ฮะดิส

                                 ฮะดิส เรื่อง…..บททดสอบจากผู้กดขี่ ผู้ปกครองที่เผด็จการและผู้อธรรมทั้งหลาย

มีบันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ จากการรายงานของท่านค็อบบาบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
«شَكَوْنَا إِلَى رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهْوَ مُتَوَسِّدٌ بُرْدَةً لَهُ فِى ظِلِّ الْكَعْبَةِ، فَقُلْنَا : أَلاَ تَسْتَنْصِرُ لَنَا ؟ أَلاَ تَدْعُو لَنَا ؟. فَقَالَ : «قَدْ كَانَ مَنْ قَبْلَكُمْ يُؤْخَذُ ا...لرَّجُلُ فَيُحْفَرُ لَهُ فِى الأَرْضِ فَيُجْعَلُ فِيهَا، فَيُجَاءُ بِالْمِنْشَارِ فَيُوضَعُ عَلَى رَأْسِهِ فَيُجْعَلُ نِصْفَيْنِ، وَيُمَشَّطُ بِأَمْشَاطِ الْحَدِيدِ مَا دُونَ لَحْمِهِ وَعَظْمِهِ، فَمَا يَصُدُّهُ ذَلِكَ عَنْ دِينِهِ»
ความว่า พวกเราได้มาร้องทุกข์ต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยที่ท่านกำลังหนุนบนผ้าคลุมของท่านใต้ร่มเงาของกะอฺบะฮฺ พวกเราจึงได้กล่าวว่า “ท่านจะไม่ขอความช่วยเหลือให้แก่เราหรือ ? ท่านจะไม่ขอดุอาอ์ให้แก่เราหรือ ?” ท่านเราะสูลุลลอฮฺ จึงกล่าวตอบว่า “เคยมีชนก่อนหน้าพวกท่านที่ถูกนำตัวไป แล้วได้มีการขุดหลุมในดินเพื่อวางตัวเขาลงไปในนั้น แล้วเลื่อยก็ถูกนำมาวางไว้บนหัวของเขา แล้วก็เลื่อยหัวของเขาจนแยกออกเป็นสองส่วน และเขาได้ถูกหวีด้วยหวีเหล็กจนกระทั่งเหลือแต่เนื้อและกระดูก แต่สิ่งเหล่านั้นก็ไม่สามารถจะหันเหเขาให้ออกจากศาสนาได้แม้แต่น้อย”

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ดู ฟัตหุลบารี 12/315)



ฮะดิส เรื่อง…..บททดสอบจากดัจญาล

นี่คือบททดสอบอันยิ่งใหญ่ที่สุดของชีวิต ดังที่ท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลอลฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«يَا أَيُّهَا الناَّسُ إِنَّهَا لَمْ تَكُنْ فِتْنَةٌ عَلَى وَجْهِ الْأَرْضِ مُنْذُ ذَرَأَ اللهُ آدَمَ أَعْظَمَ مِنْ فِتْنَةِ الدَّجَّالِ .. يَا عِبَادِ اللهِ، أَيُّهَا النَّاسُ : فاَثْبُتُوا فَإِنِّيْ سَأَصِفُهُ لَكُمْ صِفَةً لَمْ يَصِفْهَا إِياَّهُ قَ...بْلِيْ نَبِيٌّ .. »
ความว่า “โอ้มนุษย์เอ๋ย จะไม่มีบททดสอบใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นบนหน้าแผ่นดินนี้ นับตั้งแต่อัลลอฮฺได้สร้างท่านนบีอาดัมขึ้นมา จะยิ่งใหญ่ไปกว่าบททดสอบของดัจญาล... โอ้บ่าวของอัลลอฮฺเอ๋ย โอ้มนุษย์เอ๋ย จงยืนหยัดอย่างหยัดยืนเถิด เพราะฉันจะบอกถึงลักษณะของมันให้แก่พวกท่าน ด้วยคุณลักษณะที่ไม่เคยมีนบีท่านใดก่อนหน้าฉันได้บอกถึง”

(บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ 2/1359 ดู เศาะฮี หุลญามิอฺ 7752)


ฮะดิส เรื่อง…..เกี่ยวกับสภาพของการยืนหยัดอย่างมั่นคงของหัวใจและการหันเหของมันในช่วงขณะที่ต้องเผชิญกับบททดสอบต่าง ๆ นั้น

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«تُعْرَضُ الْفِتَنُ عَلَى الْقُلُوبِ كَالْحَصِيرِ عُودًا عُودًا، فَأَيُّ قَلْبٍ أُشْرِبَهَا نُكِتَ فِيهِ نُكْتَةٌ سَوْدَاءُ، وَأَيُّ قَلْبٍ أَنْكَرَهَا نُكِتَ فِيهِ نُكْتَةٌ بَيْضَاءُ، حَتَّى تَصِيرَ عَلَى قَلْبَيْنِ ...عَلَى أَبْيَضَ مِثْلِ الصَّفَا فَلَا تَضُرُّهُ فِتْنَةٌ مَا دَامَتْ السَّمَاوَاتُ وَالْأَرْضُ، وَالْآخَرُ أَسْوَدُ مُرْبَادًّا كَالْكُوزِ مُجَخِّيًا لَا يَعْرِفُ مَعْرُوفًا وَلَا يُنْكِرُ مُنْكَرًا إِلَّا مَا أُشْرِبَ مِنْ هَوَاهُ»

ความว่า “ฟิตนะฮฺต่าง ๆ จะส่งผลต่อบรรดาหัวใจทั้งหลาย เหมือนเช่นเสื่อที่สร้างรอยให้กับคนนอนรอยแล้วรอยเล่า หัวใจดวงใดที่ได้ดื่มด่ำไปกับมัน ก็จะทำให้เกิดจุดดำจุดหนึ่ง และหัวใจดวงใดที่ปฏิเสธมัน ก็จะทำให้เกิดจุดขาวจุดหนึ่ง กระทั่งหัวใจได้แยกออกเป็นสองดวง ดวงหนึ่งมีความขาวที่บริสุทธิ์ซึ่งฟิตนะฮฺใด ๆ จะไม่สามารถสร้างความเสียหายแก่มันได้อีกตราบเท่าที่บรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน นี้ยังคงมีอยู่ ส่วนอีกดวงหนึ่งก็จะดำคล้ำดั่งกระทะที่หงายก้น โดยที่มันจะไม่รู้จักสิ่งที่ดีงามและจะไม่ปฏิเสธสิ่งชั่วร้ายใด ๆ เลย เว้นแต่จะคล้อยตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของมันเท่านั้น”

(บันทึกโดย อิมามอะหฺมัด 5/386 และมุสลิม 1/128 ซึ่งสำนวนเป็นของท่านมุสลิม)


ฮะดิส เรื่อง…..การเตาบะฮฺ =กลับเนื้อกลับตัว

وعن أبي هريرةَ ت قَالَ : سمعْتُ رسولَ الله ص يقول : «والله إنِّي لأَسْتَغْفِرُ الله وأَتُوبُ إِلَيْه في اليَوْمِ أَكْثَرَ مِنْ سَبْعِينَ مَرَّةً» رَوَاهُ البُخَارِيُّ .
ความว่า: และจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ ت เล่าว่า: ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص กล่าวว่า: “ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ แท้จริงฉันขอลุแก่โทษ (อิสติฆฟารฺ) และกลับตัว (เตาบัต) ต่ออัลลอฮฺม...ากกว่า 70 ครั้งในหนึ่งวัน” (หะดีษบันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ)

وعن الأَغَرِّ بنِ يسار المزنِيِّ ت قَالَ : قَالَ رَسُول الله ص : «يَا أَيُّهَا النَّاسُ ، تُوبُوا إِلى اللهِ واسْتَغْفِرُوهُ ، فإنِّي أتُوبُ في اليَومِ مئةَ مَرَّةٍ » رَوَاهُ مُسْلِم.
ความว่า: และจากท่านอัล-อะฆ็อรฺ อิบนุ ยะสารฺ อัล-มุซะนียฺ ت เล่าว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص กล่าวว่า: “โอ้มนุษย์เอ๋ย! พวกท่านจงกลับเนื้อกลับตัว(เตาบะฮฺ)สู่อัลลอฮฺเถิด และพวกท่านจงขอลุแก่โทษ (อิสติฆฟารฺ) ต่อพระองค์ เพราะแท้จริงฉันกล่าวอิสติฆฟารฺกลับตัวไปยังพระองค์วันละ 100 ครั้ง”

(หะดีษบันทึกโดยมุสลิม)

وعن أبي حمزةَ أنسِ بنِ مالكٍ الأنصاريِّ- خادِمِ رسولِ الله ص - ت قَالَ : قَالَ رَسُولُ الله ص : «للهُ أفْرَحُ بِتَوْبَةِ عَبْدِهِ مِنْ أَحَدِكُمْ سَقَطَ عَلَى بَعِيرهِ وقد أضلَّهُ في أرضٍ فَلاةٍ» مُتَّفَقٌ عليه .
وفي رواية لمُسْلمٍ : «للهُ أَشَدُّ فَرَحاً بِتَوبَةِ عَبْدِهِ حِينَ يتوبُ إِلَيْهِ مِنْ أَحَدِكُمْ كَانَ عَلَى رَاحِلَتهِ بأرضٍ فَلاةٍ ، فَانْفَلَتَتْ مِنْهُ وَعَلَيْهَا طَعَامُهُ وَشَرَابهُ فأَيِسَ مِنْهَا ، فَأَتى شَجَرَةً فاضطَجَعَ في ظِلِّهَا وقد أيِسَ مِنْ رَاحلَتهِ ، فَبَينَما هُوَ كَذَلِكَ إِذْ هُوَ بِها قائِمَةً عِندَهُ ، فَأَخَذَ بِخِطامِهَا ، ثُمَّ قَالَ مِنْ شِدَّةِ الفَرَحِ : اللَّهُمَّ أنْتَ عَبدِي وأنا رَبُّكَ ! أَخْطَأَ مِنْ شِدَّةِ الفَرَحِ» .
ความว่า: และจากท่านอบูหัมซะฮฺ อนัส อิบนุ มาลิก อัล-อันศอรีย์ ت – คนรับใช้ของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص- เล่าว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص กล่าวว่า: “อัลลอฮฺทรงดีใจต่อการกลับตัว (เตาบะฮฺ) ของบ่าวของพระองค์ยิ่งกว่าความดีใจของคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านที่ได้พบอูฐ ของเขาโดยบังเอิญซึ่งมันได้จากเขาไปในแผ่นดินที่เวิ้งกว้าง ”

มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ

และในการรายงานของมุสลิมมีสำนวนว่า: “อัลลอฮฺทรงดีใจต่อการกลับตัว (เตาบะฮฺ) ของบ่าวของพระองค์ในขณะที่เขาทำการกลับตัว (เตาบะฮฺ) ยิ่งกว่าคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านซึ่งได้นั่งอยู่บนสัตว์พาหนะของเขาในแผ่น ดินที่เวิ้งกว้าง แล้วมันก็หลุดหนีไปโดยที่อาหารและน้ำดื่มติดไปด้วย เขาหมดหวังที่จะได้เจอมันอีก แล้วเขาก็ไปลงนอนใต้ร่มเงาไม้ในสภาพที่หมดหวังจะเจอกับพาหนะของเขาอีก และในขณะที่เขาอยู่ในสภาพนั้นจู่ๆ มันก็ยืนอยู่ต่อหน้าเขา แล้วเขาก็จับเชือก และได้กล่าวเนื่องจากความดีใจอย่างที่สุดว่า โอ้อัลลอฮฺ พระองค์คือบ่าวของฉัน และฉันคือพระเจ้าของพระองค์ เขาพูดผิดไปเนื่องจากความหลงดีใจอย่างที่สุด”

وعن أبي موسَى عبدِ اللهِ بنِ قَيسٍ الأشْعريِّ ت عن النَّبيّ ص قَالَ : «إنَّ الله تَعَالَى يَبْسُطُ يَدَهُ بالليلِ لِيَتُوبَ مُسِيءُ النَّهَارِ ، ويَبْسُطُ يَدَهُ بالنَّهَارِ لِيَتُوبَ مُسِيءُ اللَّيلِ ، حَتَّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ مِنْ مَغْرِبِها» رواه مسلم.
ความว่า: และจากท่านอบูมูซา อับดุลลอฮฺ อิบนุ ก็อสฺ อัล-อัชอะรีย์ ت จากท่านนบี ص ท่านกล่าวว่า: “แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงแบพระหัตถ์ของพระองค์ในเวลากลางคืนเพื่อรับการกลับตัว (เตาบะฮฺ) ของผู้ทำผิดในเวลากลางวัน และทรงแบพระหัตถ์ในเวลากลางวันเพื่อรับการกลับตัวของผู้ทำผิดในเวลากลางคืน จนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก(หมายถึงปรากฏสัญญาณวันกิยามะฮฺ)”

(หะดีษบันทึกโดยมุสลิม)


ฮะดิส เรื่อง…..อย่าละเลยแม้...ว่าการงานนั้นจะน้อยนิด

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«سَدِّدُوْا وَقَارِبُوْا، وَأَبْشِرُوْا ، فَإِنَّهُ لَايُدْخِلُ أَحَدًا الجَنَّةَ عَمَلُهُ» قَالُوا : وَلَا أَنْتَ يَارَسُوْلَ اللهِ؟ قَالَ : «وَلَا أَنَا إِلَّا أَنْ يَتَغَمَّدَنِيَ اللهُ بِمَغْفِرَةٍ وَرَحْمَةٍ» [البخاري برقم 2818، مسلم برقم ...6467]
ความว่า “พวกท่านจงปฏิบัติคุณงามความดี และให้มีความสม่ำเสมอ (แม้การงานนั้นจะน้อยนิด) และจงแจ้งข่าวดีกัน แท้จริงไม่มีบุคคลใดที่จะได้เข้าสวรรค์ด้วยกับการงานของเขา” มีคนถามท่านเราะสูลว่า “แม้แต่ท่านกระนั้นหรือ?” ท่านตอบว่า “ใช่ นอกเสียจากว่าอัลลอฮฺจะทรงให้ฉันตายลงในสภาพที่ฉันได้รับความเมตตาและความ โปรดปรานของพระองค์”

(บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 2818 และมุสลิม 6467)


ฮะดิส เรื่อง…..ชีวิตกับการทดสอบ

มี รายงานจากค็อบบาบ อิบนุล-อะร็อต เล่าว่า ฉันได้ขอให้ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ช่วยปกป้องพวกเราให้ท่านขอต่ออัลลอฮฺเพื่อช่วยเหลือพวกเรา (ในขณะที่เราได้รับการรังแกจากบรรดามุชริกีน ท่านจึงเตือนสติเพื่อให้เขามีความอดทนว่า
«كَانَ الرَّجُلُ فِيمَنْ قَبْلَكُمْ يُحْفَرُ لَهُ فِي الْأَرْضِ فَيُجْعَلُ فِيهِ، فَيُجَاءُ بِالْمِنْشَارِ فَيُوضَعُ عَلَى... رَأْسِهِ، فَيُشَقُّ بِاثْنَتَيْنِ، وَمَا يَصُدُّهُ ذَلِكَ عَنْ دِينِهِ، وَيُمْشَطُ بِأَمْشَاطِ الْحَدِيدِ مَا دُونَ لَحْمِهِ مِنْ عَظْمٍ أَوْ عَصَبٍ، وَمَا يَصُدُّهُ ذَلِكَ عَنْ دِينِهِ، وَاللَّهِ لَيُتِمَّنَّ هَذَا الْأَمْرَ، حَتَّى يَسِيرَ الرَّاكِبُ مِنْ صَنْعَاءَ إِلَى حَضْرَمَوْتَ، لَا يَخَافُ إِلَّا اللَّهَ أَوْ الذِّئْبَ عَلَى غَنَمِهِ، وَلَكِنَّكُمْ تَسْتَعْجِلُونَ» [رواه البخاري برقم 3612]
ความว่า “ประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้าโดนจับฝังลงในหลุมค่อนตัว แล้วถูกผ่าศีรษะด้วยเลื่อยออกเป็นสองซีก แต่ก็ไม่ทำให้พวกเขาละทิ้งศาสนาได้ บางครั้งถูกทรมานด้วยการขูดเนื้อหนังร่างกายด้วยคราดเหล็ก แต่ก็ไม่ทำให้พวกเขาละทิ้งศาสนาได้ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าทุกอย่างจะดีขึ้นอย่างแน่นอน กระทั่งว่าการเดินทางจากเมืองศ็อนอาอ์ไปยังเมืองหัฎเราะเมาตฺ (เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเยเมน) จะปลอดภัยไม่มีสิ่งที่น่ากลัวใดๆ เว้นแต่กลัวอัลลอฮฺเท่านั้น หรือแค่กลัวว่าสุนัขจิ้งจอกจะกินแกะเท่านั้น แต่พวกเจ้าใจร้อนเกินไปต่างหากเล่า”

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข : 3612)

สะอัด บิน อบี วักกอศ เราะยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
قُلْتُ: يَا رَسُولَ اللَّهِ أَيُّ النَّاسِ أَشَدُّ بَلَاءً؟ قَالَ: «الْأَنْبِيَاءُ، ثُمَّ الْأَمْثَلُ فَالْأَمْثَلُ، فَيُبْتَلَى الرَّجُلُ عَلَى حَسَبِ دِينِهِ، فَإِنْ كَانَ دِينُهُ صُلْبًا اشْتَدَّ بَلَاؤُهُ، وَإِنْ كَانَ فِي دِينِهِ رِقَّةٌ ابْتُلِيَ عَلَى حَسَبِ دِينِهِ، فَمَا يَبْرَحُ الْبَلَاءُ بِالْعَبْدِ حَتَّى يَتْرُكَهُ يَمْشِي عَلَى الْأَرْضِ مَا عَلَيْهِ خَطِيئَةٌ» [رواه الترمذي برقم 2398]
ความว่า ฉันถามท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถึงผู้ที่ถูกทดสอบจากอัลลอฮฺมากที่สุดว่าเป็นใคร? ท่านตอบว่า “คือ บรรดานบี ถัดมาก็เป็นผู้ที่มีสถานะที่ใกล้เคียงกับบรรดานบี ต่อๆ กันไปตามลำดับ คนผู้หนึ่งจะได้รับการทดสอบขึ้นอยู่กับความเคร่งครัดต่อศาสนาของเขา หากเขาเคร่งครัดมากจะถูกทดสอบมากกว่าผู้ที่ไม่เคร่งครัด การทดสอบจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งความผิดได้ถูกลบล้างจนหมดไปจากตัว เขา”

(บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข : 2398)


 ฮะดิส เรื่อง…..ความอ่อนแอ .....การลุ่มหลงในดุนยาและรังเกียจต่อความตาย

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า
«يُوشِكُ الْأُمَمُ أَنْ تَدَاعَى عَلَيْكُمْ، كَمَا تَدَاعَى الْأَكَلَةُ إِلَى قَصْعَتِهَا»، فَقَالَ قَائِلٌ : وَمِنْ قِلَّةٍ نَحْنُ يوْمَئِذٍ؟ قَالَ : «بَلْ أَنْتُمْ يَوْمَئِذٍ كَثِيرٌ وَلَكِنَّكُمْ غُثَاءٌ كَغُثَاءِ السَّيْلِ، وَلَيَنْزَعَنَّ اللَّهُ مِنْ صُدُورِ عَدُوِّك...ُمْ الْمَهَابَةَ مِنْكُمْ، وَلَيَقْذِفَنَّ اللَّهُ فِي قُلُوبِكُمْ الْوَهْنَ» فَقَالَ قَائِلٌ : يَا رَسُولَ اللَّهِ وَمَا الْوَهْنُ؟، قَالَ: «حُبُّ الدُّنْيَا وَكَرَاهِيَةُ الْمَوْتِ» رواه أبوداود برقم 4297]
ความว่า “ประชาชาติต่างๆ เกือบจะรุมกินโต๊ะพวกเจ้า ดั่งผู้ที่มารุมล้อมเพื่อรับประทานอาหารของพวกเขา” มีผู้ถามขึ้นว่า ในวันนั้นพวกเรามีจำนวนน้อยใช่ไหม? ท่านตอบว่า “เปล่าหรอก ทว่าพวกเจ้ามีจำนวนมาก แต่พวกเจ้ามีมากเหมือนกับฟองน้ำที่ลอยอยู่เหนือพื้นน้ำ โดยที่อัลลอฮฺจะทำให้ศัตรูไม่หวั่นกลัวต่อพวกเจ้า และทำให้จิตใจของพวกเจ้าอ่อนแอ” ชายผู้หนึ่งถามท่านว่า แล้วเรามีความอ่อนแออย่างไรหรือครับท่าน ท่านนบีตอบว่า “ความอ่อนแอ คือ การลุ่มหลงในดุนยาและรังเกียจต่อความตาย”

(บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข : 4297)
 


 ฮะดิส เรื่อง…..อย่าดูถูกผู้อื่น

عَنْ اَبِىْ هُرَيْرَ ةَ رضِىاللهُ عَنْهُ اَنَّ رسُوْاللهِ صَلَّىاللهَ عَلَيْهِ وَسَلَّمِ قَالَ بِحَسْبِ امْرِىٍ مِنَ الشَّرّ اَنْ يَحْقِرَ اَخَا هُ الْمُسْلِمَ رواه مسلم

จากอบีฮุรอยเราะฮ์..ท่านศาสดาตรัสว่า... “เป็นความชั่วอันเพียงพอแล้วสำหรับบุคคลหนึ่ง การที่เขาดูถูกพี่น้องมุสลิมของเขา”

บันทึกโดยมุสลิม


ฮะดิส เรื่อง…..การทำดีคือมารยาทที่งดงาม

قَالَ رَسُوْلُ اللّهَ صَلَّى اللّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : اَلْبِرُّ حُسْنُ الْخُلُقِ، وَالإثْمُ مَاحَاكَ فِيْ نَفْسِكَ وَكَرِهْتَ أنْ يَطْلِعَ عَلَيْهِ النَّاسُ

ท่านร่อซูลุลลอฮฯ กล่าวว่า... “การทำดีคือมารยาทที่งดงาม ส่วนความผิดก็คือสิ่งที่ทำให้เกิดความวุ่นวายในจิตใจของท่าน และท่านไม่ชอบให้มนุษย์รู้เห็นมัน”

บันทึกโดย มุสลิม
………………………..


ฮะดิส เรื่อง…ผู้ที่ตื่นเช้าขึ้นมาอย่างปลอดภัยในบ้านของเขา

หะดีษที่รายงานโดยท่านอุบัยดิลลาฮฺ บิน มิหฺศ็อน อัล-ค็อฏมียฺ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ أَصْبَحَ مِنْكُمْ آمِنًا فِي سِرْبِهِ، مُعَافًى فِي جَسَدِهِ، عِنْدَهُ قُوتُ يَوْمِهِ، فَكَأَنَّمَا حِيزَتْ لَهُ الدُّنْيَا» [الترمذي برقم 2346]
ความว่า “ผู้ใดที่ตื่นเช้ามาพบกับสภาวะที่สงบสุขไม่หวาดหวั่นต่...อชีวิต ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย มีอาหารการกินที่หะลาลอย่างเพียงพอ เหมือนกับว่าความเปี่ยมสุขแห่งโลกนี้ได้ถูกจัดเตรียมไว้สำหรับเขา”

(บันทึกโดยอัต-ติรมิซียฺ หมายเลขหะดีษ 2346 )

มีรายงานจากอนัส แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวเป็นดุอาอ์ว่า
«اللهم إِنِّيْ أَعُوْذُ بِكَ مِنَ الْبَرَصِ وَالْجُنُوْنِ وَالجُذَامِ، وَمِنْ سَيِّىءِ الأَسْقَامِ» [أخرجه أحمد في المسند 3/192]
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้รอดพ้นจากโรคเรื้อน วิกลจริต และจากโรคที่ร้ายแรง”

( บันทึกโดยอะหฺมัด หมายเลขหะดีษ 3/192)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะขอต่ออัลลอฮฺทั้งยามเช้าและยามบ่ายที่จะให้มีความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ทั้งแก่ตัวท่านเอง ครอบครัว ทรัพย์สิน และท่านยังได้ส่งเสริมให้บรรดาเศาะหาบะฮฺได้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน ดังหะดีษของอับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า

«لَمْ يَكُنْ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَدَعُ هَؤُلَاءِ الدَّعَوَاتِ حِينَ يُمْسِي وَحِينَ يُصْبِحُ : اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ الْعَافِيَةَ فِي الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ، اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ الْعَفْوَ وَالْعَافِيَةَ فِي دِينِي وَدُنْيَايَ وَأَهْلِي وَمَالِي ...» [أبو داود برقم 5074]
ความว่า “ท่านเราะสูลไม่เคยละเลยที่จะกล่าวคำเหล่านี้ทั้งยามเช้าและยามเย็นว่า โอ้อัลลอฮฺข้าพระองค์ขอให้มีความปลอดภัยในดุนยาและอาคิเราะฮฺ โอ้อัลลอฮฺข้าพระองค์ขอให้มีความสุขความปลอดภัยในศาสนา ดุนยา ครอบครัวและทรัพย์สินของข้าพระองค์ด้วยเถิด ...”

(บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลขหะดีษ 5074)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«سَلُوا اللَّهَ الْعَفْوَ وَالْعَافِيَةَ، فَإِنَّ أَحَدًا لَمْ يُعْطَ بَعْدَ الْيَقِينِ خَيْرًا مِنْ الْعَافِيَةِ» [الترمذي برقم 3558]
ความว่า “พวกเจ้าจงขอให้มีความสุขสบาย ปลอดจากโรคภัยทั้งปวงเถิด เพราะไม่มีความดีใดๆ ที่คนๆ หนึ่งจะได้รับหลังจากการยะกีน(ความมั่นใจต่ออัลลอฮฺ) ที่จะดียิ่งไปกว่าการมีพลานามัยที่ดี”

( บันทึกโดยติรมิซียฺ หมายเลขหะดีษ 3558 )

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกไว้ว่าคนส่วนใหญ่จะไม่แยแส และมักจะปล่อยปะละเลยต่อความโปรดปรานอันนี้ ดังที่ท่านกล่าวว่า
«نِعْمَتَانِ مَغْبُونٌ فِيهِمَا كَثِيرٌ مِنْ النَّاسِ الصِّحَّةُ وَالْفَرَاغُ» [رواه البخاري برقم 6412]
ความว่า “ความโปรดปรานสองประการที่ผู้คนส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่า นั่นคือ การมีสุขภาพที่ดี และการมีเวลาว่าง”

( บันทึกโดยบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 6412 )

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยแนะนำประชาชาติของท่านให้รีบฉกฉวยโอกาสในขณะที่ยังมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงก่อนที่จะประสบกับการเจ็บป่วย ดังหะดีษอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ท่านกล่าวว่า
«اغْتَنِمْ خَمْساً قَبْلَ خَمْسٍ ... وذكر منها : صِحَّتَكَ قَبْلَ سَقَمِكَ» [رواه الحاكم برقم 7844، وصححه الألباني في صحيح الجامع الصغير برقم 1077]
ความว่า “ท่านจงฉวยโอกาสห้าประการก่อนที่อีกห้าประการจะมาประสบ ... หนึ่งในนั้นคือ การมีสุขภาพที่ดีก่อนที่การเจ็บป่วยจะมาประสบ”

( บันทึกโดยอัล-หากิม หมายเลขหะดีษ 7844 ท่านกล่าวว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺบนเงื่อนไขของอัล-บุคอรีย์และมุสลิมแต่ท่านทั้งสองไม่ได้รายงานในตำราไว้, อัล-อัลบานีย์ วินิจฉัยว่าเศาะฮีหฺ ใน เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ 1/244 หมายเลข 1077)

ท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา กล่าวว่า
«إِذَا أَصْبَحْتَ فَلَا تَنْتَظِرْ الْمَسَاءَ، وَإِذَا أَمْسَيْتَ فَلَا تَنْتَظِرْ الصَّبَاحَ، وَخُذْ مِنْ صِحَّتِكَ لِمَرَضِكَ، وَمِنْ حَيَاتِكَ لِمَوْتِكَ» [البخاري برقم 6416]
ความว่า “หากท่านมีชีวิตในยามเช้าก็อย่าได้รอเวลาเย็น แต่หากท่านอยู่ในเวลาเย็นก็อย่าได้รอเวลาเช้า จงรีบฉวยโอกาสก่อนที่ท่านจะเจ็บป่วย และก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต”

( บันทึกโดยบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 6416)
..........................


คุตบะฮฺของท่านนบีมูฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม ณ เมืองตาบุค
ในปีที่ 9 ของฮิจเราะศักราช มีการจัดนำกองทัพทหารมุสลิมจำนวน 30,000 นายไปยัง

เมืองตาบุค แห่งประเทศซีเรีย เพื่อตั้งรับการบุกรุกของเหล่าอาณาจักรไบแซนไทน์
ท่านนบีจึงกล่าวสุนทรพจน์แก่เหล่าทหารที่ นั่นท่านนบีมูฮัมมัดศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะศัล ลัมได้กล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺและกล่าวว่า

แท้จริงแล้ว “วาทกรรมที่ เป็นสัจธรรมมากที่สุด” คือ “คัมภีร์ขอ...ง อัลลอฮฺ” (อัลกุรอาน);

สิ่งที่มีคุณค่าควร แก่การเชื่อถือมากที่สุดคือ “คำพูดที่มาจากความศรัทธา” (ตักวา);

ศาสนาที่ประเสริฐที่สุดคือ “ศาสนาของ อิบราฮีม”;แบบอย่างที่ประเสริฐสุดคือ “แบบอย่างของมูฮัมมัด”ถ้อยคำที่ประเสริฐ ที่สุดคือ “ถ้อยคำที่ใช้วอนขอต่ออัลลอฮฺ”;เรื่องราวที่ถูก บรรยายอย่างงดงามที่สุดคือ “เรื่องราวในอัลกุรอาน”;การงานที่ประเสริฐ ที่สุดคือการงานที่มีการตัดสินใจมาอย่างดีแล้ว;ศาสนาที่เลวที่สุดคือศาสนาที่ไม่ได้รับการรับรองจากอัลลอฮฺ;เส้นทางที่ดีที่สุดคือเส้นทางที่บรรดาศาสนทูตเคยเหยียบย่ำ;การตายที่ประเสริฐที่สุดคือการตายของผู้พลีชีพเพื่อศาสนา (ชะฮีด);ความมืดมิดที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดคือการหลงทางหลังจากได้รับทางนำ;การประมูลที่ดีที่สุดคือการประมูลเพื่อการกุศล;ทางนำที่ดีที่สุดคือทางนำที่นำมาซึ่งการปฏิบัติ; ความมืดดำ ที่เลวที่สุดคือความมืดดำของจิตใจ;มือบนนั้นดีกว่ามือล่าง (การเป็นผู้ให้ดีกว่าการเป็นผู้รับ);“มีน้อยแต่พอเพียง” ย่อมดีกว่า “มีมากแต่เต็มไปด้วยกิเลศตัณหา”;“การขออภัยโทษที่อัปยศที่สุด” คือ “การขออภัยเมื่อความตายอยู่ตรงหน้า”;การสำนึกผิดที่น่า สมเพชที่สุดคือการสำนึกผิดเมื่อถึงวันแห่งการตัดสินมุสลิมินบางคนไม่เคยทำการละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดเนื่องจากจิตใจเขาเต็มไปด้วยความลังเลและความเฉื่อยช้าและบางคนในหมู่พวกเขาต่างไม่ระลึกถึงอัลลอฮฺ เนื่องจากจิตใจเขาเต็มไปด้วยการฝ่าฝืน “ลิ้น” ที่ถูกใช้เพื่อการกล่าวเท็จเปรียบเช่นดั่ง “น้ำพุแห่ง ความชั่ว”;สิ่งที่มีคุณค่าแก่การครอบครองคือ “ความสุขในจิตใจ”;“การให้ที่ประเสริฐที่สุด” คือ “การให้ที่มาจากความศรัทธา”;สติปัญญาที่ล้ำเลิศ ที่สุดคือ สติปัญญาที่มีความเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา;สิ่งที่ควรรักษาไว้ในจิตใจมากที่สุดคือ “ความศรัทธา” และ “ความเชื่อ”ส่วน “ความสงสัย” เป็นส่วนหนึ่งของ ความไม่ศรัทธาการร้องไห้คร่ำครวญ อย่างไร้สติต่อความตาย เป็นการแสดงออกของ “คนโง่”;การทรยศหักหลังเป็น หนทางสู่ไฟนรก; การดื่ม (ของฮะรอม) เป็นหนทางสู่การถูกเผาไหม้ในนรก;บทกลอนกวีที่ถูกประพันธ์ด้วยถ้อยคำสัปดนนั้น เป็นผลงานของชัยตอน;เหล้า สุรา (น้ำเมา) เป็นที่สุดของความชั่ว;อาหารที่เลวที่สุดคือ คืออาหารที่เป็นของเด็กกำพร้า (การแย่งอาหารของเด็กกำพร้า);ผู้ที่ได้รับพรอัน ประเสริฐ (จากอัลลอฮฺ) คือผู้ที่ได้รับคำตักเตือนจากพี่น้องเขา;แต่ละคนในหมู่พวกท่านต่างต้องพำนึกอยู่ในสถานที่ที่มีขนาดเพียง 4 ศอก (หลุมศพ)และท้ายที่สุด การงานทั้งหลายของพวกท่านจะต้องถูกตัดสินในโลกหน้า;ความฝันที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดคือความฝันที่เต็มไปด้วยความหลอกลวง;และสิ่งใดก็ตามที่เคยถูกกักตุนเอาไว้จะมาอยู่ตรงหน้า;การข่มเหงผู้ศรัทธาคือการฝ่าฝืน;การยกมือขึ้น เพื่อต่อต้านผู้ศรัทธาคือ “การไม่ศรัทธา (ต่ออัลลอฮฺ)”;การใส่ร้ายผู้ศรัทธาคือการไม่เชื่อฟังต่ออัลลอฮฺ;การไม่ล่วงล้ำหรือละเมิดทรัพย์สินของผู้ศรัทธาเปรียบเช่นดั่งการไม่ละเมิดต่อเลือดเนื้อของเขาเช่นกัน;ผู้ใดก็ตามที่สาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ (โดยกล่าวเท็จ)แท้จริงแล้วเขาได้กล่าวเท็จต่อพระองค์;ผู้ใดก็ตามที่ยกโทษ (ให้แก่ผู้ที่ละเมิดเขา) อัลลอฮฺจะทรงยกโทษให้แก่เขา;ผู้ใดก็ตามที่ให้ อภัย (ต่อผู้ที่ละเมิดเขา) เขาก็จะได้รับการอภัยโทษในบาปทั้งหลายจากพระองค์;ผู้ใดก็ตามที่ควบคุมความโกรธของเขาไว้ อัลลอฮฺจะประทานรางวัลแก่เขา;ผู้ใดก็ตามที่เผชิญหน้ากับความทุกข์ยากด้วยความอดทนอัลลอฮฺจะทรงชดเชย (สิ่งที่ดีกว่า) ให้แก่เขา;ผู้ใดก็ตามที่กระทำสิ่งใดเพื่อชื่อเสียง และเกียรติยศ อัลลอฮฺจะประทานความอัปยศให้แก่เขา;ผู้ใดก็ตามที่ แสดงออกถึงความอดทนอดกลั้น (ข่มใจ)อัลลอฮฺจะทรงประทาน รางวัลแก่เขาเป็นสองเท่า;ผู้ใดก็ตามที่ฝ่าฝืน อัลลอฮฺ เขาจะได้รับการลงโทษจากพระองค์ขออัลลอฮฺโปรดทรง อภัยโทษให้แก่ฉันขออัลลอฮฺโปรดทรง อภัยโทษให้แก่ฉัน ขออัลลอฮฺโปรดทรงอภัยโทษให้แก่ฉัน













Dari Abu Said Al-Khudri radhiallahu anhu dari Nabi shallallahu ‘alaihi wasallam beliau bersabda:

 

إِيَّاكُمْ وَالْجُلُوسَ فِي الطُّرُقَاتِ قَالُوا يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا لَنَا بُدٌّ مِنْ مَجَالِسِنَا نَتَحَدَّثُ فِيهَا قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَإِذَا أَبَيْتُمْ إِلَّا الْمَجْلِسَ فَأَعْطُوا الطَّرِيقَ حَقَّهُ قَالُوا وَمَا حَقُّهُ قَالَ غَضُّ الْبَصَرِ وَكَفُّ الْأَذَى وَرَدُّ السَّلَامِ وَالْأَمْرُ بِالْمَعْرُوفِ وَالنَّهْيُ عَنْ الْمُنْكَرِ

 

“Hindarilah duduk-duduk di pinggir jalan!” Para sahabat bertanya, “Wahai Rasulullah bagaimana kalau kami perlu untuk duduk-duduk di situ memperbincangkan hal yang memang perlu?’ Rasulullah shallallahu ‘alaihi wasallam menjawab, “Jika memang perlu kalian duduk-duduk di situ, maka berikanlah hak jalanan.” Mereka bertanya, “Apa haknya?” Beliau menjawab, “Tundukkan pandangan, tidak mengganggu, menjawab salam (orang lewat), menganjurkan kebaikan, dan mencegah yang mungkar.” (HR. Muslim no. 2161)

 

_________­_____________

Dari Abu Dzarr radhiallahu anhu dia berkata: Rasulullah shallallahu ‘alaihi wasallam bersabda:

 

تَبَسُّمُكَ فِي وَجْهِ أَخِيكَ لَكَ صَدَقَةٌ وَأَمْرُكَ بِالْمَعْرُوفِ وَنَهْيُكَ عَنْ الْمُنْكَرِ صَدَقَةٌ وَإِرْشَادُكَ الرَّجُلَ فِي أَرْضِ الضَّلَالِ لَكَ صَدَقَةٌ وَبَصَرُكَ لِلرَّجُلِ الرَّدِيءِ الْبَصَرِ لَكَ صَدَقَةٌ وَإِمَاطَتُكَ الْحَجَرَ وَالشَّوْكَةَ وَالْعَظْمَ عَنْ الطَّرِيقِ لَكَ صَدَقَةٌ وَإِفْرَاغُكَ مِنْ دَلْوِكَ فِي دَلْوِ أَخِيكَ لَكَ صَدَقَةٌ

 

“Senyummu kepada saudaramu merupakan sedekah, engkau memerintahkan yang ma’ruf dan melarang dari kemungkaran juga sedekah, engkau menunjukkan jalan kepada orang yang tersesat juga sedekah, engkau menuntun orang yang berpenglihatan kabur juga sedekah, menyingkirkan batu, duri, dan tulang dari jalan merupakan sedekah, dan engkau menuangkan air dari embermu ke ember saudaramu juga sedekah.” (HR. At-Tirmizi no. 1956)

 

Dari Abu Hurairah radhiallahu anhu dia berkata: Rasulullah shallallahu ‘alaihi wasallam bersabda:

 

لَا تُكْثِرُوا الضَّحِكَ فَإِنَّ كَثْرَةَ الضَّحِكِ تُمِيتُ الْقَلْبَ

 
“Janganlah kalian banyak tertawa, karena banyak tertawa akan mematikan hati.” (HR. At-Tirmizi no. 2227, Ibnu Majah no. 4183)




Dari Aisyah r.ha isteri Nabi shallallahu ‘alaihi wasallam, bahwa dia berkata:

 

مَا رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مُسْتَجْمِعًا ضَاحِكًا حَتَّى أَرَى مِنْهُ لَهَوَاتِهِ إِنَّمَا كَانَ يَتَبَسَّمُ

 

“Saya tidak pernah melihat Rasulullah shallallahu ‘alaihi wasallam tertawa terbahak-bahak hingga kelihatan tenggorokan beliau, beliau biasanya hanya tersenyum.” (HR. Al-Bukhari no. 6092 dan Muslim no. 1497)

 

Dari Al-Aswad rahimahullah dia berkata: Aku pernah bertanya kepada ‘Aisyah r.ha tentang apa yang dikerjakan Nabi shallallahu ‘alaihi wasallam ketika berada di rumah. Maka ‘Aisyah r.ha menjawab,

 

كَانَ يَكُونُ فِي مِهْنَةِ أَهْلِهِ تَعْنِي خِدْمَةَ أَهْلِهِ فَإِذَا حَضَرَتْ الصَّلَاةُ خَرَجَ إِلَى الصَّلَاةِ

 

“Beliau selalu membantu pekerjaan keluarganya, dan jika datang waktu shalat maka beliau keluar (ke masjid) untuk melaksanakan shalat.” (HR. Al-Bukhari no. 6939)

 

__

Abdullah bin Amr bin Al-Ash radhiallahu anhuma berkata menyifati Rasulullah shallallahu alaihi wasallam:

 

لَمْ يَكُنْ فَاحِشًا وَلَا مُتَفَحِّشًا وَقَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِنَّ مِنْ خِيَارِكُمْ أَحَاسِنَكُمْ أَخْلَاقًا

 

“Beliau tidak pernah berbuat kejelekan dan tidak pernah mengucapkan ucapan yang jelek.” Lalu Abdullah bin Amr berkata: Rasulullah shallallahu ‘alaihi wasallam bersabda, “Sesungguhnya orang-orang terbaik di antara kalian adalah yang paling baik akhlaknya.” (HR. Al-Bukhari no. 6035 dan Muslim no. 2321)

 

Dari Abu Hurairah radhiallahu anhu dari Nabi shallallahu ‘alaihi wasallam, beliau bersabda:

 

الْإِيمَانُ بِضْعٌ وَسِتُّونَ شُعْبَةً وَالْحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنْ الْإِيمَانِ

 

“Iman memiliki lebih dari enam puluh cabang, dan malu adalah bagian dari iman”. (HR. Al-Bukhari no. 8 dan Muslim no. 50)

 

Imran bin Hushain radhiallahu anhu berkata: Nabi shallallahu ‘alaihi wasallam bersabda:

 

الْحَيَاءُ لَا يَأْتِي إِلَّا بِخَيْرٍ

 

“Sifat malu itu tidak datang kecuali dengan membawa kebaikan.” (HR. Al-Bukhari no. 6117 dan Muslim no. 37)

 

Dari Abu Said Al-Khudri radhiallahu anhu dia berkata:

 

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَشَدَّ حَيَاءً مِنْ الْعَذْرَاءِ فِي خِدْرِهَا وَكَانَ إِذَا كَرِهَ شَيْئًا عَرَفْنَاهُ فِي وَجْهِهِ

 

“Rasulullah shallallahu ‘alaihi wasallam adalah orang yang sangat pemalu, lebih pemalu dari gadis pingitan. Apabila beliau tidak menyenangi sesuatu, maka kami dapat mengetahuinya di wajah beliau.” (HR. Al-Bukhari no. 6119 dan Muslim no. 2320)

 

 

Dari Abu Hurairah radhiallahu ‘anhu dari Nabi shallallahu ‘alaihi wasallam beliau bersabda:

 

إِذَا عَطَسَ أَحَدُكُمْ فَلْيَقُلْ الْحَمْدُ لِلَّهِ وَلْيَقُلْ لَهُ أَخُوهُ أَوْ صَاحِبُهُ يَرْحَمُكَ اللَّهُ فَإِذَا قَالَ لَهُ يَرْحَمُكَ اللَّهُ فَلْيَقُلْ يَهْدِيكُمُ اللَّهُ وَيُصْلِحُ بَالَكُمْ

 

“Apabila salah seorang dari kalian bersin, hendaknya dia mengucapkan, “ALHAMDULILLAH” sedangkan saudaranya atau temannya hendaklah mengucapkan, “YARHAMUKALLAH (semoga Allah merahmatimu). Jika saudaranya berkata ‘YARHAMUKALLAH’ maka hendaknya dia berkata, “YAHDIKUMULLAH WA YUSHLIH BAALAKUM (semoga Allah memberimu petunjuk dan memperbaiki hatimu).” (HR. Al-Bukhari no. 6224 dan Muslim no. 5033)

 

__

Dari Aisyah radhiallahu anha dia berkata:

 

فَإِذَا أَكَلَ أَحَدُكُمْ طَعَامًا فَلْيَقُلْ بِسْمِ اللَّهِ فَإِنْ نَسِيَ أَنْ يَقُولَ بِسْمِ اللَّهِ فِي أَوَّلِهِ فَلْيَقُلْ بِسْمِ اللَّهِ فِي أَوَّلِهِ وَآخِرِهِ

 

“Jika salah seorang dari kalian menyantap makanan, hendaknya dia membaca ‘BISMILLAH’. Jika dia lupa membacanya maka hendaknya dia mengucapkan, ‘BISMILLAHI FII AWWALIHI WA AKHIRIHI (dengan nama Allah pada permulaan dan akhirnya).” (HR. Abu Daud no. 3767 At-Tirmizi no. 1858, dan Ibnu Majah no. 3255)

 

Dari Jabir bin ‘Abdillah radhiallahu anhuma: Sesungguhnya dia mendengar Rasulullah shallallahu ‘alaihi wasallam bersabda:

 

إِذَا دَخَلَ الرَّجُلُ بَيْتَهُ فَذَكَرَ اللَّهَ عِنْدَ دُخُولِهِ وَعِنْدَ طَعَامِهِ قَالَ الشَّيْطَانُ لَا مَبِيتَ لَكُمْ وَلَا عَشَاءَ وَإِذَا دَخَلَ فَلَمْ يَذْكُرْ اللَّهَ عِنْدَ دُخُولِهِ قَالَ الشَّيْطَانُ أَدْرَكْتُمْ الْمَبِيتَ وَإِذَا لَمْ يَذْكُرْ اللَّهَ عِنْدَ طَعَامِهِ قَالَ أَدْرَكْتُمْ الْمَبِيتَ وَالْعَشَاءَ

 

“Jika seseorang menyebut nama Allah ketika hendak masuk rumahnya dan ketika hendak makan, maka setan berkata, “Kalian (bangsa setan) tidak mempunyai tempat menginap dan makan malam.” Jika seseorang tidak menyebut nama Allah ketika hendak masuk rumahnya, maka setan berkata, “Kalian sudah mendapatkan tempat menginap.” Dan jika seseorang tidak menyebut nama Allah sewaktu hendak makan, maka setan berkata, “Kalian sudah mendapatkan tempat menginap dan makan malam.” (HR. Muslim no. 2018)

 

Zikir Saat Angin Kencang.

 

Dari Ubay bin Ka’ab radhiallahu anhu dia berkata: Rasulullah Shallallahu ‘alaihi wa salam bersabda:

 

لَا تَسُبُّوا الرِّيحَ فَإِذَا رَأَيْتُمْ مَا تَكْرَهُونَ فَقُولُوا اللَّهُمَّ إِنَّا نَسْأَلُكَ مِنْ خَيْرِ هَذِهِ الرِّيحِ وَخَيْرِ مَا فِيهَا وَخَيْرِ مَا أُمِرَتْ بِهِ وَنَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّ هَذِهِ الرِّيحِ وَشَرِّ مَا فِيهَا وَشَرِّ مَا أُمِرَتْ بِهِ

 

“Janganlah kalian mencela angin. Bila kalian melihat yang tidak kalian suka (angin yang sangat kencang), ucapkanlah: ALLOOHUMMA INNAA NAS`ALUKA MIN KHOIRI HAADZIHIR RIIHI WA KHOIRI MAA FIIHAA WA KHOIRI MAA UMIROT BIHI. WA NA’UUDZU BIKA MIN SYARRI HAADZIHIR RIIHI WA SYARRI MAA FIIHAA WASYARRI MAA UMIROT BIHI (Ya Allah, kami meminta kebaikan angin ini pada-Mu, kebaikan yang ada padanya, dan kebaikan yang diperintahkan kepadanya. Dan kami berlindung kepada-Mu dari keburukan angin ini, keburukan yang ada padanya, dan keburukan yang diperintahkan kepadanya.” (HR. At-Tirmizi no. 2252, shahih)

 

Dari Abu Hurairah radhiallahu anhu dia berkata: Rasulullah shallallahu ‘alaihi wasallam bersabda:

 

لَا تُسُبُّوا الرِّيحَ فَإِنَّهَا مِنْ رَوْحِ اللَّهِ تَأْتِي بِالرَّحْمَةِ وَالْعَذَابِ وَلَكِنْ سَلُوا اللَّهَ مِنْ خَيْرِهَا وَتَعَوَّذُوا بِاللَّهِ مِنْ شَرِّهَا

 

“Janganlah kalian mencela angin, sebab ia merupakan rahmat Allah yang dapat mendatangkan rahmat dan juga azab. Akan tetapi mohonlah kepada Allah kebaikannya dan berlindunglah kepada Allah dari kejahatannya.” (HR. Ibnu Majah no. 3827, Ahmad no. 7404, shahih)

[ Vol . 929] ฮะดิส เรื่อง.......ละหมาดซุนัตระวาติบ (ละหมาดก่อนหลังละหมาดฟัรฎู)

มีรายงานจากท่านหญิงอุมมุ หะบีบะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮา ภรรยาของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَـا مِنْ عَبْدٍ مُسْلِـمٍ يُصَلِّي ٬ كُلَّ يَوْمٍ ثِنْتَي عَشْرَةَ رَكْعَةً تَطَوُّعاً غَيْرَ فَرِيضَةٍ إلَّا بَنَى الله لَـهُ بَيْتاً فِي الجَنَّةِ، أَوْ إلَّا بُنِيَ لَـهُ بَيْتٌ فِي الجَنَّةِ»
ความว่า “ไม่มีบ่าวมุสลิมคนไหนที่ได้ละหมาดสุนัตวันละ 12 ร็อกอะฮฺ นอกจากอัลลอฮฺจะสร้างบ้านให้เขาหลังหนึ่งในสวรรค์ หรือ บ้านหลังหนึ่งจะถูกสร้างให้เขา”

(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 728)

และบางครั้งอาจละหมาดเราะวาติบมุอักกะดะฮฺ เพียง 10 ร็อกอะฮฺ ซึ่งจะเหมือนที่กล่าวมาข้างต้นทุกอย่างเพียงแต่ละหมาดก่อนซุฮฺริแค่ 2 ร็อกอะฮฺ
มีรายงานจากท่านอิบนุอุมัรฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า

صَلَّيْتُ مَعَ رَسُولِ الله صلى الله عليه وسلم قَبْلَ الظُّهْر سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَهَا سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَ المَغْرِبِ سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَ العِشَاءِ سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَ الجُـمُعَةِ سَجْدَتَيْنِ، فَأَمَّا المَغْرِبُ وَالعِشَاءُ وَالجُـمُعَةُ فَصَلَّيْتُ مَعَ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم فِي بَيْتِـهِ

ความว่า “ฉันได้ละหมาดพร้อมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก่อนซุฮฺริ 2 ร็อกอะฮฺ หลังซุฮฺริ 2 ร็อกอะฮฺ หลังมัฆฺริบ 2 ร็อกอะฮฺ หลังอิชาอ์ 2 ร็อกอะฮฺ ก่อนศุบฺหิ 2 ร็อกอะฮฺ และหลังจากญุมุอะฮฺ 2 ร็อกอะฮฺ ซึ่งละหมาดหลังมัฆฺริบ อิชาอ์ และญุมุอะฮฺนั้น ฉันละหมาดกับท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่บ้านของท่าน”

(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 937 และมุสลิม เลขที่: 729 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)




[ Vol . 924] ฮะดิส เรื่อง.......ดุอาอฺขอให้ไม่เป็นคนเกียจคร้าน และเป็นคนขลาดกลัว

اللَّهُمَّ إِنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ العَجْزِ وَالكَسَلِ، وَالجُبْنِ وَالبُخْلِ وَالهَرَمِ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ عَذَابِ القَبْرِ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ فِتْنَةِ المـَحْيَا وَالمـَمَاتِ

คำอ่าน :

(อัลลอฮุมม่า อินนียฺ อ้าอูซู่ บี้ก้า มินั้ล อัจซี่ วัลก้าซ่าลี่ วัลจุบนี่ วัลบุคลี่ วัลฮ่าร่อมี่ ว่าอ้าอูซู้ บี้ก้า มินอ้าซาบิ้ลก็อบรี่ ว่าอ้าอูซู่ บี้ก้า มิน ฟิตน่าติ้ล มะฮฺยา วัลม่ามาต)

ความว่า:

โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงฉัน ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากความอ่อนแอ ความเกียจคร้าน ความขลาดกลัว ความตระหนี่ และการแก่หง่อม และฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษในหลุมศพ และฉันขอความคุ้มครองให้พ้นจากความวุ่นวายของการมีชีวิตและการตาย

บันทึกโดย: อัลบุคอรียฺ 6367 / ซอเฮียะฮฺ


[ Vol . 923] ฮะดิส เรื่อง.......อิสลามสอนเราไม่ให้กล่าวหามุสลิมด้วยกันว่าเป็นกาฟิร(ผู้ปฏิเสทศรัทธา) เพราะถ้าเขาไม่ใช่ สิ่งนั้นจะกลับไปหาคนที่กล่าวหา

حديثُ عَبْدِ اللهِ بْنِ عُمَرَ أَنَّ رَسُولَ اللهِ صلى الله عليه وسلم قَالَ: (أَيُّما رَجُلٍ قالَ َلأخيهِ يا كافِرُ فَقَدْ باءَ بِها أَحَدَهُما). متفق عليه.

รายงาน จากอับดุลลอฮฺ บิน อุมัร แท้จริงท่านเราะซูล (ซอลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) กล่าวว่า (เมื่อใดที่ชายมุสลิมคนหนึ่งกล่าวแก่พี่น้องเขาว่า โอ้กาฟิร ผู้ใดผู้หนึ่งในสองคนนั้นต้องรับมันไว้)

บันทึกโดย อัลบุคอรี และมุสลิม



[ Vol . 918] ฮะดิส เรื่อง....... ไม่ใช่เป็นผู้ศรัทธา ผู้ที่ชอบตำหนิผู้อื่น

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَيْسَ الْمُؤْمِنُ بِالطَّعَّانِ وَلَا اللَّعَّانِ وَلَا الْفَاحِشِ وَلَا الْبَذِيءِ

"ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ไม่ใช่เป็นผู้ศรัทธา ผู้ที่ชอบตำหนิ(ผู้ที่ชอบลอบกัด/ติเตียนผู้คนทั้งหลาย) ผู้ที่ชอบสาปแช่ง ผู้ที่ด่าทออย่างน่ารังเกียจ(ผู้ที่มีมารยาที่เลว/ผู้ที่คำพูดและการกระทำที่น่าเกลียดเลวร้าย) และผู้ที่พูดหยาบคาย"

รายงานโดยมุสลิม

[ Vol . 917] ฮะดิส เรื่อง.......ผู้ที่มีลักษณะนิสัยที่ดีงามยิ่ง



«أَكْمَلُ الْمُؤْمِنِينَ إِيمَانًا أَحْسَنُهُمْ خُلُقًا وَخِيَارُكُمْ خِيَارُكُمْ لِنِسَائِهِمْ خُلُقًا» (الترمذي برقم 1162، وقال حديث حسن صحيح)
ความหมาย “ผู้ศรัทธาที่มีความสมบูรณ์ยิ่งในการศรัทธาคือ ผู้ที่มีลักษณะนิสัยที่ดีงามยิ่ง และผู้ที่ดีเลิศในกลุ่มพวกท่านคือ ผู้ที่มีนิสัยดีต่อภรรยาของพวกเขา”

(สุนันอัต-ติรมิซีย์ 3/466 หมายเลขหะดีษ 1162 ท่านบอกว่าเป็นหะดีษ หะซัน เศาะฮีหฺ)

[ Vol . 839 ] ฮะดิส เรื่อง….ละหมาด(ฆออิบ)ให้คนตายที่ศพเขาอยู่ที่อื่น

ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
«أَنّ رَسُوْلَ اللهِﷺ نَعَى النَجَّاشِي فِيْ اليَوْمِ الذِيْ مَاتَ فِيْه، وَخَرَجَ بِهِمْ إِلى المُصَلّى فَصَفّ بِهِمْ وَكَبَّرَ عَلَيْهِ أَرْبَعَ تَكْبِيْرَاتٍ» [أخرجه البخاري]
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้รับข่าวการเสียชีวิตของ(กษัตริย์)นะญาชียฺในวันที่เขาเสียชีวิต แล้วท่านก็ได้พาพวกเขาออกไปละหมาดที่มุศ็อลลา แล้วจัดแถวพวกเขา และกล่าวตักบีร 4 ครั้ง”

บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ


Vol . 832 ] ฮะดิส เรื่อง…..หุก่มการให้เศาะดะเกาะฮฺ (บริจาคทาน) แก่คนต่างศาสนิก

อนุญาตให้มอบเศาะดะเกาะฮฺบริจาคแก่คนต่างศาสนิกที่ไม่ใช่คู่สงครามได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการโน้มน้าวจิตใจและเพื่อขจัดความหิวโหยของเขา ซึ่งมุสลิมจะได้รับผลบุญในการให้เศาะดะเกาะฮฺนี้ และในการทำดีต่อทุกสิ่งที่มีชีวิตนั้นล้วนมีผลบุญด้วยกันทั้งสิ้น

หุก่มการให้แก่ผู้ขอ

สุนัตให้บริจาคแก่ผู้ที่มาขอทานแม้จะเล็กน้อยก็ตาม เพราะคำกล่าวของ อุมมุ บุญัยด์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ที่ว่า โอ้ท่านรสูลุลลอฮฺ ขออัลลอฮฺประทานพรแก่ท่าน แท้จริงคนยากจนได้มายืนขอหน้าประตูฉัน บางครั้งฉันไม่มีอะไรจะให้แก่เขา ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวแก่นางว่า
«إنْ لَـمْ تَـجِدِي لَـهُ شَيْئاً تُعْطِينَـهُ إيَّاهُ إلَّا ظِلْفاً مُـحْرَقاً، فَادْفَعيهِ إلَيْـهِ فِي يَدِهِ». أخرجه أبو داود والترمذي
ความว่า “หากนางไม่มีอะไรจะให้แก่เขานอกจากกลีบสัตว์ที่ไหม้ นางก็จงให้ โดยเอามันใส่ในมือของเขาเถิด”

(หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 1667 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 665)



<div id="fb-root">
</div>
<script>(function(d, s, id) {
  var js, fjs = d.getElementsByTagName(s)[0];
  if (d.getElementById(id)) return;
  js = d.createElement(s); js.id = id;
  js.src = "//connect.facebook.net/th_TH/all.js#xfbml=1";
  fjs.parentNode.insertBefore(js, fjs);
}(document, 'script', 'facebook-jssdk'));</script>
<div class="fb-comments" data-href="http://www.blogger.com/blogger.g?blogID=4063063365185943898#editor/target=page;pageID=4183807190375373123" data-num-posts="10" data-width="470">
</div>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น