อง รายงานโดยมุสลิม จากหะดีษของท่านอิบนุ อุมัร (ร.ฎ.) และท่านอิบนุ อัซซุบัยรฺ (ร.ฎ.) ว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ชี้นิ้วของท่าน ในการตะชะฮฺฮุด ทั้งนี้ นักวิชาการ สังกัดมัซฮับอัชชาฟิอีย์ กล่าวว่า : ถือตามที่มีคำกล่าว และประเด็นต่าง ๆ ทั้งหมด ก็มีซุนนะฮฺ ให้ชี้นิ้วชี้ข้างขวา และยกนิ้วนั้นขึ้น (ชี้นิ้ว) เมื่อถึงอักษรฮัมซะฮฺ จากคำกล่าวที่ว่า (لاإله الاالله) -คือฮัมซะฮฺที่คำว่า อิลฺลัลลอฮฺ (إلاالله)

โดยอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) ได้ระบุเป็นตัวบทเอาไว้ว่า ส่งเสริมให้ทำการชี้นั้น (อิชาเราะฮฺ) เนื่องจากมีบรรดาหะดีษ รายงานมา และบรรดานักวิชาการ สังกัดมัซฮับอัชชาฟิอีย์ ยังกล่าวอีกว่า : ให้ชี้ด้วยนิ้วชี้ เพียงครั้งเดียว แต่อิหม่ามอัรรอฟิอีย์ ได้เล่าประเด็นหนึ่งเอาไว้ว่า ให้ชี้นิ้วชี้นั้น ตลอดการอ่านตะชะฮฺฮุด ซึ่งเป็นประเด็นที่อ่อน (ฎ่ออีฟ) -ซึ่งในหนังสืออัลฟิกฮุ้ลมันฮะญีย์ เล่มที่ 1 หน้า 154 ก็ถือตามคำเล่า ของอิหม่ามอัรรอฟิอีย์นี้ เช่นกัน-

ส่วนที่ว่าเมื่อชี้นิ้วชี้แล้ว ต้องกระดิกนิ้วด้วยหรือไม่? กรณีนี้มีหลายประเด็น กล่าวคือ

1. ประเด็นที่ถูกต้อง และปวงปราชญ์ ในมัซฮับส่วนใหญ่ ชี้ขาด คือ ไม่ต้องกระดิก ถ้าหากกระดิก ถือว่ามักรูฮฺ แต่ไม่ทำให้ละหมาดเสีย เพราะเป็นการกระทำเพียงเล็กน้อย

2. ห้าม (ฮ่ารอม) กระดิก ถ้าหากกระดิกถือว่า เสียละหมาด โดยเล่าจากอบีอะลี อิบนุ อบีฮุรอยเราะฮฺ ซึ่งเป็นสิ่งที่แหวกแนว (ช๊าซฺ) และอ่อน

3. ส่งเสริมให้กระดิก ประเด็นนี้ เล่าโดยชัยคฺ อบู ฮามิด, อัลบันดะนัยญีย์, อัลกอฎีย์ อบู อัตตอยยิบฺ และท่านอื่นๆ โดยฝ่ายนี้ อาศัยหลักฐานจากหะดีษ ที่รายงานโดยวาอิ้ลฺ อิบนุ ฮุจญ์ริน (ร.ฎ.) –อัลมัจญ์มูอฺ ชัรฮุ้ลมุฮัซซับ ; อันนะวาวีย์ เล่มที่ 3/343)


http://www.piwdee.net/Lamat/lamat21.html




ลืมอ่านฟาติหะฮ์ในละหมาด

« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 11:02:52 AM »



ลืมอ่านฟาติหะฮ์ในละหมาด หรือไม่แน่ใจว่าได้อ่านหรือไม่ รอกาอัตนั้นใช้ได้หรือไม่
หลังละหมาดเสร็จ ต้องทำเพิ่มอีก รอกาอัตหรือไม่ ต้องสุยุดสะอ์วีย์หรือไม่
ขอบคุณครับ


ถามโดย เตาฟิก
« เมื่อ: มีนาคม 14, 2010, 10:36:55 PM »




บันทึกการเข้า

--------------------------------------------------------------------------------




อ.อาลี เสือสมิง
Administrator
Hero Member

กระทู้: 2025








Re: ลืมอ่านฟาติหะฮ์ในละหมาด

« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 11:03:05 AM »



الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

ในกรณีของบุคคลที่ละทิ้งการอ่าน \"ฟาติหะฮฺ\" ในสภาพที่ลืม จนกระทั่งให้สลามหรือจนกระทั่งลงรุกัวอฺมี 2 คำกล่าวอันเป็นที่รู้กัน

ที่ถูกต้องที่สุดด้วยการเห็นพ้องของอัศหาบุชชาฟิอียะฮฺ อันเป็นคำกล่าวใหม่ (قول جديد) ถือว่าการอ่านฟาติหะฮฺไม่ตกไปจากเขาผู้นั้น ทว่าหากเขานึกขึ้นได้ในขณะรุกัวอฺหรือหลังจากรุ่กัวอฺก่อนลุกขึ้นทำรอกอะฮฺที่ 2 ก็ให้เขาย้อนกลับไปยืนตรงและอ่านฟาติหะฮฺ และให้ถือว่ารอกอะฮฺแรกยกเลิกไป (ไม่นับเป็นรอกอะฮฺ) และรอกอะฮฺที่สองก็กลายเป็นรอกอะฮฺที่ 1 และหากว่านึกขึ้นได้หลังการให้สล่าม โดยการคั่นระหว่างการให้สล่ามกับการนึกขึ้นได้ยังใกล้กัน (ไม่ห่างกันนาน) ก็จำเป็นต้องหวนกลับสู่การละหมาดและกระทำให้ครบถ้วนต่อไป โดยให้ทำอีก 1 รอกอะฮฺ และสุญูดซะฮฺวีย์ด้วย แต่ถ้าห่างกันนานเกินไปก็จำเป็นต้องเริ่มละหมาดใหม่

ส่วนคำกล่าวที่สองเป็นคำกล่าวเดิม (قول قديم) ถือว่าการอ่านฟาติหะฮฺนั้นตกไปด้วยการลืม (คือถือว่าผ่านพ้นไปแล้ว) -กิตาบ อัลมัจญ์มูอฺ ชัรหุ้ลมุอัซซับ เล่มที่ 3 หน้า 288-





http://alisuasaming.com/webboard/index.php?topic=1237.0




والله أعلم بالصواب



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น