ผู้ตายจะได้รับประโยชน์จากการกระทำของผู้อื่น และ สามสิ่งจะตามศพไปที่สุสาน ฯลฯ


Best Buy Coupon Codes
Web Hit Counters

ผู้ตายจะได้รับประโยชน์จากการกระทำของผู้อื่น

จากท่านหญิงอาอิซะห์ (ร.ฎ) ว่า แท้จริงมีผู้ชายคนหนึ่งมาหาท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม แล้วกล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ความจริงมารดาของข้าพเจ้าได้เสียชีวิตไปแล้วอย่างกะทันหันโดยมิได้สั่งเสียอะไรเลย ข้ะเจ้าคาดว่าถ้าหากมารดาของข้าพเจ้าสามารถพูดได้ ท่านต้องบริจาคทานอย่างแน่นอน มารดาของข้าพเจ้าจะได้รับผลบุญหรือไม่ ถ้าหากข้าพเจ้าบริจาคทานแทนท่าน ท่านตอบว่า ได้
โดย บุคอรี มุสลิม และ นาซาอี


จาก อิบนิ อับบาส (ร.ฎ) ได้กล่าวว่า มารดาของท่านสะอฺดฺ บุตรอุบาดะห์ได้เสียชีวิตโดยที่ท่านไม่อยู่ ต่อมาท่านได้กล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ความจริงมารดาของข้าพเจ้าเสียชีวิตโดยที่ข้าพเจ้าไม่อยู่ จะมีสิ่งใดบ้างที่เป็นประโชน์แก่มารดาของข้าพเจ้า ถ้าหากข้าพเจ้าบริจาคทานแทนท่าน? ท่านนบีตอบว่า ได้ ท่านสะอฺดฺจึงได้กล่าวว่า ดังนั้นข้าพเจ้าขอให้ท่านเป็นพยานด้วยว่า สวนของข้าพเจ้าที่รั้วล้อบรอบนั้น เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าบริจาคเป็นทานแทนมารดาของข้าพเจ้า

โดย บุคอรี ติรมีซี และ นาซาอี



เล่าจาก สะอฺดฺ บุตร อุบาดะห์ (ร.ฎ) ว่า ท่านได้กล่าวว่า โอ้ท่ารอซูลุ้ลเลาะห์ แท้จริงมารดาของสะอฺดฺได้เสียชีวิต การบริจาคทานด้วยสิ่งใดจึงประเสริฐที่สุด ? ท่านตอบว่า น้ำ ผู้เล่าได้กล่าวว่า ต่อมาเขาก็ได้ขุดบ่อน้ำและกล่าวว่า บ่อน้ำนี้บริจาคเป็นทานแก่มารดาของสะอฺดฺ

โดย อาบูดาวูด และอะหฺมัด

และท่าน นาซาอี ได้รายงานเพิ่มเติมว่า และนั่นแหละคือแหล่งน้ำของสะอฺดฺที่นครมะดีนะห์.


และยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน
















สามสิ่งจะตามศพไปที่สุสาน

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«يَتْبَعُ الْمَيِّتَ ثَلاَثَةٌ، فَيَرْجِعُ اثْنَانِ وَيَبْقَى وَاحِدٌ : يَتْبَعُهُ أَهْلُهُ وَمَالُهُ وَعَمَلُهُ، فَيَرْجِعُ أَهْلُهُ وَمَالُهُ، وَيَبْقَى عَمَلُهُ» [البخاري برقم 6514، ومسلم 4.../2273]
ความว่า “สามสิ่งจะตามศพไปที่สุสาน คือ ครอบครัว ทรัพย์สินและการงาน(ความดีความชั่ว) สองสิ่งจะกลับมา และคงเหลืออยู่กับเขาสิ่งเดียว ครอบครัวและทรัพย์สินจะกลับมา คงเหลืออยู่กับเขา(ในสุสาน)คือการงานของเขา(ที่ดีและชั่วที่เขาเคยปฏิบัติมาในขณะที่เขามีชีวิต)” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 4/194 หมายเลข 6514 เศาะฮีหฺ มุสลิม 4/2273)

อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿فَمَن يَعۡمَلۡ مِثۡقَالَ ذَرَّةٍ خَيۡرٗا يَرَهُۥ ٧ وَمَن يَعۡمَلۡ مِثۡقَالَ ذَرَّةٖ شَرّٗا يَرَهُۥ ٨﴾ [الزلزلة: ٧-٨]
ความว่า “ดังนั้น ผู้ใดกระทำความดีหนักเท่าละอองธุลี เขาก็จะเห็นมัน ส่วนผู้ใดกระทำความชั่วหนักเท่าละอองธุลีเขาก็จะเห็นมัน” อัล-ซัลซะละฮฺ 7-8)
และอัลลอฮฺตรัสว่า
﴿لَّيۡسَ بِأَمَانِيِّكُمۡ وَلَآ أَمَانِيِّ أَهۡلِ ٱلۡكِتَٰبِۗ مَن يَعۡمَلۡ سُوٓءٗا يُجۡزَ بِهِۦ وَلَا يَجِدۡ لَهُۥ مِن دُونِ ٱللَّهِ وَلِيّٗا وَلَا نَصِيرٗا ١٢٣﴾ [النساء: ١٢٣]
ความว่า “มิใช่ความเพ้อฝันของพวกเจ้า และมิใช่ความเพ้อฝันของผู้ที่ได้รับคัมภีร์ ผู้ใดที่กระทำชั่ว เขาก็ถูกตอบแทนด้วยความชั่วนั้น และเขาจะไม่พบผู้คุ้มครองและผู้ช่วยเหลือใดๆ สำหรับเขาอื่นจากอัลลอฮฺ” (อัน-นิสาอ์ 123
)
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿مَنۡ عَمِلَ صَٰلِحٗا مِّن ذَكَرٍ أَوۡ أُنثَىٰ وَهُوَ مُؤۡمِنٞ فَلَنُحۡيِيَنَّهُۥ حَيَوٰةٗ طَيِّبَةٗۖ وَلَنَجۡزِيَنَّهُمۡ أَجۡرَهُم بِأَحۡسَنِ مَا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ٩٧﴾ [النحل: ٩٧]
ความว่า “ผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้น เราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดี และแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของพวกเขาที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้” (อัน-นะ

ซอเฮียะห์บุคคอรี/หมวดที่3 /วิชาความรู้

การใช้ท่าทางเป็นองค์ประกอบในการสอน

บุคคอรี/หมวดที่3/บทที่24/ฮะดีษเลขที่ 84



عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ، أَنَّ النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم سُئِلَ فِي حَجَّتِهِ فَقَالَ ذَبَحْتُ قَبْلَ أَنْ أَرْمِيَ، فَأَوْمَأَ بِيَدِهِ قَالَ وَلاَ حَرَجَ‏.‏ قَالَ حَلَقْتُ قَبْلَ أَنْ أَذْبَحَ‏.‏ فَأَوْمَأَ بِيَدِهِ وَلاَ حَرَجَ‏.‏


อิบนิอับบาส รายงานว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ถูกถามระหว่างการทำฮัจญ์ของท่านว่า “ฉันได้เชือดไปแล้วก่อนที่จะขว้างเสาหิน ? ” ท่านจึงได้ (เรียกโดยการ) ชี้นิ้วไปที่ผู้ถาม แล้วตอบว่า “ไม่เป็นไร” ส่วนอีกคนหนึ่งถามว่า “ฉันโกนศีรษะไปแล้วก่อนที่จะเชือด ? ” ท่านก็ได้ชี้นิ้วไปที่ผู้ถามแล้วตอบว่า “ไม่เป็นไร”


การท่องจำข้อมูลวิชาการ
บุคคอรี/หมวดที่3/บทที่42/ฮะดีษเลขที่ 118





عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ، قَالَ إِنَّ النَّاسَ يَقُولُونَ أَكْثَرَ أَبُو هُرَيْرَةَ، وَلَوْلاَ آيَتَانِ فِي كِتَابِ اللَّهِ مَا حَدَّثْتُ حَدِيثًا، ثُمَّ يَتْلُو ‏{‏إِنَّ الَّذِينَ يَكْتُمُونَ مَا أَنْزَلْنَا مِنَ الْبَيِّنَاتِ‏}‏ إِلَى قَوْلِهِ ‏{‏الرَّحِيمُ‏}‏ إِنَّ إِخْوَانَنَا مِنَ الْمُهَاجِرِينَ كَانَ يَشْغَلُهُمُ الصَّفْقُ بِالأَسْوَاقِ، وِإِنَّ إِخْوَانَنَا مِنَ الأَنْصَارِ كَانَ يَشْغَلُهُمُ الْعَمَلُ فِي أَمْوَالِهِمْ، وَإِنَّ أَبَا هُرَيْرَةَ كَانَ يَلْزَمُ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم بِشِبَعِ بَطْنِهِ وَيَحْضُرُ مَا لاَ يَحْضُرُونَ، وَيَحْفَظُ مَا لاَ يَحْفَظُونَ‏.‏
การท่องจำข้อมูลวิชาการ

อบีฮุรอยเราะห์ รายงานว่า บรรดาผู้คนต่างกล่าวกันว่า อบูฮุรอยเราะห์รายงานฮะดีษมาก แต่ถ้าไม่ใช่สองอายะห์จากอัลกุรอานนี้ ฉันก็คงจะไม่รายงานฮะดีษหรอก หลังจากนั้นเขาก็อ่านอัลกุรอานที่ว่า “แท้จริงบรรดาผู้ที่ปิดบังสิ่งที่เราได้ประทานลงมาจากสิ่งที่ชัดเจน” จนกระทั่งถึงคำว่า “เมตตาอย่างมากมาย”
แท้จริงพี่น้องของเราชาวมุฮาญีรีน (ผู้อพยพจากมักกะห์พร้อมกับท่านนบี) ต่างก็ยุ่งอยู่กับการค้าขายของพวกเขาที่ตลาด ส่วนพี่น้องของเราชาวอันศอร (ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือผู้อพยพที่นครมะดีนะห์) ต่างก็อยู่อยู่กับงานเกษตรของพวกเขา แต่อบูฮุรอยเราะห์ได้ติดตามท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เพียงได้อิ่มท้อง และได้อยู่กับท่านในแต่ละเหตุการณ์ขณะที่พวกเขาไม่ได้อยู่ และได้จดจำ (จากท่านรอซูล) ในสิ่งที่พวกเขาไม่ได้จดจำ

















ให้แก้บนแทนคนตาย

คือ จำเป็นเหนือวะลี(ผู้ปกครอง) ของผู้ตายจะต้องชดใช้แทนให้ เพราะถือว่าเป็นหนี้ ที่ติดอยู่กับยผู้ตาย

จากอบนิอับบาส รอฎิยัลลอฮุอันฮฺ ได้กล่าวว่า ท่านสะอัด บุตร อุบาดะห์ ได้เรียนถามท่าน รอซูลุ้ลเลาะห์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมในเรื่องการบนบานที่ติดอยู่ที่มารดารของเขา ซึ่งเสียชีวิตไปก่อนที่จะแก้บน ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ตอบว่า ท่านจงแก้บนแทนหล่อน

โดย บุคอรี มุสลิม อบูดาวูด ติรมีซี และนาซาอี


จาก อิบนิ อับบาส รอฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่าผู้ชายคนหนึ่งมาหาท่านนบีศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม แล้วกล่าวว่า แท้จริงพี่สาวของข้ะเจ้าได้บนบานไว้ว่าจะทำฮัจย์ และ หล่อนได้เสียชีวิตไป (ก่อนที่จะทำฮัจย์) ท่านนบี จึงได้กล่าวว่า ถ้าหากว่าหล่อนมีหนี้สินติดอยู่ ท่านจะใช้ให้ไหม? เขาตอบว่า ใช้ให้ครับ ท่านจึงได้กล่าวว่า ดังนั้นท่านจงใช้ให้อัลลอฮ์เถิด เพราะอัลลอฮ์นั้นสมควรจะใช้ให้ยิ่งกว่า

โดย บุคอรี และ นาซาอี

เล่าจาก อิบนิ อับบาส รอฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ได้มีผู้หญิงคนหนึ่งได้โดยสารไปทางทะเล และ หล่อนได้บนบานไว้ว่า ถ้าหากอัลลอฮ์ให้หล่อนพ้นภัย (ทางทะเล) แล้วหล่อนจะถือศีลอดหนึ่งเดือน ปรากฏว่าอัลลอฮ์ได้ให้หล่อนพ้นภัย และหล่อนยังไม่ได้ถือศีลอดจนหล่อนได้เสียชีวิตไป บุตรสาวของหล่อนหรือน้องสาวของหล่อนได้มาหาท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ท่านนบีศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้ใช้ให้หล่อนถือศีลอดแทนหญิงผู้นั้น

โดย อบูดาวูด และ น่าซาอี

หะดีษเหล่านี้ชี้ชัดว่า จำเป็นต้องปฏิบัติตามที่ผู้ตายได้บนบานไว้ เช่น ซอดาเกาะห์ ฮัจย์หรือหนี้สิน และค่าปรับต่างๆ ที่จำเป็นเหนือผู้ตาย ก่อนเสียชีวิต





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น