การถือศีลอดหญิงที่ตั้งครรภ์และให้นมลูก

ทัศนะต่างว่าด้วยการชดใช้การถือศีลอดหญิงที่ตั้งครรภ์และให้นมลูก



ทัศนะต่างว่าด้วยการชดใช้การถือศีลอดหญิงที่ตั้งครรภ์และให้นมลูก






คำถาม


จะอนุญาตหรือไม่สำหรับผู้หญิงที่กลัวว่าน้ำนมของนางจะน้อยลงเนื่องจากนางจะทำการละศีลอดในรอมาฏอน?


เช่นเดียวกันผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ซึ่งลูกของนางต้องการอาหารจากนาง เพื่อที่จะให้การเติบโตที่แข็งแรง และนางกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง สำหรับนางจะละศีลอดได้หรือไม่?


และผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้หญิงให้นมลูก เมื่อนางทั้งสองได้ละศีลอดเนื่องจากกลัวอันตรายจะเกิดขึ้นแก่ตัวของนางทั้งสอง เช่นเดียวกันในกรณีที่กลัวอันตรายแก่ลูกของนางทั้งสอง



คำตอบ


บรรดานักนิติบัญญัติอิสลามได้มีมติกัน โดยภาพรวม ว่าแท้จริงคนท้องและให้นมแก่ลูกนั้น หากนางทั้งสองกลัวอันตรายต่อตัวเองและลูกของนางทั้งสอง ก็อนุญาตแก่ทั้งสองให้ละศีลอดได้ เหมือนกับคนป่วย สำหรับคนตั้งครรภ์อยู่ในฮุกุมเดียวกันกับคนป่วย




เช่นเดียวกันคนที่ให้นมบุตรตามมัสอับมาลีกีย์ และคนอื่นๆนอกเหนือจากพวกเขา ได้ให้ทั้งสองอยู่ในประเภทของคนป่วย และเนื่องจากได้มีมาจากอิบนูอับบัสรอฏิยัลลอฮู อันฮูมาในคำดำรัสของอัลลอฮซุบหานาฮูวาตาอาลาที่ว่า


:"وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ"[البقرة: 184]


สำหรับอายะนี้หมาย ถึง คนแก่ทั้งชายหญิง คนท้อง คนให้นมลูก
وحديث أنس بن مالك الكعبي قال: أتيت رسول الله صلى الله عليه وسلم فوجدته يتغدى فقال: (ادن فكل) فقلت: إني صائم فقال: ( ادن أحدثك عن الصوم أو الصيام ، إن الله تعالى وضع عن المسافر الصوم وشطر الصلاة ، وعن الحامل أو المرضع الصوم أو الصيام) رواه الترمذي والنسائي، وقال الترمذي حديث حسن، وفي بعض النسخ حسن صحيح ، وصححه ابن خزيمة، وجمع من أهل العلم، وأعله بعضهم بالاضطراب، لكن جاءت آثار كثيرة عن الصحابة تشهد لهذا المعنى، لكن يفرق بين ما إذا كان فطرها خوفاً على نفسها، أو خوفاً على ولدها.


และหะดีษของท่าน อะนัส บิน มาลิก อัลกะบีย์ ได้กล่าวไว้ว่า ฉันได้ไปหาท่านรอซูลลุลลอฮศอลลัลลอฮู อะลัยอิวะสัลลัม และฉันพบว่าท่านกำลังรับประทานอาหาร ท่านได้กล่าว (จงเข้ามาใกล้ และจงกิน) ฉันตอบไปว่า ฉันถือศีลอด (จงเข้ามาใกล้ฉันจะบอกเจ้าเกี่ยวกับการถือศีลอด “ แท้จริงอัลลอฮได้อนุญาตให้แก่ผู้ที่เดินทาง ในการละหมาดย่อ และสำหรับหญิงที่ตั้งครรค์ และหญิงที่ให้นมลูก เรื่องการถือศีลอด (หมายถึงอนุญาตให้ละศีลอดได้)


บันทึกโดย อัตติรมีซีย์ และอันนาซาอีย์ และท่านอัตติรมีซีย์ได้กล่าวว่า หะดีษนี้เป็นหะดีษที่ดี และบางเล่ม(หมายถึงหนังสือหะดีษ) อัตติรมีซีย์ได้กล่าวว่า หะดีษที่ดี และถูกต้อง และท่านอิบนู คุซัยมะห์ให้เป็นหะดีษที่ถูกต้อง และนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง และมีนักวิชาการบางท่าน ถือว่าหะดีษนี้เป็นหะดีษที่มีข้อบกพร่อง เนื่องจากเป็นประเภทหะดีษที่มีความสับสน แต่มีสายรายงานจากบรรดาศอหาบะห์มาสนับสนุนในความหมายของมัน แต่ว่ามีการแบ่งแยกกันระหว่าง การละศีลอดเนื่องจากกลัวอันตรายต่อตัวเอง และอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับลูกของนาง
ดังนั้นหากนางกลัวอันตรายจะเกิดขึ้นแก่นาง ในขณะตั้งท้อง และขณะให้นม สำหรับนางนั้นการถือศีลอดชดใช้เท่านั้น ไม่ต้องทำอย่างอื่น เพราะสภาพของนางฮุกุมเหมือนคนป่วย ที่ทำการชดเชย เมื่อนางละศีลอดก็ให้ชดเชยด้วยกับการถือศีลอด เมื่ออุปสรรคของการถือศีลอดหมดไป ไม่จำเป็นต้องเสียค่าชดเชย สำหรับเรื่องนี้ไม่มีการสงสัย และเป็นทัศนะของญุมฮูร




แต่หากว่าผู้ที่ตั้งครรภ์ และผู้ที่ให้นมลูก กลัวอันตรายจะเกิดขึ้นแก่นาง ก็หมายความว่า หากนางไม่รับประทานอาหาร บางทีอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ลูกของนาง และนางต้องการที่จะให้มแก่ลูกของนาง และผู้หญิงที่ให้นมลูกหากนางไม่รับประทานอาหารจะทำให้นมของนางลดลง และไม่มีน้ำนมที่จะให้นมแก่ลูกของนาง สำหรับในประเด็นที่นางละศีลอด เนื่องจากกลัวอันตรายจะเกิดแก่ลูกของนางทั้งสอง มีอยู่สามทัศนะ




ทัศนะแรก แท้จริงนางละศีลอด และถือศีลอดชดใช้ และต้องให้อาหารแก่คนที่ยากจนทุกวัน (วันละหนึ่งคน) เป็นทัศนะของมัสอับ อัมบาลีย์ ซึ่งหลักฐานจากอายะ


وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ" [البقرة: 184]


เนื่องจากนางมีความสามารถที่จะถือศีลอด แต่การละศีลอดของนางเพื่อลูกของนาง และเช่นเดียวกันได้มีรายงาน จากอิบนู อุมัร และ อิบนู อับบาส และคนอื่นๆ เนื่องจากการละศีลอดของนาง ไม่ได้กลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่นาง สำหรับการเสียค่าชดเชยในกรณีนี้ให้ผู้ปกครองของเด็กเป็นคนจ่าย (หมายถึงสามี) และไม่ใช่จำเป็นแก่สามีของนางที่จะต้องจ่าย เพราะบางครั้งแม่บางคนรับเลี้ยงเด็กเอาค่าตอบแทน โดยที่ให้นมแก่เด็กที่ไม่ใช้ลูกของนาง และอิบนู อะกีลได้เลือกในเรื่องของการเสียกัฟฟาเราะห์ผู้หญิงเป็นคนรับผิดชอบเอง ที่ถูกต้องแล้วที่กล่าวมาประการแรก


ทัศนะที่สอง กรณีที่นางละศีลอด นางไม่จำเป็นต้องถือศีลอดชดใช้ แต่ว่าให้เสียค่าชดเชย การให้อาหารเพียงพอแล้วที่จะมาทดแทนการถือศีลอดชดใช้ สำหรับเรื่องนี้มีการรายงานที่ถูกต้องที่มาจากอิบนูอุมัร อับบาส และอิบนู อับบาสรอฏิยัลลอฮูอันฮุม


สำหรับทัศนะนี้ ในความเห็นของฉันถือว่าเป็นทัศนะที่อ่อนแอ เนื่องจากเป็นทัศนะที่ค้านกับอิหม่ามทั้งสี่ และนักวิชาการส่วนมากที่เป็นตาบีอีน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องฟิกฮฺ และหลักฐานที่สำคัญที่ชี้ถึงความอ่อนแอของทัศนะนี้


قول الله سبحانه وتعالى: " فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَر "[البقرة: 184]،


สำหรับอุปสรรคที่ได้รับอนุโลมในอายะห์นี่คือผู้ที่ไม่มีความสามารถที่จะถือศีลอดชดใช้ เช่นคนป่วยที่ไม่มีโอกาสจะหายขาดจากความเจ็บป่วยของเขา ดังนั้นทัศนะจึงเป็นทัศนะที่อ่อนแอ ถึงแม้จะมีสายรายงานที่ถูกต้องไปถึงอิบนู อุมัร และอิบนู อับบาส แต่ว่าคำของคนทั้งสองนั้นไม่ได้มีสายรายงานไปยังท่านนบีศอลลัลลอฮูอะลัยอิวะซัลลัม


ทัศนะที่สาม อนุญาตให้นางละศีลอด และถือศีลอดชดใช้ และนางนั้นไม่ต้องเสียค่าชดเชย ซึ่งเป็นทัศนะของอาบูฮานีฟะห์ และทัศนะของอัตตาบีอีนจำนวนหนึ่ง เช่นทาน อาตอฮฺ อัซซุฮรีย์ ท่านหะซัน สะอีด บิน ยุบัยรฺ อันนาคอฮีย์ และคนอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ และตามทัศนะของฉัน ทัศนะนี้เป็นทัศนะที่ถูกต้องที่สุด และดีที่สุด เพราะการรวมไว้ด้วยกับการถือศีลอดชดใช้ และการสียค่าชดเชยพร้อมกัน มันยังเป็นทัศนะที่ยังมีการใช้การพิจราณา และไม่หลักฐานที่แข็งแรงในเรื่องนี้ แม้กระทั่งอิบนู อุมัร และอิบนู อับบาส ซึ่งได้มีรายงานจากทั้งสอง ในการเสียค่าชดเชย โดยที่ทั้งสองได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า ไม่ต้องถือศีลอดชดใช้ ในขณะที่บรรดานักวิชาการด้านศาสนบัญญัติอิสลาม(อัลฟูกาอาฮฺ) จำเป็นแก่ผู้ที่ให้นมลูกและหญิงที่ตั้งท้อง ต้องถือศีลอดชดใช้ พร้อมกับเสียค่าชดเชยด้วย และด้วยเหตุนี้สมควรที่จะกล่าวว่า สำหรับทั้งสองนั้นให้ถือศีลอดชดใช้ ไม่ต้องเสียค่าชดเชย เนื่องจากการละศีลอดของคนทั้งสอง เป็นเหตุผลทางบทบัญญัติ เหมือนกันจะละศีลอดด้วยกับเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับนาง หรือเกี่ยวข้องกับลูกของนาง สำหรับเรื่องเป็นสิ่งที่ชัดเจนมากที่เกี่ยวข้องกับคนท้อง เนื่องจากลูกที่อยู่ในท้องของนางนั้นเป็นเหมือนอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายของนาง บางครั้งการไม่สบายของนางมีผลต่อลูกของนาง และการที่ลูกของนางไม่สบายมีผลต่อนาง สำหรับทัศนะที่บอกว่า คนท้องและผู้ที่ให้นมลูกนั้น เมื่อนางทั้งสองได้ละศีลอด เนื่องจากกลัวอันตรายจะเกิดขึ้นกับตัวของนาง ฮุกุมอย่างหนึ่ง และหากกลัวอันตรายจะเกิดกับลูกของนางทั้งสอง ก็ฮุกุมอีกอย่างหนึ่ง สำหรับทัศนะนี้ก็ยังต้องใช้การพิจารณา ดังนั้นที่ถูกต้องที่สุด ก็คือ ทั้งสองนั้นถือศีลอดชดใช้อย่างเดียว ซึ่งเป็นมัสฮับของอาบูฮานีฟะห์ และยังมีบรรดาอิหม่ามได้กล่าวเช่นเดียวกัน






จากเวป อิสลามทูเดย์ ตอบโดย เชคซัลมานเอาดะห์ หมายเลขคำถาม 13334







หญิงตั้งครรภ์หญิงให้นมลูกเมื่อละศีลอด จำเป็นต้องถือศีลอดชดเชย การเสียค่าชดเชยด้วยการให้อาหารใช้ไม่ได้


คำถาม


ฉันได้ไปอ่านพบว่าผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และผู้หญิงที่ให้นมลูก นั้นอนุญาตให้ทั้งสองละศีลอดได้ และเสียค่าชดเชยด้วยกับการให้อาหารโดยไม่ต้องถือศีลอดชดใช้ โดยที่ได้มีการอ้างหลักฐานจากอิบนูอุมัรในเรื่องดังกล่าว สำหรับเรื่องความถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร ขอความกระจ่างในเรื่องนี้ด้วย?










มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮ์


บรรดานักวิชาการต่างมีทัศนะที่แตกต่างกันฮุกุมของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่ให้นมแก่บุตร หากทั้งสองได้ละศีลอด หลายทัศนะด้วยกัน


ทัศนะที่หนึ่ง จำเป็นแก่ทั้งสองต้องถือศีลอดชดใช้เท่านั้น ซึ่งเป็นทัศนะของอิหม่ามอาบูอานีฟะห์รออิมาอุลลอฮ์ และผู้กล่าวเช่นนี้จากศอหาบะห์ท่านอาหลี บิน อาบีตอลิบ รอฏิยัลลอฮู อันฮู


ทัศนะที่สอง หากว่าทั้งสองกลัวอันตรายจะเกิดแก่ตัวเอง ให้ถือศีลอดชดใช้เท่านั้น หากกลัวอันตรายจะเกิดขึ้นแก่บุตรของนางทั้งสอง ให้ทั้งสองนั้นถือศีลอดชดใช้ และให้อาหารแก่คนยากจนหนึ่งคน ทุกวันที่ไม่ได้ถือศีลอด ซึ่งเป็นทัศนะของอิหม่ามอะหมัด และอิหม่ามอัชชาฟีอีย์ และท่านยัซซอซได้เล่ามาจากอิบนู อุมัรรอฏิยัลลอฮูอันฮุมา


ทัศนะที่สาม ทั้งสองนั้นให้อาหารเท่านั้น ผู้ที่กล่าวเช่นนั้นจากศอหาบะห์ ท่านอิบนูอับบาสรอฏิยัลลอฮูอันฮูมา และท่านอิบนู กูดามะห์ได้กล่าวไว้ในมุฆนีย์ 3/37 และเช่นเดียวกันมีรายงานจากอิบนูฮุมัร






ได้มีรายงานจากอาบูดาวุด 2318 จากอิบนูอับบาส (และหน้าที่ของผู้ที่ถือศีลอดลำบาก (โดยที่เขาได้งดเว้นจากการถือ)) การชดเชยก็คือ การให้อาหารแก่คนยากจน) ท่านอิบนูอับบาสได้กล่าวว่า นี่คือขออนุโลมให้แก่บรรดาคนชราทั้งชายและหญิง โดยที่การถือศีลอดของคนทั้งสองสร้างความลำบาก ก็อนุญาตให้ทั้งสองละศีลอด และให้ทั้งสองให้อาหารแก่คนยากจนทุกวัน เช่นเดียวกันหญิงที่ตั้งท้องและให้นมลูก หากนางทั้งสองกลัว ท่านอาบูดาวูดได้กล่าวว่า หมายถึงกลัวอันตรายแก่บุตรของทั้งสอง ก็ให้ทั้งสองนั้นละศีลอดและเสียค่าชดเชยด้วยกับการให้อาหาร ท่านอิหม่ามนาวาวีย์กล่าวว่า สายรายงานดี


ได้มีบันทึกโดยท่านบัซซารไว้เช่นเดียวกัน โดยที่เขาได้เพิ่มเติมไว้ช่วงสุดท้าย ท่านอิบนูอับบาส


กล่าวว่า กับทาสหญิงที่ให้นมบุตร ก็เหมือนกับหญิงที่ทั้งครรภ์ เธอนั้นอยู่ในสถานะเดียวกับผู้ที่ไม่มีความสามารถ ดังนั้นสำหรับเธอก็คือการเสียค่าชดเชย ไม่ต้องถือศีลอดชดใช้ ท่านอัดดารูกุดนีย์ ถือว่าเป็นสายรายงานที่ถูกต้อง ท่าน อัลฮาฟิซกล่าวไว้ใน อัตตัลกีศ


ท่านยัซซอศได้กล่าวไว้ในฮะกามุลกุรอาน บรรดาศอหาบะห์มีทัศนะที่แตกต่างกันในประเด็นนี้


สะลัฟได้มีความเห็นที่แตกต่างกันออกไปสามทัศนะด้วยกัน ท่านอาหลีกล่าวว่า สำหรับทั้งสองนั้นเมื่อละศีลอดไม่ต้องเสียค่าชดเชยแต่ให้ถือศีลอดชดใช้อย่างเดียว


ท่านอิบนูอับบาสมีความเห็นว่าสำหรับทั้งสอง เสียค่าชดเชย(ด้วยการให้อาหาร)เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องถือศีลอดชดใช้


ท่านอิบนูฮุมัรได้กล่าวว่า สำหรับทั้งสองถือศีลอดชดใช้ และเสียค่าชดเชยเป็นอาหาร


สำหรับผู้ที่มีทัศนะว่าต้องถือศีลอดชดใช้เพียงอย่างเดียวด้วยหลักฐานต่อไปนี้


หลักฐานที่หนึ่ง


มีรายงานโดยอิหม่าม อันนาซาอีย์ 2274 จากท่านอะนัส จากท่านนบี ศอลลัลลอฮู อะลัยอิวะซัลลัมได้กล่าวว่า (แท้จริงอัลลอฮ์ได้ อนุญาตให้แก่ผู้ที่เดินทางครึ่งหนึ่งของการละหมาด(หมายถึงย่อละหมาดสี่รอกฮะ) และการถือศีลอด และสำหรับคนที่ตั้งครรภ์และให้นมลูกเช่นกัน (หมายถึงอนุญาตให้ละศีลอดได้แต่ไม่ได้หมายถึงคนตั้งครรภ์และให้นมลูกต้องละหมาดย่อ) ท่านเชคอัลบานีย์ ถือว่าเป็นหะดีษที่ถูกต้อง โดยที่ท่านนบีได้ให้ฮุกุมของคนตั้งครรภ์และให้นมลูกเหมือนกับคนเดินทาง เนื่องจากคนเดินทางละศีลอดได้และต้องถือศีลอดชดใช้ เช่นเดียวกันคนตั้งครรภ์ อนุญาตให้ละศีลอดได้แต่ต้องถือศีลอดชดใช้ ไปดูฮะกามุลกุรอาน ของท่านยัซซอซ














หลักฐานที่สอง


สภาพของคนให้นมบุตรกับหญิงที่ตั้งครรภ์ ใช้หลักเปรียบเทียบ (กิยาซ) กับคนที่ป่วยซึ่งฮุกุมของคนป่วยอนุญาตให้ละศีลอดได้ แต่ต้องถือศีลอดชดเชย ดังนั้นฮุกุมของหญิงที่ให้นมบุตรกับหญิงที่ตั้งครรภ์ใช้ฮุกุมเดียวกับคนป่วย


และนักวิชาการจำนวนหนึ่งเลือกทัศนะนี้



ท่านเชคบิน บาส รอฮิมาฮุลลอฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ มัจมูฮฟาตาวา 15/225


“สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ และหญิงที่ให้นมลูก ฮุกุมของนางนั้นเหมือนกับคนป่วย หาการถือศีลอดสร้างความลำบากให้แก่นางทั้งสอง ก็ให้ไม่ต้องถือศีลอด แต่ทั้งสองนั้นต้องถือศีลอดชดใช้ ในขณะที่สามารถจะชดใช้ได้ เหมือนกับคนป่วย แต่มีนักวิชาบางท่าน ได้มีทัศนะ การชดเชยด้วยการ ให้อาหารแก่คนจนหนึ่งคนทุกวัน ทัศนะนี้เป็นทัศนะที่อ่อนแอ่ น้ำหนักเบา ที่ถูกต้อง คือ จำเป็นแก่นางทั้งสอง(หมายถึงหญิงที่ตั้งครรภ์ และหญิงที่ให้นมลูก)”ต้องถือศีลอดชดใช้ เหมือนกับผู้ที่เดินทาง และผู้ป่วย เนื่องด้วยดำรัสของอัลลอฮ (และหน้าที่ของผู้ที่ถือศีลอดลำบาก (โดยที่เขาได้งดเว้นจากการถือ)) การชดเชยก็คือ การให้อาหารแก่คนยากจน)อัลบากอเราะห์ อายะห์ที่ 184
























และท่านเชคบินบาสได้กล่าวไว้เช่นกันในหนังสือมัจมูฮ ฟาตาวา


ที่ถูกต้องสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรถือศีลอดชดใช้เพียงอย่างเดียว และที่มีรายงานจากท่านอิบนู อับบาส และอิบนูอุมัร ที่ว่าหญิงตั้งครรภ์หญิงที่ให้นมบุตร การชดเชยแค่เสียอาหารเพียงอย่างเดียว เป็นทัศนะที่หลักฐานมีน้ำหนักเบา และค้านกับหลักฐานทางบทบัญญัติ อัลลอฮตรัสไว้ว่า


: ( وَمَنْ كَانَ مَرِيضاً أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ ) البقرة/185 .


และผู้ใดป่วย หรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือใช้ในวันอื่นแทน อัลบากอเราะห์ อายะห์ที่ 185










ฟาตาวาลิจนะห์อัดดาอิมะห์ 10/220


หากหญิงที่ตั้งครรภ์กลัวอันตรายจะเกิดแก่ตัวเองและลูกของนางเนื่องจากการถือศีลอด ให้นางละศีลอดและสำหรับนางเพียงการถือศีลอดชดใช้เท่านั้น สถานะของนางเหมือนกับคนป่วย ที่ไม่สามารถจะถือศีลอดได้ หรือกลัวว่าเมื่อถือศีลอดแล้วอันตรายจะเกิดกับตัวเอง อัลลอฮตาอาลาได้ตรัสไว้ว่า


: ( وَمَنْ كَانَ مَرِيضاً أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ ) البقرة/185.


และผู้ใดป่วย หรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือใช้ในวันอื่นแทน อัลบากอเราะห์ อายะห์ที่ 185










10/226ฟาตาวาลิจนะห์อัดดาอิมะห์






เช่นเดียวกันหญิงที่ให้นมบุตรหากนางกลัวอันตรายจะเกิดกับตัวเองหากได้ให้นมแก่ลูกของนางในรอมาฏอน หรือกลัวอันตรายจะเกิดแก่ลูกของนาง หากนางถือศีลอดจะไม่สามารถให้นมแก่ลูกของนางได้ ก็ให้นางละศีลอด และให้ถือศีลอดชดใช้เท่านั้น


สำหรับคนต้งครรภ์ จำเป็นแก่นางต้องถือศีลอดในขณะที่นางตั้งครรภ์ นอกเสียจากนางกลัวอันตรายจะเกิดขึ้นกับตัวเองและลูกในท้องของนาง เนื่องจากการถือศีลอด ก็อนุญาตให้นางละศีลอดได้ และให้ถือศีลอดชดใช้เมื่อคลอดบุตร และสะอาดจากเลือดหลังคลอดบุตร และการชดเชยด้วยกับการให้อาหารนั้นใช้ไม่ได้ แต่ว่าการถือศีลอดชดใช้มันเป็นการเพียงพอ โดยไม่ต้องให้อาหาร






ท่านเชค อิบนู อุซัยมีนได้กล่าวว่า ในหนัง อัรชัรหุลมุมเตียะ เล่มที่6 หน้าที่ 220 หลังจากที่ท่านได้นำทัศนะต่างที่แตกต่างกันของนักวิชาการในฮุกุมประเด็นนี้ ท่านก็เลือกที่จะให้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ถือศีลอดชดใช้เพียงอย่างเดียว โดยที่ท่านได้กล่าวว่า


นี่คือทัศนะที่ฉันเห็นว่ามีน้ำหนักที่สุด เนื่องจากสภาพของทั้งสองเหมือนกับคนป่วยและคนเดินทาง ดังนั้นจำเป็นแก่ทั้งสอง ถือศีลอดชดใช้เพียงอย่างเดียว


والله تعالى أعلم .


49794 อ้างอิงจากเวปอิสลามคำถามและคำตอบ คำถามที่


الإسلام سؤال وجواب















ด้วยพระนาม มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮ์


ความสุขความศานติจงประสบแด่รอซูลุลลอฮ์


สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ และให้นมลูก หากนางทั้งสองกลัวอันตรายจะเกิดขึ้นกับตัวเอง หรือลูกของนางทั้งสอง ให้ทั้งสองทำการละศีลอด สำหรับการถือศีลอดชดใช้ และการเสียค่าชดเชยสำหรับทัศนะ ของ อิบนู อัซมฺ นางทั้งสองไม่ต้องทำอะไร
: ท่านเชค ดอกเตอร์ ยูซุฟ อัลกอรฏอวีย์ กล่าวว่า


เป็นการกระทำที่ถูกต้องการที่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ที่นางได้ละศีลอดในเดือนรอมาฏอน หากนางกลัวอันตรายที่จะเกิดแก่ลูกในท้องของนาง จะเสียชีวิต แต่ว่าความกลัวของนางนั้นจะต้องได้รับรองจากแพทย์ยืนยันแก่นาง เป็นแพทย์มุสลิมที่เชื่อถือได้ในจรรยาบรรณแพทย์ของเขา และศาสนาของเขา หากได้รับการยืนยันจำเป็นแก่นางที่จะต้องละศีลอด เพื่อเป็นการรักษาชีวิตลูกของนาง เพราะแท้จริงอัลลอฮ์ ตาอาลาได้ตรัสไว้ว่า


พวกเจ้าอย่าได้ฆ่าลูกๆ ของพวกเจ้า


ซูเราะห์ อันอาม อายะห์ ที่ 151 ซูเราะห์ อัลอิสเราะห์ อายะที่ 31


นี่ถือว่าเป็นชีวิตที่มีเกียติร ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงผู้ชาย ที่เลยขอบเขตในการถือศีลอดจนกระทั่งเป็นเหตุให้เสียชีวิต




และอัลลอฮ์ ตาอาลาไม่ต้องการสร้างความลำบากให้แก่บ่าวของพระองค์ แท้จริงมีรายงานจากอิบนู อับบาส เช่นเดียวกัน แท้จริงหญิงที่ตั้งครรภ์ และหญิงที่ให้นมลูก จากผู้ที่ได้มีมาในพวกเขา


(وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ)البقرة 184


และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง (โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ) นั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร(มื้อหนึ่ง)แก่คนมิสกีนคนหนึ่ง (ต่อการงดเว้นจาการถือหนึ่งวัน)






หากผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และผู้หญิงที่ให้นมลูก กลัวอันตรายต่อตัวเอง นักวิชาการส่วนมากเห็นว่าให้นางทั้งสองละศีลอดได้ และให้ทั้งสองถือศีลอดชดใช้เท่านั้น สำหรับทั้งสองนั้นอยู่ในสถานะเดียวกับคนป่วย






สำหรับหญิงที่มีครรภ์ เมื่อนางกลัว หรือหญิงที่ให้นมลูก กลัวอันตรายที่เกิดขึ้นแก่ลูกของนาง


แท้จริงบรรดานักวิชาการมีทัศนะที่แตกต่างกัน หลังจากที่พวกเขาได้อนุญาตให้นางละศีลอดได้ โดยมติเอกฉันท์


ดังนั้นสำหรับนางจำเป็นต้องถือศีลอดชดใช้ หรือ เสียค่าชดเชยด้วยกับการให้อาหารแก่คนยากจน หรือถือศีลอดชดใช้พร้อมกับเสียค่าชดเชยด้วยกับการให้อาหารแก่คนยากจน พวกเขามีทัศนะที่แตกต่างกัน สำหรับอิบนู อุมัร และ อิบนู อับบาสทั้งสองนั้นอนุญาตสำหรับนาง เสียค่าชดเชยด้วยกับการให้อาหารเพียงอย่างเดียว แต่นักวิชาการส่วนมากนั้นมีความเห็นว่า ให้นางถือศีลอดชดใช้เพียงอย่างเดียว และนักวิชาการบางท่านให้ถือศีลอด ชดใช้พร้อมกับการให้อาหาร แต่สำหรับฉันการให้อาหารเพียงอย่างเดียวถือว่าใช้ได้และเป็นที่อนุญาต โดยไม่ต้องถือศีลอดชดใช้ ในกรณีที่ผู้หญิง ตั้งครรภ์และต้องให้นมบุตร และนางไม่มีโอกาสที่จะถือศีลอดชดใช้ ซึ่งนางตั้งท้องทั้งปี เช่นเดียวกันนางต้องให้นมลูกทั้งปี และเช่นเดียวกัน หลังจากที่นางคลอดผ่านไปปีเดียว หรือนางให้นมลูกได้แค่ปีเดียว นางตั้งครรภ์ใหม่อีก โดยที่นางไม่มีโอกาสที่จะถือศีลอดชดใช้ ดังนั้นเมื่อเราได้ให้เป็นสิ่งที่บังคับแก่นางในการถือศีลอดชดใช้ ก็หมายความว่า จำเป็นแก่นางต้องถือศีลอดหลายปีติดต่อกันหลังจากที่ได้ตั้งท้องและให้นมลูก มันเป็นสิ่งที่ลำบาก และอัลลอฮ์ไม่ต้องการให้บ่าวนั้นมีความยากลำบาก




يقول الله تعالى عن الصيام (وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِين) (سورة البقرة: 184


และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง (โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ) นั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร(มื้อหนึ่ง)แก่คนมิสกีนคนหนึ่ง (ต่อการงดเว้นจาการถือหนึ่งวัน)






ท่านเชค อาตียะ ซอครฺกล่าวว่า ซึ่งท่านเป็นหัวหน้าในการตอบปัญหาศาสนา คนก่อนของอัซอัร ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาต่อท่าน ซึ่งระบุในหนังสือของท่านที่มีชื่อ ว่า ฮะซานุลกาลาม ฟิลฟาตาวา วัลฮะกาม


สำหรับนักวิชาการในการอรรถาธิบายฮายะนี้ มีสองทัศนะ คือ


ทัศนะหนึ่งกล่าวว่า การถือศีลอดนั้นในตอนแรกคำสั่งใช้มันนั้น ให้เลือกปฏิบัติ สำหรับผู้ที่มีความสามารถที่จะถือศีลอด หากเขาต้องการที่จะถือก็ให้ถือศีลอด หากเข้าต้องการที่จะละศีลอดก็ให้ละศีลอด แต่ต้องทดแทนด้วยกับการเสียค่าชดเชยคือการให้อาหารแค่คนที่ยากจน แต่การเลือกที่จะถือศีลอดเป็นสิ่งที่ประเสริฐกว่า หลังจากนั้นฮุกุมนี้ได้ถูกยกเลิก และได้ถูกกำหนดให้เป็นฟัรดูให้แก่ผู้ที่มีความสามารถที่จะถือศีลอด ต้องถือศีลอด ไม่อนุญาตให้พวกเขาละศีลอด และเสียอาหารเป็นการชดเชย ดังกล่าวนั้นด้วยกับดำรัสของอัลลอฮที่ว่า






(فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمْ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ) سورةالبقرة: 185


ดังนั้นผู้ใดในหมูพวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น


นี่คืออายะที่มายกเลิก สำหรับอายะที่ว่า


وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌطَعَامٌ مِسْكِين) البقرة : 184


และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง (โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ) นั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร(มื้อหนึ่ง)แก่คนมิสกีนคนหนึ่ง (ต่อการงดเว้นจาการถือหนึ่งวัน)


ดังนั้นใครที่ต้องการที่จะละศีลอด และเสียชดเชยสามารถที่จะทำได้ จนกระทั่งอายะหลังจากอายะนี้ได้มายกเลิก


ทัศนะที่สอง การถือศีลอดเป็นฟัรดู(ถูกบังคับ) แก่บรรดาผู้ที่มีความสามารถเท่านั้น และอนุญาตให้ไม่ต้องถือศีลอดสำหรับคนป่วย และคนเดินทาง และใครที่มีความสามารถถือศีลอด หมายถึง การถือศีลอดแล้วได้รับความลำบาก โดยที่ได้มีการอธิบาย คำว่าผู้มีความสามารถในอายะนี้คนชราที่สูงอายุ และกำหนดให้คนป่วย คนเดินทางต้องถือศีลอดชดใช้ และสำหรับผู้สูงอายุนั้นให้เสียค่าชดเชยเพียงอย่างเดียว เนื่องจากคนสูงอายุนั้นการถือศีลอดสร้างความลำบากแก่ตัวเขา เมื่ออายุของพวกเขาเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกันคนป่วยไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ พวกเขาไม่จำเป็นต้องถือศีลอดชดใช้ ให้พวกเขาละศีลอด และเสียค่าชดเชย (ด้วยอาหาร)


บุคอรีย์ได้รายงาน จากท่านอาตอฮฺ แท้จริงเขา(หมายถึงท่านอาตอฮฺ)ได้ยินจากท่าน อิบนู อับบาส รอฏิยัลลอฮูอันฮูมา เขาอ่านอายะห์


(وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِين)


และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง (โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ) นั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร(มื้อหนึ่ง)แก่คนมิสกีนคนหนึ่ง (ต่อการงดเว้นจาการถือหนึ่งวัน)






ท่านอิบนู อับบาสกล่าวว่า อายะนี้ไม่ได้ถูกยกเลิก แต่ว่าอายะนี้(ฮุกุมของมัน)สำหรับชายหญิงที่อายุมาก ที่เขาทั้งสองไม่มีความสามารถที่จะถือศีลอดได้ ก็ให้ทั้งสองให้อาหารแก่คนยากจนวันละหนึ่งคน (เป็นการทดแทนการถือศีลอด)


และมีนักวิชาการในปัจจุบันบางท่าน เชคท่านเชคมูฮัหมัด อับดู ได้นำคนชรา คนอ่อนแอ คนป่วยที่ไม่มีโอกาสจะหายจากโรคที่ประสบ โดยที่ท่านได้กล่าวว่า บรรดาคนงานที่อัลลอฮ์ได้กำหนดให้เขาต้องทำงานอยู่เป็นประจำ ซึ่งงานที่ค่อนข้างหนัก เช่นคนที่ทำงานเหมืองแร่ถ่านหิน เช่นเดียวกันที่ถูกคนชั่วบังคับให้ทำงานหนักอยู่เป็นประจำ หากพวกเขาถือศีลอดคงเป็นเรื่องลำบาก ดังนั้นสำหรับพวกเขาไม่ต้องถือศีลอด และไม่ต้องเสียค่าชดเชย ถึงแม้พวกเขาจะสามารถเสียค่าชดเชยได้


สำหรับหญิงที่ตั้งทอง และให้นมลูกหากนางทั้งสองกลัว อันตรายจะเกิดขึ้นกับตัวเองเนื่องมาจากการถือศีลอด หรือกับลูกของนางทั้งสอง อิบนูอุมัร และอิบนูอับบาสเห็นว่า ให้ทั้งสองละศีลอด และให้เสียค่าชดเชยแทนการถือศีลอดชดใช้ เนื่องจากทั้งสองนั้นอยู่ในสถานะเดียวกับคนสูงอายุ





อ้างอิงจากเวปอิสลามออนไลน์




โดย musafeer
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=506205


แปลโดย อิสมาอีล กอเซ็ม

http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=49&id=1589

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น